วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

"การตั้งค่า" ตอนที่ 4 : การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"

"การตั้งค่า" ตอนที่ 4 : การจัดการข้อมูล "ข้อคิดเห็น"

สวัสดีครับ เพื่อนๆ พบกับตอนที่ 4 เป็น "การตั้งค่า" ในส่วน "ข้อคิดเห็น" หรือในส่วน "แสดงความคิดเห็น" บางเว็บไซต์ก็เรียก "Comment" ก็คือเป็นส่วนที่เวลาเราได้ไปอ่านเจอบทความ แล้วเราต้องการแสดงความคิดเห็น จากนั้นก็พิมพ์แสดงความคิดเห็น หรือได้อ่านแสดงความคิดเห็นของท่านอื่นๆ เป็นต้น
หน้าตาของหน้าเว็บที่ ก็เหมือนกับ 3 ตอนแรกของ "การตั้งค่า"


  • ข้อคิดเห็น : เป็นระบบที่ต้องการให้ผู้สร้างบล็อกนั้นเลือกว่า เวลามีคนแสดงความคิดเห็น แล้วจะให้ "แสดง" หรือ "ซ่อน" ซึ่งก็ควรจะเลือก "ซ่อน" นะครับ เพราะเราควรจะให้เกียรติผู้อ่าน ถ้านึกถึงตัวเรา เวลาไปแสดงความคิดเห็นทีไหน พอพิมพ์เสร็จ ก็ไม่แสดงออกมา คงจะหงุดหงิดแย่เลย
  • ใครสามารถแสดงความคิดเห็น : เป็นส่วนจัดการ ผู้แสดงความคิดเห็น ว่ามาจากไหน ซึ่งมี 4 ข้อย่อย คือ ทุกคน (ผมแนะนำว่า ควรเลือกที่ข้อนี้นะครับ), ผู้ใช้ที่จดทะเบียน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธมิตรกับทาง Google), ผู้ใช้ที่มีบัญชี Google (เฉพาะผู้ใช้ Blogger เท่านั้น) และ เฉพาะสมาชิกของบล็อกนี้ (ก็คือทั้งเฉพาะผู้ใช้ Blogger และเป็นผู้ที่สร้างบล็อกเป็นคนเชิญ หรือเป็นสมาชิกบล็อกนั้น) ซึ่งตัวอย่างนี้ผมจะยกตัวอย่างตอนท้ายบทความนะครับ
  • การจัดวางฟอร์มความคิดเห็น : เป็นการโชว์ส่วนการแสดงความคิดเห็น เมื่อผู้อ่านต้องการจะแสดงความคิดเห็นดังนี้ เต็มหน้า (จะซ่อนหน้าต่างการแสดงความคิดเห็นไว้ เมื่อกดลิงก์ที่คำว่า "ความคิดเห็น" ที่วางอยู่ด้านล่างสุดของบทความ ซึ่งจะโชว์หน้าต่างมาเต็มหนาจอ), หน้าต่างป๊อปอัป (วิธีแสดง "ความคิดเห็น" ใช้งานเหมือนกับแบบ เต็มหน้า เพียงแต่หน้าต่างที่โชว์ขึ้นมาจะเป็นหน้าต่างป๊อปอัป ขนาดเล็กไม่ใหญ่เกินไป) และ วางไว้ใต้บทความ (จะมีหน้าต่างการแสดงบทความที่ล่างสุดของบทความเลย ดังแสดงในภาพข้างล่างนะครับ) ส่วนตัวผมจะเลือก วางไว้ใต้บทความ นะครับ เพราะทำให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทันทีครับ จึงสะดวกกับผู้อ่านเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นครับ



  • ความคิดเห็นเริ่มต้นสำหรับบทความ : ส่วนนี้ผมก็งงๆ นะครับ ยังไม่เคยสังเกตเลยว่ามีผลอย่างไรในการเขียนบทความ จึงอยากบอกเพื่อนๆ ว่า เลือกอะไรก็ได้นะครับ แต่ก็คือ ผมก็ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงอะไรกับมาตรฐานเดิมที่ทาง logger ได้เซ็ทอัพไว้นะครับ จึงเลือก "บทความใหม่มีความคิดเห็น"
  • ลิงก์ย้อนกลับ : เป็นการแสดงถึง ลิงก์ที่สามารถย้อนกลับ เดินหน้าได้ (อยู่ล่างสุดใต้หน้าต่างการแสดงความคิดเห็นอีกที) ควรเลือก "แสดง" นะครับ เพราะว่า จะทำให้บล็อกทสี่สร้างดูมีฟังก์ชั่นที่น่าใช้งาน ครับ
  • ค่าเริ่มต้นของลิงก์ย้อนกลับสำหรับบทความ : สื่อความหมายตรงตัวนะครับ ดังนั้นควรเลือก "บทความใหม่มีลิงก์ย้อนกลับ"
  • รูปแบบเวลาในส่วนความคิดเห็น : เลือกรูปแบบเวลาตามที่ชอบใจได้เลยครับ
  • ข้อความของฟอร์มความคิดเห็น : คือส่วนที่ให้เราเติมข้อความ หรือประโยค แล้วจะแสดงเหนือหน้าต่างแสดงความคิดเห็น สามารถดูตัวอย่างตรงนี้ บนภาพด้านบนที่ผมวางไว้เหนือคำอธิบายนี้นะครับ


  • การจัดการความคิดเห็น : เป็นส่วนที่ผู้สร้างบล็อกอยากจะตรวจสอบ ความคิดเห็นของผู้มาแสดงความคิดเห็น หรือไม่ ดังนั้นจึงมีให้เราเลือก 3 หัวข้อย่อยคือ 1. ทุกครั้ง (หมายถึงเวลามีการแสดงความคิดเห็น ก็จะต้องส่งมาให้เจ้าของบล็อกตรวจสอบก่อน โดยส่งมาทางอีเมล์ ที่ได้กรอกไว้ตรงที่ช่องเติมข้อความว่า "ที่อยู่อีเมล") 2. เฉพาะบทความที่เก่ากว่า (จำนวน) วัน (เป็นการส่งความคิดเห็นสำหรับบทความที่เคยเขียนไปแล้วกี่วัน ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะกรอกตัวเลขไปกี่วันครับ เช่น เคยเขียนบทความไว้แล้วก่อนหน้า 1 สัปดาห์ แล้วเราลงไว้ 4 วัน เมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็นกับบทความที่ลงมาแล้ว 7 วัน ก็จะส่งมาให้เราได้ตรวจสอบก่อนครับ) 3. ไม่ (ก็คือไม่ต้องตรวจสอบความคิดเห็นเลย เมื่อมีคนแสดงความมคิดเห็น ก็โชว์เดี๋ยวนั้นเลยครับ)
  • แสดงการตรวจสอบคำสำหรับความคิดเห็นหรือไม่ : เป็นส่วนที่ควรตอบว่า "ใช่" เลยนะครับ เพราะว่าจะเป็นการป้องกันพวก robot ที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นมั่วซั่ว มาขายยาไวอากร้าบ้าง มาขายสินค้า MLM บ้าง เป็นต้นครับ
  • แสดงรูปภาพโปรไฟล์บนความคิดเห็นหรือไม่ : ความหมายตรงตัวครับ ติ๊กหน้าช่อง"ใช่" ไว้ก่อนครับ


  • อีเมลสำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีความคิดเห็นใหม่ : ผมแนะนำว่าควรใส่อีเมล์ในช่องว่างนะครับ และเมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็น ระบบของ Blogger จะส่ง "ความคิดเห็น" มาให้เราได้ทราบ ได้รับรู้กันครับ แต่ว่าไม่ได้ตรวจสอบอะไรนะครับ คือเหมือนแจ้งให้เราดูเฉยๆ ครับ
ภาพนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เหนือหน้าต่างแสดงความคิดเห็นจะโชว์ประโยค "เชิญเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นของข่าว หรือวีดีโอนะครับ" และตรงที่ตำแหน่ง "แสดงความคิดเห็นในฐานะ" จะเห็นว่ามีให้เลือกแสดงฐานะหลายฐานะ แต่ถ้าต้องแสดงได้หมดแบบนี้ ต้องเลือกในหัวข้อ "ใครสามารถแสดงความคิดเห็น" ว่า "ทุกคน" ตามที่ผมแนะนำไว้ข้างต้นบทความนะครับ
.
ครับก็จบบทความเรื่อง "การตั้งค่า" ส่วน "ข้อคิดเห็น" เรียบร้อยยาวหน่อยนะครับ ตอนหน้าพบกับเรื่องการจัดการ "เก็บเข้าคลังบทความ" กันครับ สั้นๆ ครับ ไม่ยาวเท่าบทความนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos