วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 6 สถาบันทางสังคมที่สำคัญ


ใบความรู้ที่ 6
สถาบันทางสังคมที่สำคัญ

1. สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตรและแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคม เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดของสังคม โดยสัญลักษณ์ที่สำคัญ ได้แก่แหวนหมั้น ใบทะเบียนสมรส สถานภาพ ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก เป็นต้น
หน้าที่ครอบครัว
1. สร้างระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ
2. การให้กำเนิดสมาชิกใหม่ในสังคม
3. ให้การอบรม ให้การเรียนรู้ทางระเบียบสังคม
4. ให้การคุ้มครองและบำรุงรักษาทั้งทางร่างกายและคุณภาพของสมาชิก
5. กำหนดสถานภาพของสมาชิก เช่น เป็นคนไทย
6. ให้ความรักและความอบอุ่น
2. สถาบันการศึกษา หมายถึงการขัดเกลาและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแบบแผนการให้ความรู้และการฝึกฝนทักษะอาชีพ เพื่อเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม สัญลักษณ์ เช่น ตราโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ สถานภาพ เช่น ครู นักเรียน เป็นต้น
หน้าที่ของการศึกษา
1. ช่วยพัฒนาบุคคลให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
2. ปลูกฝังทักษะการใช้ปัญญาเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
3. ช่วยในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม
4. ปลูกฝังค่านิยมอันดีงาม
3. สถาบันศาสนา หมายถึงความศรัทธาต่อสิ่งที่เคารพบูชาของสมาชิกในสังคม สถาบันศาสนามีความเกี่ยวข้องแบบแผนความสัมพันธ์ต่อการหล่อหลอม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคมเนื่องจากสร้างความผูกพันทางจิตใจระหว่างสมาชิกให้ยึดถือ เป็นหลักการดำเนินชีวิตร่วมกันรวมถึงเป็นแนวทางความประพฤติของบุคคลเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม สัญลักษณ์ เช่น สัญลักษณ์ของแต่ละศาสนา วัด โบสถ์ เป็นต้น สถานภาพ เช่น พระ นักบวช ศาสนิกชน เป็นต้น
หน้าที่สถาบันศาสนา
1. กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานความประพฤติ แนวปฏิบัติในเรื่องศีลธรรมแก่สมาชิกในสังคม
2. อบรมและปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่สมาชิกในสังคม
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนา ช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางด้านจิตใจให้กับสมาชิกในสังคม
4. ช่วยควบคุมสังคมให้เป็นปึกแผ่นและเกิดความสงบสุข
4. สถาบันทางเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนการตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางด้านสิ่งอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมายการค้าของบริษัท ห้างร้านต่างๆ สถานภาพ เช่น พ่อค้า ลูกค้า เป็นต้น
5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบสังคม ควบคุมกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีระเบียบ และมีความปลอดภัย ช่วยขจัดความขัดแย้งการเอารัดเอาเปรียบกัน เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม สัญลักษณ์ เช่น รัฐสภา เป็นต้น สถานภาพ เช่น ผู้แทนราษฎร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี เป็นต้น
หน้าที่สถาบันการปกครอง
1. จัดระเบียบในการเมืองการปกครอง
2. อำนวยความสะดวกในการรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติ
3. ควบคุมให้เกิดสันติสุข โดยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ราษฎร
4. ออกกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติให้ราษฎรปฏิบัติตาม
5. บริหารงานเพื่อให้สังคมดำรงอยู่และพัฒนาต่อไป



วิชาหน้าที่พลเมือง

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos