วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

"การตั้งค่า" ตอนที่ 5 : การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ"

"การตั้งค่า" ตอนที่ 5 : การจัดการข้อมูล "เก็บเข้าคลังบทความ"

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ใกล้จบแล้วนะครับ สำหรับบทความของ "การตั้งค่า" ตอนนี้เรามาพบกับส่วนการจัดการ "เก็บเข้าคลังบทความ" กันครับ ตอนนี้ไม่ยาวครับ แป๊บเดียวจบครับ
.
.
เห็นไหมครับมีนิดเดียวเองครับ แค่ 2 หัวข้อเองครับ
  • ความถี่ของการเก็บเข้าคลังบทความ : เป็นการบันทึกจำนวนของบทความเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือนครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างการใช้งานในส่วนนี้ ในส่วนการแก้ไขในหน้า "รูปแบบ" นะครับ
  • เปิดใช้หน้าบทความหรือไม่ : ในส่วนนี้ให้ใส่ "ใช่" ไปเลยนะครับ เพราะจะสัมพันธ์กับการแสดงบทความ เมื่อมีคนคลิ๊กเพื่อดูบทความเป็นตามความถี่ ที่เรากำหนดไว้ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
.

ผมนำภาพตัวอย่างให้เห็นการเลือกความถี่นะครับ
.
.

คราวนี้ลองดูอีกวิธี ที่เหมือนกับส่วนการจัดการของการ "เก็บเข้าคลังบทความ" (อย่างที่ผมเคยบอกว่า ระบบการสร้างบล็อกของ Blogger นั้น มีข้อเด่นหลายข้อ หนึ่งในนั้นคือ ในเรื่องการจัดการเดียวกัน สามารถทำได้หลายวิธีครับ) เพื่อนๆ ก็ไปที่หน้า "รูปแบบ"
.
.

ถ้าตรวจสอบง่ายๆ ว่าส่วน "เก็บเข้าคลังบทความ" นั้น ได้ถูกใช้งานในบล็อกแล้วหรือยัง ให้ไปที่การ "เพิ่ม Gadget" หรือ "เพิ่มองค์ประกอบใหม่" เลื่อนไปดูที่แบนเนอร์ "คลังบทความของบล็อก" แล้วสังเกตที่มุมบนขวามือ ถ้าเห็นว่า "เพิ่มแล้ว" แสดงว่าส่วนนี้ถูกใช้งานในบล็อกแล้ว
.
.


ก็ให้กลับไปดูที่หน้า "รูปแบบ" จะเห็นส่วน "คลังบทความของบล็อก" (หรือเพื่อนๆ อาจมาดูที่หน้านี้ได้เลย ไม่ต้องไปดูแบนเนอร์ที่การ "เพิ่ม Gadget" ก็ได้ครับ) ให้กดที่เมนู "แก้ไข" ตามลูกศรที่ชี้นะครับ
.
.



จะเห็นหน้าต่าง "ตั้งค่าคลังข้อมูลบล็อก" โดยดูที่สไตล์ จะเห็นว่ามีให้เลือก 3 แบบ คือ 1. ลำดับชั้น เมื่อคลิ๊กในช่องวงกลมจะเห็นตามตัวอย่างข้างบนนะครับ
.
.
ถ้าคลิ๊กหน้าข้อ 2. รายการแบบเรียบ จะเห็นตามภาพข้างบนในพื้นที่สีขาว เรียบจริงๆ ครับ แต่ทั้งแบบที่ 1 และ 2 นั้น ผมจะไม่ใช้งานเลย เพราะว่าบล็อกของผมโดยปกติ แถบด้านข้าง (Side Bar) จะยาวอยู่แล้ว ผมจึงเลือกแบบที่ 3 มากกว่าครับ
.
.
เพราะว่าแบบที่ 3. เมนูแบบเลื่อนลง นั้นจะเป็นแค่ช่องแถบเดียว เหมือนตัวอย่างที่เห็นในพื้นที่สีขาวนะครับ

ผมนำตัวอย่างมาให้ดู ว่าถ้าเราติ๊กที่ลูกศรชี้ลง (หรือเรียกว่า drop down list) ก็จะเห็นเป็นรายเดือน
.
.
และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่เวลาผมใช้งานในบล็อกของผมครับ จะเห็นว่าที่หัวข้อ "คลังบทความของบล็อก" นั้นจะสั้นๆ มีแค่แถวเดียวนะครับ ผมจึงชอบใช้งานในลักษณะนี้มากครับ อีกเรื่องนะครับ พื่อนๆ อย่าลืมนะครับ เวลาที่เรามีการแก้ไขข้อมูลอะไรก็ตาม ก็ควรจะกดเมนูสีส้ม "บันทึก" ด้วยทุกครั้งนะครับ ตอนหน้าพบกับ "การตั้งค่า" ส่วน "ฟีดของไซต์", "อีเมล์" และ "OpenID" รวดเดียว 3 เรื่อง กันเลยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos