วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 5 ความหมายของสถาบันสังคม


ใบความรู้ที่ 5
ความหมายของสถาบันสังคม

สถาบันสังคมหมายถึง กระบวนการที่มนุษย์ในสังคมได้จัดตั้งให้มีขึ้นอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อทำหน้าที่สนองความต้องการที่จำเป็นของสังคม โดยสถาบันสังคมไม่ใช่ระบบพฤติกรรมที่สังคมกำหนดขึ้นแต่เป็นแนวทางในการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นระเบียบแบบแผน แบ่งออกตามความต้องการของมนุษย์
ลักษณะของสถาบันสังคม
1. สถาบันสังคมเป็นนามธรรม สถาบันสังคมไม่ใช่ตัวบุคคลหรือกลุ่มคนและไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่จับต้องได้ แต่เป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกทุกคน
2. สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่างๆ ทางสังคม
3. สถาบันเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม
4. สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม
องค์ประกอบของสถาบันสังคม
1. กลุ่มสังคม ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่างๆ  ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการกระทำทางสังคมระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
2. หน้าที่สถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของสังคมในด้านต่างๆ
3. แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น
4.สัญลักษณ์และค่านิยม ทำให้สมาชิกเกิดอุดมการณ์และศรัทธาต่อสถาบันทางสังคม
สถาบันสังคมจะแบ่งได้เป็นดังนี้
1. สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตรและแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคม เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดของสังคม
2. สถาบันการศึกษา หมายถึงการขัดเกลาและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแบบแผนการให้ความรู้และการฝึกฝนทักษะอาชีพ เพื่อเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
3. สถาบันศาสนา หมายถึงความศรัทธาต่อสิ่งที่เคารพบูชาของสมาชิกในสังคม สถาบันศาสนามีความเกี่ยวข้องแบบแผนความสัมพันธ์ต่อการหล่อหลอมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม
4. สถาบันทางเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนการตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางด้านสิ่งอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต
5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบสังคม ควบคุมกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีระเบียบ และมีความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos