วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 18 ประเภทและการจัดประเภทของวัฒนธรรม


ใบความรู้ที่ 18  
ประเภทและการจัดประเภทของวัฒนธรรม

ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ เป็นรูปธรรม เช่น หนังสือ แว่นตา รถยนต์ เป็นต้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่สมาชิกในสังคมคิดค้นขึ้นมา
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่มองไม่เห็น เป็นภาพนามธรรม เช่น ค่านิยม มารยาท ปรัชญา  บรรทัดฐาน สถาบัน สังคม ความเชื่อ เป็นต้น
  แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการแบ่งวัฒนธรรมออกเป็นวัฒนธรรมนามธรรมหรือวัฒนธรรมรูปธรรมจะเป็นการแบ่งที่แยกกันได้อย่างเด็ดขาด
การแบ่งในลักษณะที่ว่านี้เป็นการแบ่งเพื่อความสะดวกในการพิจารณาวัฒนธรรมเท่านั้นตามความเป็นจริง วัฒนธรรมประเภทวัตถุสามารถสื่อความหมาย และมีลักษณะเป็นระบบสัญลักษณ์ที่จับต้องได้
บ้านเรือนที่เราอยู่มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมประเภทวัตถุ แต่ถ้าเราพิจารณาลักษณะของบ้านเรือนเราก็จะเห็นว่า บ้านที่มนุษย์เราใช้อาศัยอยู่นั้นอาจจะสร้างด้วยวัตถุที่ต่างกัน เช่น กระท่อมหลังคามุงจาก ย่อมแตกต่างจากบ้านไม้สัก หรือตึกคอนกรีต
นอกจากจะต่างกันตรงวัสดุที่ใช้แล้วยังต่างกันตรงที่ลักษณะของอาคารจะบอกให้คนในสังคมนั้นรู้ได้ว่า เจ้าของบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร เศรษฐีย่อมอยู่ตึกหลังใหญ่ คนจนมักจะอาศัยอยู่ในกระท่อม
ถ้ากระท่อมตั้งอยู่ในหมู่บ้านตามต่างจังหวัด ก็ย่อมต่างจากกระท่อมที่ตั้งอยู่ในสลัมกรุงเทพฯ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมประเภทวัตถุย่อมให้ความหมายทางสัญลักษณ์ด้วย


การจัดประเภทตามเนื้อหาของวัฒนธรรม จะแยกได้ 4 ประเภทดังนี้
1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมทางศีลธรรมและทางจิตใจ อันเป็นคติหรือหลักการดำเนินชีวิตที่ส่วนใหญ่รับมาจากหลักธรรมทางศาสนามีความเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ
2. วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ หมายถึง วัตถุทางศิลปกรรม เช่น เจดีย์ บ้านเรือน รวมถึงเครื่องอุปโภคทั้งหลายซึ่งถือว่าเป็นวัตถุทั้งสิ้น โดยคนในสังคมร่วมกันประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
3.  เนติธรรม คือ วัฒนธรรมทางกฎหมายหรือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม
4. สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคม เป็นวัฒนธรรมในการติดต่อเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์หรือมารยาทในสังคมหรือสมาชิกพึงปฏิบัติต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

วิชาหน้าที่พลเมือง

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos