วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 2 การปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง

เรื่องที่ 2
การปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
1x42.gif
การปฎิบัติตนเป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ในทุกสถานที่และโอกาส แต่จำเป็นต้องอาศัยความพยายามในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเองให้ได้
ซึ่งบุคคลที่มีระเบียบวินัยโดยปราศจากอิทธิพลใดๆ มาควบคุมหรือบังคับ ถือเป็นบุคคลที่ควรยกย่องและน่าคบหา

  1. ซื่อสัตย์สุจจริต ผู้ได้ชื่อว่ามีความซื่อสัตย์ ต้องมีความจริง 5 ประการ ดังนี้
    1. จริงต่กการงาน คือทำอะไรทำจริง มุ่งให้งานสำเร็จ โดยใช้แนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม
    2. จริงต่อหน้าที่ คือ รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความทุ่มเท เอาใจใส่ ไม่เลินเล่อ หละหลวม หลีกเลี่ยง หรือบิดพริ้ว
    3. จริงต่อวาจา คือ พูดความจริง ไม่กลับกลอก รักษาวาจาสัตย์ และทำได้จริงตามสิ่งที่พูด
    4. จริงต่อบุคคล คือ จริงใจต่อบุคคลรอบข้าง ไม่คิดคดทรยศ หรือนินทาว่าร้าย
    5. จริงต่อความดี คือ มุ่งประพฤติแต่ความดีจนติดเป็นนิสัย มีความละอายชั่วกลัวบาป

  1. ขยันหมั่นเพียร ผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร หรือมีความกระตือรือร้น ตั้งใจจริง และมีมานะอดทนในการทำงาน ย่อมไม่พบเจอกับความลำบากยากจน ซึ่งการปฎิบัติตนเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร สามารถทำได้ดังนี้
    1. ด้านการศึกษาเล่าเรียน ผู้เรียนจะต้องตั้งใจฟังครูสอน ทำงานที่ครูมอบหมายให้เสร็จภายในเวลากำหนด หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมจากทั้งภายในและนอกโรงเรียน หมั่นทบทวนบทเรียน และรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม
    2. ด้านการทำงาน ควรทำงานด้วยความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ และอดทน เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตรงตามเวลา และมีคุณภาพ
    3. ด้านสาธารณะประโยชน์ การทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ควรทำด้วยความเต็มใจ ทุ่มเท และเสียสละ เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

พระพุทธศาสนากับความสำเร็จ
อิทธิบาท 4 เป็นเครื่องนำพาไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ

  1. ฉันทะ คือความพอใจ หมายถึงมีความพอใจหรือต้องการที่จะกระทำสิ่งนั้น เช่นต้องการที่จะเป็นแพทย์ ต้องการเป็นวิศวกร เป้็นต้น ซึ่งความพอใจจะทำให้ทราบว่าเป้าหมายคือสิ่งใด
  2. วิริยะ คือความเพียร หมายถึง การลงมือกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมาย ซึ่งต้องทำด้วยความกระตืรือร้น มุ่งมั่น อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก หรือยอมแพ้ก่อนประสบความสำเร็จ
  3. จิตตะ คือความเอาใจฝักใฝ่ หมายถึง มีจิตใจแน่วแน่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนกำลังทำ ไม่วอกแวกลังเล เถลไถลจนงานเสีย แต่ก็ไม่ควรเคร่งเครียดจนเกินไป เพราะจะทำให้ฟุ้งซ่าน ควรเดินทางสายกลาง
  4. วิมังสา คือ หมั่นตริตรองอยู่เสมอ หมายถึง การพิจารณาวางแผนสิ่งที่ทำให้ถี่ถ้วน รอบคอบ รู้ว่าสิ่งใดควรทำก่อน ทำหลัง ควรแก้ปัญหาอย่างไร และเผื่อเวลาไว้รองรับความเสี่ยงต่างๆ

  1. อดทน การรักษตนให้มีความอดทน หรือมีความหนักแน่นทั้งกาย วาจา ใจ มิให้ไหวเอนไปตามสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งยั่วยุต่างๆ จะช่วยให้เป้าหมายที่วางไว้สำเร็จได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งแนวทางในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีความอดทน สามารถทำได้ดังนี้

    1. ยึดหลักขันติธรรม ประกอบด้วยความอดทน 3 ประการ คือ
      1. อดทนต่อความยากลำบาก
      2. อดทนต่อความตรากตรำ
      3. อดทนต่อความเจ็บปวด
    2. กำจัดความอยาก โดยยึดทางสายกลางตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงิคือ พอประมาณ ไม่โลภ ไม่ฟุ่มเฟือย มีเหตุผล ควบคุมกาย วาจา ใจ ให้พอดี ไม่สุดโต่ง
    3. ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจ รู้จักข่มความโกรธ ใช้เหตุผลและปัญญาในการแก้ไขปัญหา

24r.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos