วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

เรื่องที่ 2
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

  • การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา


  1. คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้


    1. ประโยชน์ต่อตนเอง
      1. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
      2. มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา
      3. ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง
    2. ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
      1. สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ
      2. เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
      3. ความสุขของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความอยู่ดีกินดี รู้สึกปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานและรายได้ที่มั่นคง


  1. แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน การเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบุคคลรอบข้าง จะก่อให้เกิดความสุขในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกทุกคน โดยยึดแนวทางการปฎิบัติ ดังนี้


    1. เคารพซึ่งกันและกัน
      1. แสดงกิริยาที่นอบน้อมต่อกัน
      2. พูดดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
      3. ยอมรับในความแตกต่างทั้งความเชื่อ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ผิวพรรณ เป็นต้น
      4. รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
    2. เมตตาต่อกัน
      1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงจิตใจของผู้อื่น
      2. แสดงความห่วงใยต่อบุคคลรอบข้าง ไม่ซ้ำเติมให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ยากมากขึ้น
      3. ฝึกใจให้รักในการให้ มากกว่าการรับ
      4. เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม


    1. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
      1. บริจาคทรัพย์สิน หรือสิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นที่ยากลำบากหรือประสบภัยต่างๆ
      2. ช่วยเหลือผู้อื่นทำงาน หรือช่วยงานตามความสามารถของตนด้วยความทุ่มเทและเต็มใจ
      3. ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติตามข้อกำหนด หรือระเบียบของสังคม


    1. มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
      1. แสดงความจริงใจต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและรับหลัง
      2. รักษาสัจจะวาจา ต้องทำให้ได้ตามที่รับปากไว้
      3. ไม่ทุจริต หรือเอาเปรียบผู้อื่นด้วยกลอุบายต่างๆ
      4. ไว้วางใจกัน ไม่ระแวงผู้อื่นจนเกิดความเป็นความบาดหมาง
      5. ฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเองให้กลายเป็นนิสัย


    1. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นกัน
      1. ไม่ดูถูกการกระทำ คำพูด หรือความคิดของผู้อื่น
      2. ไม่แสดงกิริยาหรือวาจาดูถูกศรัทธาความเชื่อ วัฒนธรรม เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ของผู้อื่น
      3. เคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการปฎิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม



24r.gif

เรื่องที่ 1 การมีวินัยในตนเอง


เรื่องที่ 1
การมีวินัยในตนเอง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

  • ความมีวันียเกิดจากการเรียนรู้ และปฎิบัติตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม การสร้างความมีวินัยในตนเอง จึงควรเริ่มจากการทราบความสำคัญ ประโยชน์และลักษรธของผู้มีวินัย เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติที่ถูกต้อง

  1. ความสำคัญและประโยชน์ของการมีวินัยในตนเอง วินัย คือสิ่งที่เราต้องปฎิบัติทุกวันไม่ว่าจะชอบหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆที่ตนเองและสังคมต้องการ ดังนั้น วินัยจึงมีความสำคัญและประโยชน์ ดังนี้

  1. ความสำคัญของวินัย
    1. เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในชีวิต
    2. เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม ให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้ประเทศพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็ว
    3. เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้ออื่นๆ

  1. ประโยชน์ของวินัย
    1. ทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
    2. ทำให้สังคมและประเทศชาติสงบสุขและเจริญก้าวหน้า
    3. ทำให้มีผู้รักใคร่เอ็นดู คอยให้การสนับสนุน และให้ความเชื่อถือ ซึ่งจะนำพาสู่ความสำเร็จในทุกด้าน

  1. คุณลักษณะของผู้มีระเบียบวินัย บุคคลผู้ได้ชื่อว่ามีวินัยในตนเองนั้น จำเป็นต้องมีคุณลักษณะสำคัญในหลายด้าน ดังนี้


  1. ซื่อสัตย์สุจริต
    1. ตั้งใจทำหน้าที่การงานด้วยความทุ่มเท
    2. เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    3. รักษาวาจาสัตย์
    4. จริงใจต่อบุคคลรอบข้าง
    5. ละอายต่อการกระทำชั่วทั้งปวง

  1. ขยันหมั่นเพียร
    1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
    2. ช่วยเหลืองานครอบครัว
    3. ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ของตน
    4. ใช้เวลาว่างหาความรู้เพิ่มเติม
    5. ยึดหลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิต

  1. อดทน
    1. ข่มใจจากกิเลส สิ่งยั่วยุทั้งหลาย
    2. ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ
    3. ใช้ปัญญาและเหตุผลในการแก้ปัญหา
    4. มองโลกในแง่ดี
    5. หลีกเลี่ยงและปฎิเสธให้เป็น

  1. ใฝ่หาความรู้
    1. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
    2. เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะความรู้
    3. ใช้เวลาว่างค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเทอรืเนต สารคดี เป็นต้น
    4. รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแยกแยะสิ่งที่ได้ดู อ่าน ฟัง หรือสัมผัสมา

  1. ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่
    1. รู้จักวางแผนและแบ่งเวลาเป็น
    2. รับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง
    3. ขยัน รอบคอบ และอดทน
    4. ทุ่มเทให้กับสิ่งที่ทำ ไม่เถลไถล
    5. มองว่าอุปสรรคคือบทพิสูจน์ตัวตน ไม่ท้อถอยหรือยอมแพ้สิ่งใดง่ายๆ

  1. ยอมรับผลของการกระทำ
    1. ภูมิใจในผลงานที่ตนคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว
    2. รับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ
    3. ไม่ปฎิเสธความจริง และเหตุผล
    4. เปิดใจรับทุกคำแนะนำ หรือคำติชม
    5. นำประสบการณ์หรือความผิดพลาดมาใช้ปรับปรุงและพัฒนางานครั้งต่อไป

24r.gif

เรื่องที่ 1 สังคมพหุวัฒนธรรม

เรื่องที่ 1
สังคมพหุวัฒนธรรม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 1 สังคมพหุวัฒนธรรม

  • สังคมไทย เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เพราะประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาิต ศาสนา และวัฒนธรรม การเรียนรู้ความแตกต่างเพื่อป้องกันความแตกแยก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนไทยพึงปฎิบัติ เพื่อพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าและสงบสุข


  1. อัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรม อัตลักษณ์ คือสิ่งสะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลหรือสังคมนั้นๆ สังคมพหุวัฒนธรรมมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ การอยู่ร่วมกันของผู้คนท่ามกลางความหลากหลายอย่างกลมกลืน ซึ่งความหลากหลายที่ปรากฎในสังคมพหุวัฒนธรรม ได้แก่
    1. เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์
    2. ศาสนา/ความเชื่อ
    3. ภาษา
    4. วิถีการดำเนินชีวิต
    5. ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี จารีต

  • จากความหลากหลายข้างต้น ทำให้สังคมพหุวัฒนธรรมมีความยืดหยุ่นสูง และเกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน

  1. การเคารพและการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง สมาชิกในสังคมควรเปิดใจให้กว้าง เพื่อยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้น และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีความระมัดระวังในการกระทำและคำพูด ที่อาจนำมาซึ่งความแตกแยกขัดแย้ง ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย จึงควรยึดแนวทางปฎิบัติดังนี้
    1. เรียนรู้ความแตกต่าง
      1. เปิดใจให้กว้าง พร้อมรับสิ่งใหม่
      2. ศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา ภาษา ของชนกลุ่มอื่น ผ่านแหล่งความรู้ที่หลากหลาย และควรศึกษา ด้วยใจที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ
      3. เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่มีคนจากหลายวัฒนธรรมมาทำกิจกรรมร่วมกัน
    2. ยึดมั่นในขันติธรรม
      1. มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง
      2. ปรับวิธีคิดและท่าทีให้เป็นกลาง สอดคล้องกับสภาพสังคมแห่งความหลากหลาย
      3. เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม โดยไม่เยาะเย้นถากถาง หรือลบหลู่ดูหมิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ของกันและกัน
    3. คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน
      1. มีความยุติธรรม ไม่เลือกปฎิบัติหรือให้สิทธิพิเศษเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
      2. ไม่กระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ แก่เพื่อนร่วมสังคม
      3. ปฎิบัติตามหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของตน โดยไม่ไปละเมิดหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น

เรื่องที่ 3 การมีความกล้าหาญทางจริยธรรม

เรื่องที่ 3
การมีความกล้าหาญทางจริยธรรม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 3 การมีความกล้าหาญทางจริยธรรม
การมีความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ การกล้าที่จะประพฤติตน และแนะนำให้ผู้อื่นปฎิบัติตนในทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามที่สังคมต้องการ ซึ่งสามารถทำได้ตามแนวทาง ดังนี้


  1. การปฎิบัติตน
    1. แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
    2. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และสังคม
    3. มั่นคงในความซื่อสัตย์ ความอดทน ความเสียสละ ความสามัคคี ความกตัญญู และคุณธรรมอื่นที่นำมาสู่ความสงบสุขของชีวิตและสังคม
  2. การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฎิบัติ
    1. อธิบายให้เห็นคุณค่าความสำคัญของการมีความกล้าหาญทางจริยธรรม
    2. สนับสนุนและให้กำลังใจผู้อื่น ในการต่อสู้กับความอยุติธรรมและความไม่ถูกต้อง
    3. ส่งเสริมคนดีด้วยการชื่นชม ยกย่อง ให้รางวัล และช่วยเหลือในด้านต่างๆ

24r.gif

เรื่องที่ 5 การรู้เท่าทันสื่อ ข่าวสาร และการคาดการณ์ โดยใช้ข้อมูล


เรื่องที่ 5

การรู้เท่าทันสื่อ ข่าวสาร และการคาดการณ์ โดยใช้ข้อมูล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรู้เท่าทันสื่อ
  • ปัจจุบัน เป็นโลกยุคโลกไร้พรมแดน ที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว ผ่านระบบการสื่อสาร ที่ถูกพัฒนาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
  • การรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้สื่อทุกประเภทอย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์

  1. การรู้ทันสื่อและการรู้ทันข่าวสาร สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. ศึกษาสื่อ เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติ และกลยุทธการสื่อสารของสื่อทุกประเภท เพื่อไม่ให้ตกเป็นเรื่องมือในการสร้างผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของสื่อนั้นๆ
    2. มีสติในการใช้สื่อ โดยรับฟังข่าวสาร ภาพ และทุกๆสิ่งที่ปรากฎในสื่ออย่างมีสติ อย่าปักใจเชื่อหรือคล้อยตามสิ่งที่สื่อนำเสนอ จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยัน หรือพิสูจน์
    3. ใช้สื่ออย่างหลากหลาย โดยการอ่าน ฟัง หรือชมข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย ทั้งในโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลข่าวสารในเรื่องเดียวกัน มาตรวจสอบ เปรียบเทียบว่ามีเนื้อหาสาระเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เห็นข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารนั้นๆ มากขึ้น
  2. การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า บนพื้นฐานของข้อมูล สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. ใฝ่หาความรู้ ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพราะผู้ที่มีขอบเขตความรู้อย่างกว้างขวาง ย่อมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เป็นอย่างดี
    2. รู้จักวิเคราะห์วางแผน โดยการนำข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ รวบรวมมาวิเคราะห์ เชื่อมโยงกับบริบททางสังคมในอดีต ปัจจุบัน เพื่อให้เห็นแนวโน้มของอนาคต
    3. ใช้อดีตให้เป็นประโยชน์ นำบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณืต่างๆ ในอดีตมาปรับใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก หรือเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ


เรื่องที่ 4 กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม

เรื่องที่ 4
กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 4 กระบวนการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม



  • ภายใต้ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองได้หลายทาง เช่น การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การตรวจสอบการทำงานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นขบวนการประชาธิปไตย ที่ทำให้การเมืองการปกครองของไทย มีความโปร่งใสและมั่นคง

  1. การประยุกต์ใช้กระบวนการประชาธิปไตย ในการวิพากษ์ประเด็นนโยบายสาธารณะ สามารถปฎิบัติตามแนวทาง ดังนี้
    1. แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
    2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้วยการเสวนา หรืออภิปรายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
    3. ใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติ เมื่อมีการสอบถามความความความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
  2. การมีส่วนร่วมและการตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ สามารถปฎิบัติได้ตามแนว ดังนี้
    1. การมีส่วนร่วมในการเลือก
      1. ออกไปใช้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยความซื่อสัตย์สุจริตทุกครั้ง
      2. ร่วมเป็นพยานในการนับคะแนนเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปอย่างสุจริตโปร่งใส
      3. ร่วมเป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ตนอาศัยอยู่ และให้ความช่วยเหลือในการจัดการเลือกตั้งด้วยความสมัครใจ
    2. การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ
      1. รับฟังนโยบายของพรรคการเมืองทุกพรรคอย่างเท่าเทียม ไร้อคติ
      2. เลือกผู้แทนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรู้ ความสามารถ เสียสละ และพร้อมที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง
      3. ไม่สนับสนุนนักการเมืองที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงและแจ้งให้คณะกรรมการเลือกตั้งทราบ เมื่อพบการทุจริตซื้อขายเสียง




หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความเป็นไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความเป็นไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเป็นไทย



  • ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม ผู้คนเป็นมิตรมีน้ำใจไมตรี อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ กตัญญูรู้คุณ และรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  • นอกจากนี้ ยังมมีขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม อันงดงาม มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก มีภูมิปัญญาไทย การแต่งกายแบบไทย และภาษาไทย ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยบรรพบุรุษและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มาเป็นระยะเวลายาวนาน
  • สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นมรดกล้ำค่า และน่าภาคภูมิใจ เป็นเอกลักษณ์ไทยที่งดงาม คนไทยทุกคนจึงควรอนุรักษ์ สืบสานและเผยแพร่ความเป็นไทย ให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป


ผลการเรียนรู้
  1. มีส่วนร่วมและแนะนำผู้อื่นให้อนุรักษ์และเผยแพร่มารยาทไทยสู่สาธารณะ
  2. แสดงออก แนะนำผู้อื่น และยกย่องบุคคลที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
  3. เห็นคุณค่า อนุรักษ์ สืบสาน ประยุกต์ และเผยแพร่ขนบธรรรมเนียมประเพณี ศฺลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย


แนวคิดการเรียน

  • เราจะรักษาคำว่า “สยามเมืองยิ้ม” ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไปได้อย่างไร

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos