วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 8 คุณธรรม จริยธรรมการเป็นพลเมืองดี

ใบความรู้ที่  8

พลเมืองดีในสังคมระบอบประชาธิปไตย จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตจึงจะช่วยทำให้สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่มีความสงบสุขและความเจริญก้าวหน้า คุณธรรม จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดีมีอยู่ 8 ประการดังนี้
1. การรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน และเคารพในมติของเสียงส่วนมาก  ทั้งนี้ก็เพราะสมาชิกในสังคมประชาธิปไตยมักจะมีความคิดเห็นในปัญหาต่าง ๆ ของสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหานั้นแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้เสียงข้างมากหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ แต่ทั้งนี้ส่วนมากจะต้องเคารพความคิดเห็นของเสียงส่วนมาก และจะต้องไม่ถือว่าเสียงส่วนน้อยเป็นฝ่ายผิด จึงจะทำสังคมประชาธิปไตยดำรงอยู่ได้อย่างสันติ
2. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วม  ซึ่งจะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมประชาธิปไตยอย่างยิ่งเพราะสังคมประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้และสามารถพัฒนาให้มีความสุขเจริญก้าวหน้าได้อย่างมาก ถ้าสมาชิกในสังคมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมเสมอ
3. การมีระเบียบวินัยและเคารพต่อหน้าที่ เป็นคุณธรรมที่ช่วยให้สังคมประชาธิปไตยมีความก้าวหน้าคือ ถ้าสมาชิกในสังคมประชาธิปไตยยึดมั่นในระเบียบวินัย ควบคุมตนเองได้ สังคมประชาธิปไตยนั้นก็จะมีความสุข
4. ความซื่อสัตย์สุจริต  เป็นคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่อามิตสินจ้าง ไม่ทำการทุจริต สังคมนั้นจะมีความสุขและความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
5. ความสามัคคี  เป็นคุณธรรมที่ให้ประโยชน์แก่สังคมประชาธิปไตยอย่างมาก เพราะความสามัคคี หมายถึง ความรักใคร่กลมเกลียวและร่วมมือกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถ้าประชาชนไทยมีความสามัคคีไม่แตกแยก ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อส่วนรวมประเทศไทยจะมีความเข้มแข็งเป็นที่น่าเกรงขามของนายาประเทศ รวมทั้งจะทำให้สถาบันประชาธิปไตยมีความมั่นคงไปด้วย
6. ความละอายและเกรงกลัวในการทำความชั่ว  เป็นคุณธรรมที่มีความสำคัญมากต่อสังคมประชาธิปไตย คือ ถ้าสมาชิกในสังคมมีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำชั่วแล้ว สิ่งไม่ดีไม่งามต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นในสังคม.
7. ความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในตนเอง  เป็นคุณธรรมที่มีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกันทั้งนี้เพราะในระบอบประชาธิปไตยนั้นตองการให้มีการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นถ้าสมาชิกในสังคมมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์อยู่เสมอ ๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม.
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมมิให้คนไม่ดีมีอำนาจ  มีความสำคัญยิ่งเพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เมื่อได้คนดีมีความรู้ความสามารถมาช่วยกันปกครองบ้านเมือง ดังนั้นในการเลือกตั้งผู้แทนประชาชนควรเลือกคนดีให้ไปทำหน้าที่แทนตน เพราะถ้าเราได้ผู้แทนที่ดี เราก็จะได้รัฐบาลที่ดีอันส่งผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยสามารถอำนวยประโยชน์สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

วิชาหน้าที่พลเมือง

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos