วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 44 การประชุมอาเซม

ใบความรู้ที่ 44  
การประชุมอาเซม


การประชุมอาเซมจัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 เป็นข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่ต้องการรักษาความสมดุลของภูมิภาค โดยต้องการเชื่อมโยงระหว่างมหาสุมทรแอตแลนติกกับแปซิฟิกให้ดียิ่งขึ้น โดยระหว่างการประชุมเอเปค ครั้งที่ 2 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤศจิกายน 2537 นายกรัฐมนตรีไทยขณะนั้นคือนายชวน  หลีกภัย  ได้พบปะกับผู้นำสิงค์โปร์ และเห็นพ้องให้มีการประชุมร่วมของเอเชียกับยุโรป
    การประชุมอาเซม (ASEM) ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กรุงเทพฯ โดยฝ่ายเอเชียมี 10 ประเทศและยุโรป 15 ประเทศ เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและจะจัดให้มีการประชุมในทุก 2 ปี โดยการประชุมอาเซมครั้งที่ 2  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
   วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยได้มีการหารือเรื่องการค้าและการลงทุน เรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลกและได้ให้คำรับรองแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซม และเพื่อโอกาสทางการค้า นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน นโยบายทางสังคม การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกล

ประโยชน์ต่อประเทศไทย  
   การเป็นสมาชิกอาเซมทำให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะสินค้าไทยได้รับการยกเว้นภาษีตามหลักของประเทศที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง และจากการได้สิทธิพิเศษภายใต้ระบบสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรป ทำให้เสียภาษีนำเข้าสหภาพยุโรปในอัตราที่ต่ำกว่าปกตริ สหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมต่ำมากสินค้าที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดของไทยคือสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ก่อให้เกิดการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคในระยะยาว
    การดำเนินการตามแผน Trade Promotion Action Plan เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซมเป็นไปได้สะดวกขึ้นเป็นประโยชน์ต่อการค้าทั้งสองภูมิภาค ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในเรื่องการลงทุนของทั้งสองภูมิภาค จึงควรผลักดันให้มีการดำเนินการตามแผน TPAP โดยเร็วที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos