วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มารยาทไทย
สังคมไทยให้ความสำคัญกับกิริยามารยาทมาตั้งแต่อดีต มีการกำหนดระเบียบแบบแผน จนกลายเป็นธรรมเนียมให้ยึดถือปฎิบัติสืบต่อกันมา
การเรียนรู้เรื่องมารยาทไทยที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้ที่มีมารยาทงดงาม ย่อมเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของผู้พบเห็น ช่วยเสริมสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี


  1. มารยาทในการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป้็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ เช่นการไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแสดงความเคารพ มีความแตกต่างไปตามความเหมาะสมของผู้รับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะใด หรือในโอกาสใด.
    1. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การไหว้แบบไทยแบ่งเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคลดังนี้
      1. ไหว้พระสงฆ์ ประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้สัมผัสส่วนบนของหน้าผาก
      2. ไหว้พ่อแม่ ครู ญาติผู้ใหญ่ ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้สัมผัสระหว่างคิ้ว
      3. ไหว้รุ่นพี่ เพื่อน ประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วชี้สัมผัสปลายจมูก
    2. การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทในการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. ศึกษาวิธีการไหว้ในระดับต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
      2. ไหว้บุคคล รูปเคารพ และสถานที่ต่างๆ อย่างถูกวิธี เหมาะสม
      3. เข้าร่วมกิจกรรมการไหว้ เช่นกิจกรรมการประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
      4. แนะนำและถ่ายทอดวิธีการไหว้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้แก่ผู้อื่น
      5. สนับสนุน และชื่นชมผู้ที่ไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
    3. การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมการไหว้ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. อธิบายถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมการไหว้ของไทยที่ถูกต้อง
      2. แสดงตัวอย่างวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
      3. ฝึกฝนให้ผู้อื่นไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม และเหมาะสม
      4. เชิญชวน และส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์มารยาทไทย เช่น เข้าร่วมประกวดมารยาทไทย เป็นต้น
      5. สอนวัฒนธรรมการไหว้ให้แก่ชาวต่างชาติ
  2. การมีสัมมาคารวะ  บุคคลผู้มีสัมมาคารวะ คือ ผู้ที่แสดงกิริยามารยาทต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม รู้จักกาลเทศะ ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของคนไทยที่พึงปฎิบัติ ผู้มีสัมมาคารวะย่อมได้รับคำชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง และได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาตนทั้งทางด้านปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
    1. การปฎิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. แสดงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ด้วยวิธีการไหว้การกราบ เป็นต้น
      2. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตนและรู้จักกาลเทศะในทุกสถานการณ์และทุกสถานที่
      3. ให้เกียรติบุคคลและสถานที่ ด้วยการแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมตามโอกาส
      4. แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณ
      5. ปฎิบัติตามกติกา กฎ ระเบียบแบบแผนของครอบครัว โรงเรียน องค์กร ชุมชน และประเทศชาติ
    2. การเป็นแบบอย่างที่ดี และการอนุรักษ์มารยาทด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. ศึกษาและฝึกปฎิบัติตนในการมีสัมมาคารวะ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และชำนาญ
      2. ปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้าน กาย วาจา ใจ ทั้งต่อบุคคล สถานที่ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฎิบัติตาม
      3. ให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น ในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ ด้วยการฝึกฝนให้ปฎิบัติ และอธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฎิบัติ
      4. เข้าร่วม ส่งเสริม หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความมีสัมมาคารวะ เช่น ค่ายคุณธรรม พิธีไหว้ครู เป็นต้น
      5. จัดทำสสื่อเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงความเคารพของไทย เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้ศึกษา และถ่ายทอดให้ผู้อื่นสืบต่อไป
    3. การแนะนำผู้อื่น และการเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการมีสัมมาคารวะ สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
      1. จัดทำสื่อนวัตกรรม เอกสารเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการปฎิบัติตน ให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ และโอกาส
      2. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำผู้อื่นในการแสดงมารยาทด้านความมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
      3. ส่งเสริมและแนะนำให้ผู้อื่นเข้าร่วมจัดกิจกรรมเกี่ยวกับมารยาทไทยที่จัดขึ้นในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos