วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 4 กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม

เรื่องที่ 4
กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 4 กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม



  • ภายใต้ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองได้หลายทาง เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การตรวจสอบการทำงานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นขบวนการประชาธิปไตย ที่ทำให้การเมืองการปกครองของไทย มีความโปร่งใสและมั่นคง

  1. การประยุกต์ใช้กระบวนการประชาธิปไตย ในการวิพากษ์ประเด็นนโยบายสาธารณะ สามารถปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
    1. แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
    2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการเสวนา หรืออภิปรายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
    3. ใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติ เมื่อมีการสอบถามความความความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
  2. การมีส่วนร่วมและการตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ สามารถปฎิบัติได้ตามแนว ดังนี้
    1. การมีส่วนร่วมในการเลือก
      1. ออกไปใช้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยความซื่อสัตย์สุจริตทุกครั้ง
      2. ร่วมเป็นพยานในการนับคะแนนเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปอย่างสุจริตโปร่งใส
      3. ร่วมเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ตนอาศัยอยู่ และให้ความช่วยเหลือในการจัดการเลือกตั้งด้วยความสมัครใจ
    2. การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ
      1. รับฟังนโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรคอย่างเท่าเทียม ไร้อคติ
      2. เลือกผู้แทนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ ความสามารถ เสียสละ และพร้อมที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง
      3. ไม่สนับสนุนนักการเมืองที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงและแจ้งให้คณะกรรมการเลือกตั้งทราบ เมื่อพบการทุจริตซื้อขายเสียง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos