วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 47 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

        เริ่มจากการมีปฏิญญากรุงเทพ เพื่อร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2510 ประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีความร่วมมือทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ต่อกันใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อสร้างความเจริญให้กับภูมิภาค
และในปีพ.ศ.2535 ประเทศทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง 10 ประเทศก็ร่วมมือกันในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น
ซึ่งจะเป็นความร่วมมือทางด้านต่าง ๆ ต่อกันให้มากขึ้น โดยลดอุปสรรคทางการค้าต่อกันได้น้อยลง เพื่อส่งเสริมมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้นโดยลดภาษีให้แก่กัน
การส่งเสริมโครงการอุตสาหกรรมอาเซียน การร่วมมือกันทางด้านการศึกษาในโครงการเยาวชนอาเซียน การแลกเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน
รวมถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่อกัน เป็นต้น ปัจจุบันอาฟตาจัดเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียโดยประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีทางการค้าระหว่างกันให้เหลือ 0%
ปัจจุบันเขตการค้าเสรีอาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญที่สุดของไทยเนื่องจากมีประชากรรวมกันประมาณ 500 กว่าล้านคน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงรองจากเอเชียตะวันออก จึงเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีพลัง

ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
ส่วนใหญ่การค้าของไทยอยู่ในระดับที่ได้เปรียบดุลการค้ายกเว้นกับประเทศญี่ปุ่น ไทยยังเสียเปรียบดุลการค้า ตัวอย่างของความร่วมมือทางการค้า เช่น สิงคโปร์ ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าไทย 406 รายการ
ซึ่งประกอบด้วย สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อฟ้า และไทยกับเวียดนามตั้งกรรมการดูแลการประมงและผลประโยชน์ ผลของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชีย ทำให้ไทยสามารถขยายการค้า รักษาผลประโยชน์ด้านการลงทุน รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศในแถบนี้มากขึ้น

ความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศ
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านคือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา มีปัญหาการขัดแย้งภายในประเทศส่งผลกระทบมาสู่พรมแดนไทย ความมั่นคงของชีวิต ทรัพย์สินของประชาชนบริเวณชายแดน
ประเทศไทยมีเขตชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา แนวเขตแดนมีทั้งทอดไปตามยอดเขา และแนวสันปันน้ำแนวลำน้ำ แนวร่องน้ำลึก แนวที่ราบเส้นตรง และแนวเขตทางทะเล
ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับพรมแดนมีผลกระทบต่อการบริหารท้องถิ่นในเขตจังหวัดชายแดน จำนวน 32 จังหวัด ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มีการเจรจากันอยู่เป็นประจำ
เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การลักลอบขายสินค้า แรงงานเข้าประเทศ การจับกุมชาวประมงไทย และการลักลอบทำลายป่า ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านได้กระทำอยู่เสมอ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา ผลที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือด้านความมั่นคงก่อให้เกิดความสงบและการรักษาผลประโยชน์ของประเทศได้อย่างดี

ความร่วมมือทางการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยได้มีการแลกเปลี่ยนและให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่ประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มประเทศในเอเชีย
โดยจัดทำในลักษณะโครงการร่วมกันพัฒนาการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม จัดดำเนินการแก้ไขระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ซึ่งผลก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันลดความตึงเครียดระหว่างประเทศก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันที่ดี และเกิดสันติภาพในภูมิภาค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos