วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 11 ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน


ใบความรู้ที่ 11  
ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

ความหมายของสิทธิมนุษยชน
   สิทธิมนุษยชน  หมายถึง  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาพของบุคคลที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย ตามสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
   จากความหมายของสิทธิมนุษยชนดังกล่าวมานั้น องค์การสหประชาชาติได้ประกาศปริญญาสากล่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 1  ธันวาคม  พ.ศ. 2491 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เกิดผลอย่างจริงจังตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และเพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับประเทศสมาชิกที่จะไปใช้ในแนวทางปฏิบัติในประเทศของตนต่อไปนี้ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสิทธิมนุษยชนได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยสิทธิมนุษยชนจะไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และอื่น
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลด้วยสิทธิ์มนุษยชน
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลด้วยสิทธิ์มนุษยชน จำแนกออกเป็น 3 ประเภท  คือ
1. สิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประชาชนที่สามารถแสดงออกได้เป็นเสรี เช่น การปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน สิทธิในการแสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่างๆ ของประชาชน เช่น สิทธิในการใช้สิทธิเลือกตั้งตัวแทนในระดับต่างๆ หรือการชุมชนโดยปราศจากอาวุธ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นต้น
2. สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนตามหลักสิทธิมนุษยชนประชาชนมีสิทธิในการประกอบอาชีพที่ตนเองต้องการและไม่ผิดหลักกฎหมายหรือการเลือกผลิตและบริโภคสินค้าได้อย่างอิสระ รวมถึงการได้รับการคุ้มครองจากการบริโภคสินค้าโดยรัฐบาล เป็นต้น
3. สิทธิด้านสังคมวัฒนธรรม  เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตโดยทั่วไปของประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเชื่อ จารีตประเพณีต่าง ๆ ของประชาชนตามหลักสิทธิมนุษยชน ประชาชนสามารถที่จะเลือกศาสนาหรือความเชื่อใดได้อย่างอิสระและสามารถประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อนั้นได้รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการศึกษาจากภาครัฐ เป็นต้น

วิชาหน้าที่พลเมือง ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos