วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 50 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและหลักการของระบอบประชาธิปไตย
     ประชาธิปไตย เป็นระบบการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองของตนเอง ดังคำกล่าวที่กล่าวว่า “เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” มีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจที่มาจากปวงชนหรือบางที่ก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ เป็นอำนาจที่มาจากปวงชนและผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งประชาชนกลุ่มหนึ่งที่จะอาสาจะเป็นผู้บริหารประเทศแทนประชาชนส่วนใหญ่ตามระยะเวลาและวิธีที่กำหนดไว้เป็นการแน่นอน เช่นกำหนดไว้อย่างแน่นอนทุก 2 ปี 4 ปี 5 ปี จะต้องมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ เป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพชั้นมูลฐานของประชาชน สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตเสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่มและเสรีภาพในการชุมนุมเป็นต้น โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านั้น เว้นแต่เพื่อการรักษาความมั่นคงของชาติ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน ฐานันดรหรือยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ก่อให้เกิดอภิสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษแก่บุคคลนั้น
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครองและในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง กๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย กับระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น ฝรั่งเศส  ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา
รูปแบบของระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. ประชาธิปไตยทางตรง ประชาชนเข้ามามีส่วนในการปกครองประเทศโดยตรง ไม่มีผู้แทนเคยปรากฎสมัยนครรัฐกรีกโบราณ ซึ่งมีจำนวนประชากรน้อย
2. ประชาธิปไตยทางอ้อม หรือประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน ประชาชนจะเลือกตั้งตัวแทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ทั้งออกกฎหมาย และบริหารซึ่งเป็นลักษณะของประชาธิปไตยยังแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos