วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ตอนที่ 8 : เมนู "รายชื่อลิงก์"

เพิ่มองค์ประกอบหน้า ตอนที่ 8 : เมนู "รายชื่อลิงก์"

สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความตอนนี้มาพบกับ องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" ซึ่งใช้ไม่ค่อยมากสักเท่าไหร่ บางบล็อกของผมก็ไม่ได้ใช้เลย เพราะว่าผมจะไปให้ความสำคัญ และใช้งาน องค์ประกอบ "รายการแทน" ถึงการใช้งานจะยุ่งยากกว่า แต่ผมคิดว่า กลับสื่อความหมายได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นองค์ประกอบ (Gadget) หนึ่งในหลายๆ องค์ประกอบของ Blogger จึงอยากให้เพื่อนๆ ได้ทดลองใช้งานกันดูนะครับ


องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" สามารถแสดง URL ของเว็บไซต์ หรือเว็บบล็อก ที่เราจะนำมาแสดง ซึ่งเราอาจจะตั้หัวข้อได้หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ที่ใช้งานบ่อย เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ เว็บไซต์ของเพื่อน หรือ "เว็บบล็อกที่ผมเขียน" ตามที่ผมจะยกตัวอย่างในบทความนี้นะครับ งั้นเพื่อนๆ มาลองใช้งานกันนะครับ


เมื่อกดแบนเนอร์ จะแสดงหน้าต่าง "ตั้งค่ารายชื่อลิงก์" ทีผมขออธิบายส่วนสำคัญ 4 ส่วน
  1. โดยผมจะข้าส่วนแรกคือ "หัวข้อ" ไปเลย เพราะถ้าเพื่อนๆ ตามอ่านมาตั้งแต่ต้น ก็ใส่หัวข้ออะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับลิงก์ที่จะนำมาวาง
  2. ส่วน "จำนวนลิงก์ที่จะแสดงในรายการ" ให้เราใส่จำนวนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นเว็บบล็อกของเพื่อนมีมาก อาจใส่ไว้ 100 รายการ คือใส่มากก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าใส่น้อย เช่นใส่ 20 รายการ แต่เราเพิ่มลิงก์ไป 40 รายการ ก็จะแสดงเพียง 20 รายการเท่านั้นครับ
  3. ส่วน "การเรียง" ผมไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย โดยปกติจะเป็น ไม่ต้องจัดเรียง เพราะว่าเมื่อเราเพิ่มรายการเรียบร้อย สามารถจัดลำดับได้เองอยู่แล้ว ง่ายๆ ไม่ยากครับ ทาง Blogger ออกแบบไว้ค่อนข้างดีครับ
  4. ส่วน "URL ของไซต์ใหม่" นั้นมีไว้สำหรับใส่ URL ที่เราต้องการแสดง
ในส่วนที่ 4 นี้ ผมขยายมาให้ดูชัดๆ เพราะเป็นส่วนสคัญ ในการเพิ่มลิงก์ครับ จะเห็นว่ามี "http://" รอไว้อยู่แล้ว ถ้าก็อบปี้ URL มาอย่าลืมลบของเดิมออกก่อนนะครับ เดี๋ยวจะซ้ำซ้อน ที่สำคัญใช้งานไม่ได้ครับ



คราวนี้เรามาดูตัวอย่างจริงกัน เป็นตัวอย่างของเว็บบล็อก
http://alittleofknowledge.blogspot.com/



เพื่อนๆ ก็เข้าสู่หน้าการจัดการ "รูปแบบ" ส่วน "องค์ประกอบหน้า" ถ้าเพื่อนๆ ยังไม่มี "รายการลิงก์" ตามบทความนี้ ก็กดที่ "เพิ่มองค์ประกอบหน้า" แล้วก็ทำตามคำอธิบายก่อนหน้านี้นะครับ แต่ของผมที่จะแนะนำ เพื่อแสดงให้ดู หรืออาจเป็นกรณี ที่เพื่อนๆ มีการสร้างรายการลิงก์ไว้แล้ว แต่ต้องการปรับลด หรือเพิ่มเติม ก็ให้กดที่เมนู "แก้ไข"

จะเห็นว่า มีรายการลิงก์ที่ด้านล่าง ซึ่งจะต่างกับด้านบนๆ ที่ยังไม่มีรายการลิงก์ และผมเขียนหัวข้อว่า "Blog ที่ผมเขียนทั้งหมด" มีจำนวน 10 รายการ (เนื่องจากผมต้องการแสดงให้เห็นไม่กี่บล็อก จึงใส่จำนวนไม่เยอะครับ)
ผมลองเพิ่ม URL ของบล็อกใหม่ที่ผมพึ่งทำล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 1/1/2552 คือ ไฟไหม้ ซานติก้าผับ GOODBYE SANTIKA ที่มี URL : http://goodbyesantika.blogspot.com/ ลองดูตามตัวอย่างในภาพข้างบน ซึ่งก็คือในวงกลมข้อ 1. เมื่อเราใส่ URL เสร็จ ปุ่มเมนู "เพิ่มลิงก์" จะทำงาน คือเปลี่ยนจากสีเทาเข้ม เป็นสีฟ้า จากนั้นก็กกดปุ่ม "เพิ่มลิงก์"


ก็จะเห็นรายการลิงก์ของ http://goodbyesantika.blogspot.com/ เพิ่มขึ้นที่ด้านบนสุด (ดูตามภาพในวงที่มีลูกศร) ที่ตัวอย่างตามภาพนี้ ผมอยากให้เพื่อนๆ สังเกตด้านซ้ายมือของรายการลิงก์ต่างๆ จะมี
  • เมนู "แก้ไข" กับ "ลบ" ถ้าเรากดก็สามารถแก้ไข หรือลบไปเลย นะครับ
  • ส่วนเมนู ที่เป็นลูกศร "ชี้ขึ้น" กับ "ชี้ลง" นั้น ถ้าต้องการจัดลำดับของรายการลิงก์ ก็ลองเล่นดูได้เลยครับ ใช้งานง่ายๆ ครับ
เมื่อเพิ่มลิงก์ หรือปรับลด หรือจัดลำดับรายการลิงก์ หรือแก้ไขใดๆ เสร็จแล้ว ก็กดเมนู "บันทึก" สีส้มเช่นเดิม ก็จะกลับมาที่หน้า "รูปแบบ" เพื่อนๆ จเห็นว่า ตรงกันกับ "องค์ประกอบ" ที่มีชื่อว่า "Blog ที่ผมเขียนทั้งหมด" ซึงก็จะตรงกับตัวอย่างในภาพข้างล่างนะครับ

นี่แหละครับตัวอย่างของจริง ในบล็อกของผม ที่ผมนำมายกตัวอย่าง นะครับ จะเห็นว่า องค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" ก็ใช้งานค่อนข้างง่ายมากเลยครับ ติดตามอ่านต่อนะครับ ใกล้จบการสร้างบล็อก ในส่วนของ "องค์ประกอบ" แล้วนะครับ ตอนหน้าพบกับ องค์ประกอบ "รายการ" ที่ผมใช้มากที่สุดเลยก็ว่าได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos