วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่พลเมืองสาระเพิ่ม 4

ใบความรู้
เรื่อง  การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1x42.gif

ความหมายและขอบเขตของการอยู่ร่วมกัน
               การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  หมายถึง  การที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม  สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในรูปของกฎระเบียบหรือกฎหมาย  และมีคุณธรรม  จริยธรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  การมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม  เช่น  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการปฏิบัติตามคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ  จะทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
คุณธรรมของการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนาที่บุคคลนับถือ
               หลักธรรมที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของศาสนาต่าง  ๆ
พระพุทธศาสนา
1x42.gif
               พระพุทธศาสนา  มีหลักธรรมที่สำคัญที่หล่อหลอมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนรักสันติ  รักอิสระเสรี  มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อกัน  ได้แก่
1)      สังคหวัตถุ 4  หมายถึง  หลักธรรมสำหรับสงเคราะห์หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข  ได้แก่
(1)    ทาน  คือ  การให้  แบ่งปัน  เสียสละ  เผื่อแผ่
(2)    ปิยวาจา  คือ  การกล่าววาจาสุภาพ  อ่อนหวาน
(3)    อัตถจริยา  คือ  การกระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
(4)    สมานัตตตา  คือ  การวางตัวเหมาะสม  เสมอต้น  เสมอปลาย
2)      พรหมวิหาร 4  หมายถึง  ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหมในทางปฏิบัติ  หมายถึง คุณธรรมของผู้ใหญ่  ซึ่งต้องมีประจำในอยู่ตลอดเวลา  มี  4  ประการ ดังนี้
(1)    เมตตา  คือ  ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
(2)    กรุณา  คือ  ความสงสาร  มีความปรารถนาช่วยผู้อื่นหรือสัตว์ที่ประสบความทุกข์  ให้พ้นทุกข์
(3)    มุทิตา  คือ  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
(4)    อุเบกขา  คือ  ความวางเฉย  หรือความรู้สึกเป็นกลาง ๆ  ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความสุขหรือความทุกข์
3)      สัปปรุริสธรรม 7 หมายถึง  หลักธรรมของคนดี  หรือหลักธรรมของสัตบุรุษ  7  ประการ  ได้แก่
(1)    ธัมมัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
(2)    อัตถัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักผล
(3)    อัตตัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักตน
(4)    มัตตัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
(5)    กาลัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
(6)    ปริสัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติ  การปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะสม
(7)    ปุคคลัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกัน
ศาสนาอิสลาม
439056rvbdehj1y0.gif

               หลักธรรมในศาสนาอิสลาม  มุ่งให้มุสลิมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  มุสลิมทุกคนมีความรู้ในข้อปฏิบัติทางศาสนาอย่างดี มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นเอกภาพ
               หลักคำสอนสำคัญที่ถือว่าเป็นโครงสร้างสำคัญ 2 ประการคือหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ ได้แก่
1)      หลักศรัทธา  6  ประการ
(1)    ศรัทธาในอัลเลาะห์  มีความเชื่อมั่นในอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว
(2)    ศรัทธาในเทพบริวารหรือเทวทูต
(3)    ศรัทธาในพระคัมภีร์กุรอ่าน
(4)    ศรัทธาต่อศาสนทูต
(5)    ศรัทธาในวันสิ้นสุดโลก
(6)    ศรัทธาต่อกฎสภาวการณ์ของอัลเลาะห์
2)      หลักปฏิบัติตามศรัทธา  5  ประการ  ได้แก่
(1)    การปฏิญาณตน  หมายถึง  การปฏิญาณตนด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่ออัลเลาะห์และท่าน
นบีมูฮัมหมัด คือศาสนทูตของอัลเลาะห์
(2)    การนมาซ  หมายถึง  การแสดงความเคารพต่อพระเจ้าทั้งกาย  วาจา ใจ
(3)    การบริจาคซะกาต  หมายถึง  การจ่ายทานจากผู้มีทรัพย์สิน  คนผู้มีสิทธิ์รับซะกาตมี  คนอนาถา คนขัดสน  และผู้เข้ารับอิสลาม
(4)    การถือศีลอด  หมายถึง  การละเว้นจากการบริโภคอาหาร  น้ำ  ละกิเลสต่าง   ๆ  ทำใจให้สงบ
ปฏิบัติตั้งแต่แสงอาทิตย์ขึ้นจนแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  หลังจากนั้นจึงบริโภคได้ปกติตลอดคืน การถือศีลอดโดยทั่วไป  เรียกว่า ถือบวช
(5)    การทำพิธีฮัจญ์  คือ  การเดินทางไปแสดงบุญที่นครเมกกะฮ์

ศาสนาคริสต์
439056rvbdehj1y0.gif
ศาสนาคริสต์มีหลักธรรมที่หล่อหลอมให้คริสต์ศาสนิกชนมีจิตเมตตา  มีความรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง
1)      บัญญัติ  10 ประการ
(1)    อย่ามีพระเจ้าอื่นนอกจากเรา
(2)    อย่าทำรูปเคารพสำหรับตนหรือกราบไว้รูปเหล่านั้น
(3)    อย่าเอ่ยพระนามของพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
(4)    จงถือวันอาทิตย์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์
(5)    จงนับถือบิดามารดา
(6)    อย่าฆ่าคน
(7)    อย่าผิดประเวณี
(8)    อย่าลักทรัพย์
(9)    อย่าคิดมิชอบ
(10)  อย่าโลภสิ่งใดของผู้อื่น
2)      หลักอาณาจักรพระเจ้า  อาณาจักรพระเจ้าเป็นอาณาจักรที่มีแต่ความสุข  เป็นอาณาจักรแห่งความรักอย่างแท้จริง
3)      หลักคำสอนที่สำคัญอื่น ๆ
1)  หลักตรีเอกานุภาพ  ได้แก่
(1)    พระเจ้าหรือพระบิดา
(2)    พระเยซูหรือพระบุตร
(3)    พระจิตหรือดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าทั้งสาม
       2)  หลักความรัก  ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก  พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้รัก
           เพื่อน มนุษย์เหมือนรักตัวเอง  ให้รักแม้กระทั่งศัตรู
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
439056rvbdehj1y0.gif
หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
1)      หลักธรรม  10 ประการ  เรียกว่า ฮินดูธรรม  ได้แก่
(1)    ธฤติ  ได้แก่  ความมั่นคง  ความกล้าหาญ  คือเพียรพยายามจนสำเร็จ  ประโยชน์ตามที่ประสงค์
(2)    กษมา  ได้แก่  ความอดทน  หรืออดกลั้น  คือมีความพากเพียรพยายาม
(3)    ทมะ  ได้แก่  การระงับใจ  การข่มจิตใจ  คือไม่ปล่อยใจให้หวั่นไหว
(4)    อัสเตยะ  ได้แก่ การไม่ลักขโมย  ไม่ทำโจรกรรม
(5)    เศาจะ  ได้แก่  ความบริสุทธิ์  การทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
(6)    อินทรียนิครหะ  ได้แก่  การระงับอินทรีย์  10  ประการ  คือ  หมั่นสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอว่าอินทรีย์ทั้ง 10 เหล่านั้นได้รับการบริหารหรือใช้ไปในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่  จุดประสงค์คือไม่ต้องการให้มนุษย์ ปล่อยอินทรย์มัวเมาจนเกินไปให้รู้จักพอ
(7)    ธี  ได้แก่  ปัญหา  สติ  ความคิด  คือ  มีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมะ สังคม และ วัฒนธรรม
(8)    วิทยา  ได้แก่  ความรู้ทางปรัชญา  คือ  มีความรู้ลึกซึ้ง
(9)    สัตยะ  ได้แก่  ความจริง  ความเห็นอันบริสุทธิ์  คือมีความจริงใจให้กัน
(10)  อโกธะ  ได้แก่  ความไม่โกรธ คือมีขันติ  ความอดทน  และโสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  นั่นคือ เอาชนะ  ความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ  ไม่อาฆาตมุ่งร้ายต่อใคร

สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา  คำสอนทางศาสนาเป็นหลักธรรมที่ใช้ในการดำรงชีวิต  ช่วยพัฒนาสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  มีความปลอดภัย  เพราะทุกคำสอนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ต้องการให้ทำความดี  จะเว้นชั่วและทำจิตใจให้บริสุทธิ์  มีเมตตาเป็นหลัก  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  มีความอดทนอดกลั้น
การมีสัมมาคารวะ  รักกันฉันพี่น้อง  ทำให้ผู้นับถือศาสนาเป็นมิตรที่ดีต่อกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ  ก่อให้เกิดสันติสุขต่อสังคมและต่อโลก
1x42.gif
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา
เสลภูมิพิทยาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos