วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 26 กระบวนการในการตรากฏหมาย


ใบความรู้ที่ 26
กระบวนการในการตรากฏหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  บัญญัติไว้ดังนี้
1. ผู้มีสิทธิเสนอกฎหมาย มาตรา 63 บัญญัติไว้ว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน เป็นผู้มีสิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
   1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย บุคคลที่แปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
   2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1  มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
   3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

2.  ขั้นตอนการตรากฎหมาย  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน ร่วมกันเข้าชื่อเสนอมี 3 วาระ ดังนี้
วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ  สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้พิจารราและลงมติว่าจะรับหรือไม่รับหลักการโดยมีการอภิปรายของสมาชิกอย่างกว้างขวาง ประธานสภาพจะเปิดโอกาสให้ผู้เสนอร่างชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติในการประชุม เมื่อสภาลงมติรับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็เข้าสู่การพิจารณาในลำดับต่อไป แต่ถ้ามีมติไม่รับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็จะตกไป
วาระที่ 2 การพิจารณาในรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ  จะทำในรูปแบบคณะกรรมการเต็มสภาคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนทำหน้าที่กรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายนั้น หรือจะทำในรูปของคณะกรรมาธิการที่สภาแต่งตั้งจะแต่งตั้งจากสมาชิกบางคนเข้ามาเป็นกรรมาธิการ เพื่อศึกษากฎหมายแล้วจึงนำเสนอต่อสภา เพื่อให้พิจารณาต่อไป โดยสมาชิกจะมีการพิจารณากว้างขวาง
วาระที่ 3  ขั้นการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ในกรณีที่มีมติเห็นชอบประธานสภาผู้แทนราษฎรจะส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
    การพิจารณาในวุฒิสภาจะทำเป็น 3 วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาของสภาพผู้แทนราษฎร แต่มีระยะเวลากำหนดที่ชัดเจน โดยจะต้องพิจารณาให้เห็นแล้วเสร็จภายในหกสิบวัน แต่ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่ทันตามกำหนดถือว่าวุฒิสภาพได้ให้ความเห็นชอบ โดยถ้าพิจารณาเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายนั้นขึ้นทูลเกล้าพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระลงปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่ถ้าวุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบให้ส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาพผู้แทนราษฎรเพื่อไปแก้ไขต่อไป ในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันเมื่อพ้นแล้ว และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos