วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 4 การขัดเกลาทางสังคม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดระเบียบสังคม

ใบความรู้ที่ 4
การขัดเกลาทางสังคม


การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการทางสังคมและจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคมต้องการเด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีความเป็นคน โดยแท้จริง สามารถอยู่ร่วมกันได้และมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจะเริ่มต้นตั้งแต่บุคคลถือกำเนิดมาในโลก ตัวแทนสำคัญที่ทำหน้าที่ในเรื่องนี้ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศาสนา ตลอดจนสื่อมวลชนต่างๆ โดยตัวแทนเหล่านี้ จะทำให้บุคคลได้ทราบคุณค่าและอุดมคติที่สังคมยึดมั่นและได้เรียนรู้บรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้อยู่ในสังคม
ประเภทของการขัดเกลาทางสังคม การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การขัดเกลาทางสังคมทางตรง เป็นการอบรมขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก เช่น การสอนสิ่งต่างๆให้กับลูก เช่น การพูดหรือมารยาทต่างๆ หรือครูอาจารย์ที่สอนความรู้แก่นักเรียนในชั้นเรียน เป็นต้น ผู้สอนและผู้รับจะมีความรู้สึกใกล้ชิดกัน เพราะเป็นการให้การอบรมกล่อมเกลากันโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เป็นวิธีการขัดเกลาทางสังคมที่ไม่ใช่การถ่ายทอดโดยตรงแต่จะเป็น โดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์ ตลอดจนภาพยนตร์ หรือสื่อประเภทอื่น รวมถึงประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ที่ประสบมากับตนเองเป็นการรับเข้ามาโดยไม่เป็นทางการหรือไม่ได้ตั้งใจ มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการปรับตัวของมนุษย์ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


องค์กรที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนี้เกิดขึ้นในทุกองค์กรทางสังคมในการอบรมกล่อมเกลาให้สมาชิกใหม่ได้รับรู้และกระทำตามเกณฑ์ของสังคม ในที่นี้ได้จำแนกองค์กรที่ทำหน้าที่นี้ดังนี้
   1. ครอบครัว เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งครอบครัวจะทำหน้าที่อบรมสั่งสอนสมาชิกให้เป็นพลเมืองดีปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แบบแผนที่สังคมเป็นผู้กำหนด จึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่สุดในการขัดเกลาทางสังคมในการถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับสมาชิกในสังคมเพื่อให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ
   2. โรงเรียน ภาระหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคมที่ต่อเนื่องจากครอบครัวก็คือโรงเรียนที่สังคมจัดตั้งขึ้นเพื่อสั่งสอนความรู้ และถ่ายทอดวิทยาการรวมถึงศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้แก่สมาชิกในสังคม
  3. กลุ่มเพื่อน เมื่อสมาชิกในสังคมเติบโตขึ้นมา กลุ่มเพื่อนจะมีบทบาทที่สำคัญต่อการขัดเกลาทางสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลเนื่องจากการลอกเลียนแบบกันภายในกลุ่ม
   4. สถาบันทางศาสนา ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสมาชิกในสังคม ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีและมีศีลธรรมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นสถาบันศาสนาจึงมีความสำคัญจึงมีบทบาทสำคัญต่อสมาชิกในสังคมให้เป็นผู้ประพฤติดีอยู่ในกรอบของสังคม
   5. สื่อมวลชน มีบทบาทที่สำคัญ ในการเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึงทำให้สมาชิกได้รับรู้ข่าวสารและเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างถูกต้องมีความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
วิชาหน้าที่พลเมือง
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos