วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สอนอะไรให้ไทยทันโลก

รูป สอนอะไรให้ไทยทันโลก


สอนอะไรให้ไทยทันโลก
เขาว่ากันว่า ในอีกไม่กี่สิบปี อาชีพบางประเภท เช่น นักบัญชีและเซลส์ขายบ้าน จะหายไปจากโลก เพราะว่าวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่จะเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ หลายประเทศเริ่มรู้สึกตัวและพยายามเตรียมประชากรรุ่นลูกหลานให้เติบโตขึ้นมาพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้โดยการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาให้แฝงเอา 21st century skills เข้าไปในหลักสูตรใหม่ๆ ด้วย
บทความนี้จะไม่กล่าวถึงวิชาเพิ่มเติมที่โรงเรียนควรจะสอนเพื่อที่จะเตรียมเด็กรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือรับมือกับศตวรรษที่ 21 แต่จะเสนอให้ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ครู หรือผู้ใหญ่รอบๆ ตัวเด็กๆ ให้คำนึงถึงการสอนสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ห้าสิ่งต่อไปนี้ที่น่าจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่ออนาคตของเด็กมากเสียยิ่งกว่าสิ่งที่วิชาย่อยๆ แต่ละวิชานั้นให้แก่เด็กได้อีกด้วยซ้ำ


1. สอนให้ใฝ่รู้
ในโลกข้างหน้านั้นมีโอกาสสูงที่ระบบเศรษฐกิจจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วถึงขั้นที่ว่าบางสิ่งบางอย่างที่เราเคยเรียน เคยฝึก เคยท่อง เคยจำเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนจะหมดความสำคัญไปโดยสิ้นเชิง วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดโลกสามารถทำให้ทักษะ (skills) หรืองาน (jobs) บางประเภทสูญพันธุ์ไปได้ดื้อๆ

               
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เทคโนโลยีในด้านการศึกษาออนไลน์ กับเทคโนโลยีในตลาดแท็กซี่ ครูจำนวนมากจะตกงานเมื่อตลาดการเรียนออนไลน์โตพอและสามารถพิสูจน์ตัวเองให้กับบริษัทและผู้ประกอบการได้ว่าการเรียนออนไลน์นั้นสามารถผลิตและคัดพนักงานเก่งๆ ออกมาได้ดีกว่าโรงเรียนตัวเป็นๆ ส่วนในกรณีของตลาดแท็กซี่นั้นคงไม่ต้องรอให้ถึง “ยุครถขับเองได้” แค่บริษัทอูเบอร์ (Uber) เปิดเกมรุกโดยการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคในการใช้มือถือหารถไปรับไปส่งที่บริการดี วาจาสุภาพ และตรงต่อเวลา ก็ทำเอาเหล่าคนขับแท็กซี่และคนขับรถทั้งหลายผวาไปตามๆ กันแล้ว แต่ว่าจะให้ฟันธงว่าอะไรคือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนโลกในอีกยี่สิบปีข้างหน้าและอะไรที่จะกระทบคนไทยโดยตรงมากที่สุดนั้นคงทำได้ลำบาก เพราะว่าหากเรานึกดูว่าเมื่อยี่สิบปีที่แล้วโลกเราอยู่ตรงไหนคงใจหาย เมื่อยี่สิบปีที่แล้วยังไม่มีกูเกิล บนโลกนี้และไม่มีใครใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยได้ด้วยซ้ำ

               เพราะฉะนั้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนเหล่านี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคงจะเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง สอนให้เด็กมีไฟในแววตาที่จะไม่มอดแม้เวลาจะผ่านไปอีกยี่สิบสามสิบปี แม้ว่าโลกจะหมุนไปถึงไหนแล้ว เด็กๆ จะได้โตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถเอาตัวรอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไวได้โดยการหมั่นพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องมีครูมานั่งจ้ำจี้จ้ำไช ไม่ต้องมีข้อสอบปลายภาคก็ยังอยากค้นหาความรู้อยากฝึกฝนทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ หากเราทำเช่นนี้ได้ ไม่ว่าสิ่งที่สอนไปตอนเด็กจะล้าสมัยหรือแม้กระทั่งว่าถูกพิสูจน์ในภายหลังว่าผิดเลยก็ตาม เด็กไทยก็จะยังมีโอกาสอยู่รอดและประเทศไทยก็จะไม่ต้องคอยเดินตามเขาอยู่ลูกเดียวแน่นอน

               ผู้เขียนคิดว่าสิ่งนี้ทำได้แน่นอนถ้าตั้งใจจะทำจริงๆ เพราะว่าเราทุกคนเคยมีความใฝ่รู้อันมหาศาลติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้ว ตั้งแต่เล็กคนเราส่วนมากเป็นคนขี้สงสัย อยากรู้อยากเห็น ถามนู่นถามนี่ อยากเอานิ้วไปแยงโน่นแยงนี่ ไฟในแววตามันจะมอดก็เพราะว่าเราโตขึ้นมาในสังคมที่ทำให้การเรียนรู้ไม่สนุกอีกต่อไปเป็นสังคมที่ให้ผลตอบแทนกับการท่องหนังสือเป็นพันๆ หน้า อยากเรียนเคมีก็ต้องจำตารางธาตุให้ได้ก่อน อยากเรียนฟิสิกส์ก็ต้องจำสูตร ทั้งๆ ที่ชีวิตจริงไม่มีใครต้องจำอะไรมากขนาดนั้น อยากอ่านหนังสือหาความรู้ก็ไปซื้อมาอ่าน อ่านจบแล้วสิ่งที่จำได้ปกติก็คือโครงเรื่องและข้อคิดต่อชีวิตจริง ไม่เห็นต้องจำรายละเอียดทุกรายละเอียด เรื่องนี้โทษใครไม่ได้ ก็คงต้องโทษตัวเองที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่คอยระดมกันช่วยกันดับไฟธรรมชาติในแววตาของเด็กๆ

2. สอนให้เรียน
“สอนให้เรียน” ฟังดูเหมือนเล่นคำ เพราะจริงๆ แล้วครูมีหน้าที่สอนนักเรียนไม่ใช่หรือ แต่ทว่า “สอนให้เรียน” นั้นเป็นสามคำที่ละเอียดอ่อนและน่าค้นหากว่าที่เราคิดยิ่งนัก เพราะว่าเวลาการสอนเกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นไม่ได้แปลว่าการเรียนจะต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอไป คนเรามีวิธีเรียนที่ต่างกัน บางคนต้องการให้มีครูสอนตัวต่อตัว แต่บางคนไม่จำเป็นต้องฟังครูก็ยังเรียนได้ ขอแค่มีหนังสือดีๆ มีอินเทอร์เน็ตไวๆ และมีที่สงบๆ ให้เรียน แม้กระทั่งเมื่อเด็กเหล่านี้เข้าสู่วัยทำงาน คนที่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วและมีประสิทธิภาพกว่าก็ยังจะเป็นคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่นมาก

“สอนให้เรียน” จึงแปลว่าสอนอย่างไรให้คนเราค้นพบวิธีเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ากับตัวเองที่สุด จะอ่านอย่างไรให้ไวและได้ใจความ จะทำการบ้านตอนเช้าหรือตอนเย็น จะแบ่งเวลาพักกับเวลาทำงานอย่างไร น่าเสียดายที่ขณะนี้ดูเหมือนว่าทักษะเหล่านี้จะยังไม่มีโรงเรียนไหนสอนเลย ส่วนมากทักษะการเรียนเหล่านี้มักจะเป็นผลพลอยได้จากสภาวะแวดล้อมในโรงเรียน เรามักจะปล่อยให้ทักษะเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาเองแบบเป็นไปตามธรรมชาติ แต่สภาวะแวดล้อมในโรงเรียนแบบไหนที่จะทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะพวกนี้ขึ้นมาได้ง่ายกว่า ผู้เขียนสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่ค่อนข้างแข่งขันสูงและมีกิจกรรมให้เด็กทำจนตารางเวลาแทบไม่ว่างจะได้ทำให้เด็กค้นหาวิธีเรียนให้มีประสิทธิภาพที่สุดในเวลาที่จำกัด พูดง่ายๆ ก็คือสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้เด็กๆ “ทำน้อยให้ได้มาก” นั่นเอง

3. สอนว่า “คิด” ≠ “รู้”
ข้อแตกต่างข้อนี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักปรัชญาและนักรัฐศาสตร์ ในมุมมองของผู้เขียน รู้คือรู้ในสิ่งที่รู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น รู้ว่าประเทศไทยมีดินแดนกว้างเท่าไร รู้ว่าขับรถยังไง ไปบ้านเพื่อนยังไง รู้ว่าหากเพิ่มความร้อนให้กับน้ำมากและนานพอน้ำจะเดือด แต่ในทางกลับกัน การคิดคือการก้าวไปให้ไกลกว่าพรมแดนและข้อจำกัดของความรู้ เป็นการคิดถึงเป้าหมายของความรู้และเป็นการเข้าไปสู่บางสิ่งที่จะรู้ยังไงก็รู้ไม่ได้ด้วยซ้ำ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือเราคิดกันจริงๆ จังๆ น้อยเหลือเกินในโลกสมัยนี้เพราะเราไม่จำเป็นต้องคิดก็รู้ได้ ในวันหนึ่งจะมีกี่นาทีเชียวที่เราหยุดทำอย่างอื่นแล้ว “คิด” อย่างจริงๆ จังๆ สมัยนี้ไม่รู้อะไรก็ต์ขึ้นมาได้ภายในห้าวินาที จะเสียเวลานั่งคิดไปทำไม

             ผู้เขียนเห็นว่าความคิดสำคัญไม่แพ้ความรู้เพราะว่าการไร้ซึ่งความคิดนั้นมีอันตรายแอบแฝงอยู่ แนวคิดนี้เป็นหนึ่งในแนวคิดของ Hannah Arendt (ฮานนาห์ อาเร็นดต์) นักปรัชญาและนักทฤษฎีการเมืองชาวเยอรมัน เธอคิดว่าการไร้ซึ่งความคิดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเยอรมันจำนวนไม่น้อยที่มีจิตปกติกลับฟังและทำตามคำสั่งเพื่อฆ่าชาวยิวอย่างโหดเหี้ยมและชินชา แม้ว่าบ้านเมืองเราจะไม่อยู่ในสถานะเป็นตายแบบในสมัยสงครามโลก แต่การมีความคิดนั้นก็ยังมีสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตเพื่อให้ไม่เราโดนเอาเปรียบหรือไม่หลงทำอะไรผิดๆ ไป

            หากเรารู้แต่ไม่คิด เราอาจตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อให้เลือกอะไรที่ไม่ได้ดีต่อเราจริงหรืออะไรที่เราไม่ได้ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยนี้ที่บริษัทต่างๆ แข่งขันกันมากถึงขั้นต้องแข่งกัน “ป้อน” ความคิดแบบเนียนๆ ให้กับผู้บริโภค ว่าใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามนี้แล้วจะสวยเหมือนดารา ดื่มน้ำนี้แล้วจะมีออร่าดุจดั่งพระเอกละคร ตัวอย่างในด้านสังคมและการเมือง เช่น การตัดสินใจเลือกผู้นำประเทศก็คล้ายกับตัวอย่างข้างต้นอย่างน่าตกใจ เพียงแค่ว่าผลิตภัณฑ์ชนิดการเมืองการปกครองนั้นมีราคาแฝงที่แพงและกระทบผู้คนมากมากว่าการซื้อแชมพูหรือเครื่องดื่มแก้กระหายเท่านั้นเอง

            อีกจุดหนึ่งที่ต้องย้ำคือการเข้าใจว่าการไร้ซึ่งความคิดนั้นไม่ได้แปลว่าโง่เขลาหรือด้อยความรู้ เพราะว่าคนฉลาดก็ยังไร้ซึ่งความคิดได้ เพราะฉะนั้น สังคมไม่ควรมีแค่เป้าหมายที่จะผลิตคนรุ่นใหม่ที่ฉลาดรอบรู้แต่อย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงการปลูกฝังนิสัยช่างคิดเอาไว้ด้วย เพราะนั่นจะเป็นของขวัญชิ้นที่มีค่าที่สุดที่ใครที่ไหนก็เอาไปจากพวกเขาไม่ได้

              สิ่งที่โรงเรียนทำได้ในข้อนี้คงจะเป็นการส่งเสริมนิสัยช่างคิดกับการประเมินผลการเรียนที่อิงการใช้ความคิดมากกว่าการใช้ความรู้ ข้อสอบแบบปรนัยในประเทศไทยมักจะเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาหลักในคดีทำให้เด็กไม่ได้คิด ในกรณีที่คำถามมีคำตอบชัดเจนนั้น ผู้เขียนคิดว่าข้อสอบแบบปรนัยไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไปและสามารถออกข้อสอบปรนัยให้เกิดกระบวน การคิดจริงๆ ก็ทำได้หากผู้ออกข้อสอบตั้งใจสร้างโครงสร้างคำถามให้ดีพอ ไม่ใช่ออกข้อสอบปรนัยที่ “ยาก” แต่เหมือนกับว่าเป้าหมายหลักคือจะคัดเด็กออกไปแข่งรายการแฟนพันธุ์แท้แต่ในกรณีที่คำตอบที่ถูกต้องนั้นยังไม่มีแน่นอนยิ่งไม่ควรทำข้อสอบแบบปรนัย ควรจะเป็นคำถามแบบข้อเขียน เรียงความหรือควรจะประเมินความเห็นที่นักเรียนแสดงออกมาในระหว่างคาบเรียนเสียมากกว่า

4. สอนให้เถียงและออกความเห็น (แบบศิวิไลซ์)
“สอนให้เถียง” นั้นไม่ได้หมายความว่าให้สอนให้เด็ก ไร้กาลเทศะหรือสอนให้พูดจาย้อนผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่มีโอกาส แต่เป็นการสอนพื้นฐานของทักษะที่มีความจำเป็นเหลือเกินต่อการดำรงชีวิตให้มีสุข การทำงานให้ประสบความสําเร็จ และการทำหน้าที่เป็นประชากรคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย หากเราลองนึกดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในสมองเราเวลาเราเถียงและเจรจาอย่างมีเหตุผล มันมีทั้งการฟัง การประเมินสถานการณ์ การคิด และการพูดอย่างมีชั้นเชิง เพื่อที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ สิ่งเหล่านี้ดูไร้ประโยชน์สิ้นดีในห้องสอบแต่กลับจะมามีประโยชน์เหลือเกินเมื่อคนเราโตขึ้นและจะต้องเริ่มบริหารความสัมพันธ์กับคนรอบตัว เช่น คนรัก เพื่อน หรือนายจ้าง

            นอกจากนั้น ทักษะและนิสัยในการชอบเถียงอย่างมีเหตุผลนั้นยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย มันเป็นเหมือนเป็นทักษะในการควบคุมฟืนไฟในการผลักดันสังคมให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีเหตุมีผลโดยที่ไม่ทำให้เราทะเลาะกันเองด้วยอารมณ์จนมอดไหม้ด้วยฟืนไฟนั้นไปซะก่อน ประโยชน์ของการสอนให้เถียงและออกความเห็นอย่างมีเหตุผลนั้นจะมาจาก 2 ทางหลักๆ
- ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีอิสระมากขึ้น
- การเพิ่มประสิทธิภาพของครูทางอ้อม


            หากเด็กไทยจะโต้แย้งด้วยเหตุผลสู้ชาติอื่นไม่ได้ก็คงจะมาจากการที่ไม่เคยเถียงได้จริงๆ ด้วยซ้ำในห้องเรียน แม้ว่าจะเคยมีการผลักดันแนวคิดแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การโต้แย้งว่าอาจารย์พูดผิด ไม่เชื่อในสิ่งที่อาจารย์สอน หรือแสดงความคิดเห็นที่อาจจะต่างกับสิ่งที่ครูสอนนั้นในบ้านเราโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นการเสียมารยาทและไม่รู้จักกาลเทศะ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ควรเป็นเช่นนั้นทุกกรณีไป เพราะว่าการเป็นผู้ช่างสงสัย (skeptic) ในห้องเรียนนั้นทำให้การเข้าใจคอนเซ็ปต์ยากๆ เช่น ทฤษฎีบทต่างๆ ในสาขาคณิตศาสตร์กระจ่างขึ้นมาก คือเริ่มจากความไม่เชื่อก่อนแล้วค่อยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างช้าๆ จนกระทั่งเข้าใจจริงๆ ว่าทำไมสิ่งที่เรียนอยู่ถึง “จริง” แล้วค่อยเชื่อในความรู้ชิ้นนั้น ไม่ใช่ยอมอ้าปากรับความรู้เอาดื้อๆ

              ยิ่งไปกว่านั้น จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนคุยกับเพื่อนๆ หลังเลิกเรียนพบว่าจริงๆ แล้วไม่มีครูคนไหนที่สอนได้สมบูรณ์แบบจากการพูดหน้าชั้นแค่รอบเดียว มันต้องมีนักเรียนบางคนหรือหลายคนเลยที่ฟังอะไรบางอย่างแล้วไม่เข้าใจ การที่เราไม่เปิดโอกาสให้เด็กเถียงหรือออกความเห็นอย่างมีอิสระตั้งแต่เด็กจะทำให้พวกเขาโตขึ้นมาชินชากับความเชื่องของพวกเขาแล้วเขาก็จะเลิกยกมือเลิกสงสัยในที่สุด 

              เพราะฉะนั้น เราควรตัดสินใจว่าจะแยกแยะ “มารยาททางสังคม” กับ “การเรียนรู้” ออกจากกันอย่างไรดี ถึงจะทำให้การเรียนรู้ที่ให้อิสระและอำนาจกับนักเรียนนั้นเข้ากับวัฒนธรรมไทยเดิมที่อยู่กับเรามานาน

              ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างกับวัฒนธรรมในห้องเรียนอเมริกันโดยสิ้นเชิง นักเรียนอเมริกันส่วนมากไม่ได้ให้เกียรติอาจารย์เพราะตำแหน่งหรือความอาวุโส อีกทั้งอาชีพอาจารย์ในสังคมคนอเมริกันรุ่นใหม่ยังถือว่า “ไม่เจ๋งเลย” ด้วยซ้ำไป แต่พวกเขาให้เกียรติอาจารย์เพราะอาจารย์พิสูจน์ตัวเองได้หน้าชั้นเรียนว่าเป็นผู้มีความรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมควรแก่ความเคารพนับถือ การพิสูจน์ตัวเองนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ในห้องเรียนอนุบาล ไม่ใช่เพิ่งจะเริ่มที่ระดับมหาวิทยาลัย เหตุผลหนึ่งคือเพราะว่าในโรงเรียนส่วนมากที่อเมริกาครูใช้แรง ใช้การขู่ หรือใช้การตวาด เพื่อให้เด็ก “เชื่อฟัง” ไม่ได้ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อชนะใจเด็กๆ ด้วยความเป็นครู

              ผู้เขียนคิดว่าอาจารย์ในอุดมคติก็น่าจะต้องการให้ความเคารพของเด็กๆ มาจากฝีมือของตน ไม่ใช่มาจากตำแหน่งหรือความอวุโส หากเป็นเช่นนี้ได้ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่มีอะไรมาขัดขวางความคิดใหม่ๆ ที่น่าถกเถียงต่อยอดขึ้นไปอีกได้ นี่สิคือการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

5. สอนให้เขียน
จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการศึกษาในเมืองไทยและต่างประเทศ ผู้เขียนคิดว่าหลักสูตรไทยควรเน้นให้เด็กๆ เขียนบ่อยกว่านี้มาก ยังจำได้แม่นว่าสมัยยังเป็นนักเรียนประถมและมัธยมได้มีโอกาสเขียนอะไรยาวๆ จริงๆ จังๆ (ไม่นับข้อสอบข้อเขียนสั้นๆ) แค่เฉลี่ยปีละสามครั้งคือ วันพ่อ วันแม่ และวันสุนทรภู่ (แต่งกลอนแข่ง) เวลาที่เหลือเอาไปเน้นติวเลขกับวิทยาศาสตร์หรือเอาไปเรียนพิเศษ ในขณะที่เด็กๆ รุ่นราวคราวเดียวกันในประเทศอื่นหลายประเทศเขามีโอกาสเขียนวิเคราะห์อะไรที่ลึกๆ ยากๆ มากมายตั้งแต่เล็ก หัวข้อเรียงความก็จะไม่ใช่แค่การอ่านนิยายแล้วเขียนว่าอะไรเกิดขึ้น ใครไปที่ไหน ใครพูดว่าอะไร อย่างนั้นแค่อ่านหนังสือเป็น เขียน ก ไก่ ข ไข่เป็นก็ทำได้ ไม่นับว่าเขียนได้ แต่จะต้องเป็นการวิเคราะห์อะไรที่ลึกซึ่งกว่านั้นมากและเป็นโอกาสให้เด็กรู้จักใส่ความคิดของตัวเองลงไปด้วย ไม่ใช่แค่การอ่านจับใจความ

สามก๊กตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊านั้นเป็นหนึ่งในนิทานร้อยแก้วที่ผมชอบมากที่สุด แต่ไม่เคยเข้าใจว่าทำไมข้อสอบมักถามเราอย่างกับเราเป็นหุ่นยนต์ เหมือนกับว่าทุกอย่างมีคำตอบที่แท้จริงหมด ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องถามว่าเล่าปี่ เตียวหุย กวนอู ยกทัพไล่หรือยกทัพหนีกี่ครั้ง หรือให้เรายกตัวอย่างว่าจูล่งแสดงฝีมือรบที่ดีตอนไหนบ้างในเรื่อง หรือถามว่าอาเต๊าเป็นบุตรของใคร จริงอยู่สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องแต่มันเป็นแค่องค์ประกอบ โจทย์ที่ท้าทายกว่าน่าจะเป็นการให้เด็กเขียนเรียงความหาหลักฐานที่แฝงอยู่ในสามก๊กตอนอื่นมาเถียงว่าเพราะเหตุใดจูล่งจึงยอมลำบากเสี่ยงตายไปรับอาเต๊าให้เล่าปี่แล้วค่อยให้คะแนนนักเรียนตรงความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐานและการเขียนเพื่อโน้มน้าวความเห็นของผู้อ่าน

บางทีการกระทำของตัวละครในบทละครหรือนิยายนั้นไม่สามารถตอบได้ด้วยการวงปรนัยหรือการเขียนแค่สามสี่ประโยค การที่นางบิฮูหยิน (ภรรยารองของเล่าปี่) ยอมโดดน้ำตายเมื่อเห็นจูล่งวิ่งมาหรือการที่เล่าปี่ทำเป็นโกรธและทิ้งอาเต๊าลงตอนที่จูล่งเอาบุตรตนเองมาส่งนั้นเป็นการกระทำที่ซับซ้อนมากและไม่ควรฟันธงว่านิสัยของบิฮูหยินกับเล่าปี่เป็นอย่างไรจากแค่การกระทำเดียว ใครเคยอ่านสามก๊กจบจะทราบว่าเล่าปี่เป็นตัวละครที่ซับซ้อนและไม่ได้สมบูรณ์แบบ การถามว่า “นาย ก. ทำอย่างนี้แปลว่านาย ก. เป็นคนอย่างไร” จะกลายเป็นการยัดเยียดข้อมูลและความคิดเห็นของผู้สอนหรือผู้สร้างหลักสูตรให้กับนักเรียน กลายเป็นการบังคับให้เชื่อมการกระทำดังกล่าวกับนิสัยบางอย่างโดยที่ไม่ได้เกิดกระบวนการคิดเลยสักนิดเดียวว่าคำตอบนั้นมันเหมาะสมแค่ไหน

การเพิ่มโอกาสให้นักเรียนเขียนมากขึ้นนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการบังคับให้นักเรียนท่องจำแล้วฝนปรนัย ไหนจะต้องมาฝึกครูให้สอนวิธีเขียน ต้องเจียดเวลาคาบภาษาไทยมาสอนวิธีเขียนให้นักเรียน และยังต้องเสียเวลาตรวจเรียงความเป็นร้อยๆ เรื่องต่อปี ในมุมมองเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นการสอนภาษาไทยแบบดั้งเดิมทำได้ไม่เลวเลยในการทำให้นักเรียนทั่วประเทศอ่านออกเขียนได้และจับใจความจากการอ่านได้ด้วยงบประมาณที่จำกัด แต่ทักษะพื้นฐานเหล่านี้ไม่พอแล้วในโลกสมัยนี้ที่การแข่งขันสูง



             ท้ายสุดนี้ผู้เขียนคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่เราควรจะเพิ่มความคาดหวังในตัวเด็กไทย ให้พวกเขาไปได้ไกลกว่าการท่องจำ การแห่ไปเรียนพิเศษแถวสยาม และการพ่นความรู้ออกมาได้มากที่สุดในข้อสอบปลายภาค ผู้เขียนเชื่อว่ามีผู้สอนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจทำทั้งห้าอย่างในบทความนี้ทุกวันอยู่แล้ว ขอให้พวกท่านจงทำต่อไปเพราะผู้เขียนเชื่อว่าห้าอย่างนี้ยังจะคงความสำคัญไว้ไม่ว่าโลกนี้จะพัฒนาไปถึงไหนต่อไหนแล้วก็ตาม


 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์
Rewrite จาก ธารา อิสสระ  (พี่แฮนด์)

เรียบเรียงโดย : พี่นุ๊ก eduzones

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คำอธิบายรายวิชา


คำอธิบายรายวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ส๒๑๒๐๑ หน้าที่พลเมือง 1 ๒๐ ชั่วโมง / ภาค ๐.๕  หน่วยกิต


  • มีส่วนร่วมอนุรักษ์มารยาทไทยในการแสดงความเคารพ การสนทนาการแต่งกาย การมีสัมมาคารวะแสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ประยุกต์และเผยแพร่พระบรมราโชวาท ในเรื่องมีเหตุผล รอบคอบ หลักการทรงงาน ในเรื่องการใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติการปลูกป่าในใจคน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแก้ปัญหากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการสร้างค่านิยม และกระบวนการสร้างเจตคติ เพื่อให้ผู้เรียนมีลักษณะที่ดีของคนไทย ภาคภูมิใจในความเป็นไทย แสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีวินัยในตนเอง

ผลการเรียนรู้


  • 1. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทไทย
  • 2. แสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละต่อสังคม
  • 3.เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
  • 4. เป็นแบบอย่างของความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
  • 5. ประยุกต์และเผยแพร่พระบรมราโชวาท หลักการทรงงานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • ๖. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง


    • รวมทั้งหมด ๖ ผลการเรียนรู้


คำอธิบายรายวิชา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ส๒๑๒๐๒ หน้าที่พลเมือง ๒ ๒๐ ชั่วโมง / ภาค ๐.๕ หน่วยกิต


  • ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน ตรวจสอบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตอดทน ขยันหมั่นเพียร ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ยอมรับความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ในเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา สิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยการเคารพซึ่งกันและกัน ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปัน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ในเรื่องการทะเลาะวิวาท ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย การเจรจาต่อรอง การระงับความขัดแย้ง ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง โดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการสร้างความตระหนัก กระบวนการสร้างค่านิยม และกระบวนการสร้างเจตคติ เพื่อให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติ จัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และมีวินัยในตนเอง

ผลการเรียนรู้


  • ๑. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
  • ๒. มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจตรวจสอบข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ
  • ๓.ยอมรับความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ร่วมกัน
  • อย่างสันติ และพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  • ๔. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี
  • ๕. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
    • รวมทั้งหมด ๕ ผลการเรียนรู้


คำอธิบายรายวิชา

นวัตกรรม Blog ม.3/2 ปี 2560

วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0


รูป โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0

โรงเรียน ครู อยู่อย่างไรในยุค 4.0

  • หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบาย“ไทยแลนด์4.0” โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ใช้นวัตกรรมทางเศรษฐกิจสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูง.
..ซึ่งการที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทักษะ ความรู้ ความสามารถตรงกับนโยบายดังกล่าวได้นั้น ระบบการศึกษาไทยต้องก้าวสู่“การศึกษา4.0” เช่นเดียวกัน ว่าแต่การศึกษา4.0นั้นเป็นเช่นใด? แล้วโรงเรียน ครู ควรเป็นอยู่อย่างไรในยุค4.0?
                ... แวดวงการศึกษาได้มีการกล่าวถึง ยุค4.0ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร4.0,ห้องเรียน4.0, ครูไทย4.0,โรงเรียน4.0 และมหาวิทยาลัย4.0 เป็นต้น โดยจะอธิบายไปในทิศทางเดียวกันในการพัฒนา สร้างเด็กและเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีทักษะของการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักแยกแยะข้อมูล มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียน นักศึกษา นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกที่ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของประเทศ
                ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อาจารย์อาวุโส วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มต้นอธิบาย การศึกษา4.0 ว่าการพัฒนาการของการศึกษาที่ไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความได้แต่เป็นการศึกษาที่แท้จริงต้องทำให้ผู้เรียนสร้างผลผลิตหรือนวัตกรรมใหม่ออกมาได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ติดตัวนักเรียน นักศึกษาไปตลอดชีวิต สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน และจะช่วยแก้ปัญหาบริโภคนิยมที่เกาะกินสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
                การศึกษา4.0เป็นความหวังของประเทศไทยที่จะก้าวให้พ้นกับดักต่างๆ ที่มีมาอย่างยาวนาน เส้นทางการศึกษา4.0เพิ่งเริ่มต้นขึ้นและหนทางยังอีกยาวไกลนัก ในฐานะนักการศึกษา ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่าการศึกษา 4.0 เกิดขึ้นได้ต้องมีการพัฒนาระบบการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียน ครู ต้องเป็นการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียนต่อสังคมในทางสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนต้องประกอบไปด้วยแนวคิด CCPR Model เพื่อสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
                1.Critical คิดวิเคราะห์ มองสังคมให้รอบด้าน รู้ที่มาที่ไป เข้าใจเหตุและผล
                2.Creative คิดสร้างสรรค์ เด็กต้องคิดต่อยอดจากที่มีอยู่ ประยุกต์และใช้ประโยชน์ มองประเด็นใหม่ๆ
                3.Productive คิดผลิตภาพ คำนึงถึงผลผลิต มีวิธีการและคุณภาพ ค่าของผลงาน และ
                4.Responsible คิดรับผิดชอบ นึกถึงสังคม ประเทศชาติ มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม

  • “การศึกษา4.0โรงเรียนครู ต้องทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลผลิตขึ้นมาได้ ถึงแม้ผลผลิตจะไม่ใหม่เอี่ยม เป็นนวัตกรรมอย่างจริงจัง แต่เวลาที่ยาวนานผู้เรียนจะสร้างผลผลิตที่ใหม่ ทันสมัยได้เอง และเขาจะสามารถพัฒนาทักษะและวิญญาณการคิดค้นแสวงหาและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงผลงานต่างๆ 
  • ต้องเข้าใจว่าการศึกษา 4.0 ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต จริงอยู่ที่ 4.0 เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต เราต้องดำเนินการ 4.0 ให้ดีที่สุด มีค่าที่สุดและเป็นประโยชน์แก่เรามากที่สุด และต้องมองไปถึงชีวิตหลัก 4.0 เช่นเดียวกัน”  ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
สำหรับหลักสูตรCCPR Model ที่จะให้ผู้เรียนต้องมีอย่างน้อย4อย่าง ได้แก่
                1.เรียนรู้ทั่วโลกและภูมิปัญญาหลักของไทย
                2.ทางเลือกของสังคมไทยและของโลก ต้องให้ศึกษาทางเลือกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตเป็นโลกที่มีความหลากหลาย
                3.กระบวนการแสวงหาความรู้ เรียนความรู้หลักของไทยแล้ว ต้องเรียนนวัตกรรมวิเคราะห์ใหม่ของโลก ควรเป็นหลักสูตรที่ทุกคนต้องเรียน เรียนขนาดใหญ่อย่างไรก็ต้องนำมาวิเคราะห์ และ
                 4.นวัตกรรมใหม่ของโลก จำเป็นต้องให้เรียนรู้กระบวนการที่จะหาความรู้ใหม่ อาจจะเรียนวิธีวิจัยก็ได้ ต้องสอนการวิจัยตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา
  • ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า วิธีการเรียนการสอนใน แบบCCPR Modelโดยจะเป็นการใช้ผลการสอนเป็นหลักประกัน โรงเรียน ครู จะต้องจัดการเรียนรู้แบบให้เด็กคิดวิเคราะห์วิเคราะห์เป็นหลัก เน้นวิเคราะห์ปัญหารายบุคคล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้เด็กทบทวนตัวเอง เป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอะไรใหม่ ให้ฝึกการทำงานใหม่ๆ เพิ่มเติมจนแน่ใจในทักษะการคิดใหม่ได้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน มองใหม่ เสนอใหม่ ให้ทางเลือก เพิ่ม ลด ต่อยอด เสริม ลองแล้วลองอีก วางเป้าหมายที่ผลงาน แสวงหาวิธีการต่างๆ ให้ได้งาน ทดสอบ ประเมินคุณภาพปรับเปลี่ยนและช่วยสอดส่อง รวมถึงต้องดำเนินการในทุกระดับ นำตัวเองสู่สาธารณะ สังคม ผ่านการทดสอบ รูปแบบตัวอย่าง
  • “การจัดการศึกษาเพื่อผลผลิต ครูต้องสอนน้อย แต่ให้เด็กเรียนรู้มาก ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบไม่สอน ก็เรียนได้จริง โดยครูต้องเชื่อมั่นว่าผู้เรียนสามารถแสดงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้สอนมีบทบาทในการวางแผนการจัดการเรียน ออกแบบกิจกรรมการเรียน กระตุ้นส่งเสริมจูงใจผู้เรียนและเตรียมคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบ มีประเด็นคำถามจากประสบการณ์ในชั้นเรียน การนำเสนอผลการเรียนมาอภิปรายแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนจะมีบทบาทใหม่ คือ Commentator เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เกิดผลงานที่เป็นองค์ความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์”
 ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
  • การศึกษาในอดีตเป็นการศึกษาบริโภคนิยมที่สอนให้ผู้คนถนัดการซื้อ กิน และใช้ ซึ่งถ้ายังเป็นอย่างนี้ การศีกษาไทยจะแย่ ดังนั้น การศึกษายุคใหม่ต้องไม่ใช่การผลิตผู้บริโภค แต่ต้องสร้างนักผลิต โดยการศึกษา 4.0 เป็นการสอนให้เด็กมีผลผลิต มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม ทั้งนี้ การที่มหาวิทยาลัยประกาศเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 ไม่ใช่เพียงปรับปรุงสถานที่ให้สวยงาม แต่ต้องเป็นการผลิตนวัตกรรม สินค้าที่เป็นประโยชน์
  • “การจัดการศึกษาไทย 4.0 เกิดขึ้นจริง ประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากผู้บริหาร ผู้สอนต้องเปลี่ยนวิธีคิด ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบเอาคะแนนสูง ทำให้นักเรียนถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ ครูต้องให้เสรีภาพเด็กเลือกเรียนตามความถนัด โดยส่งเสริม เติมเต็มตามศักยภาพของเด็ก ซึ่งเป็นการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคมาก รวมถึงต้องเป็นเป้าหมายการศึกษาของชาติ สร้างเด็กสร้างนวัตกรรม เลิกการบรรยาย แต่ให้เด็กได้ลงมือทำ เด็กทุกคนต้องมีผลงานและเห็นความสำเร็จอยู่ที่ผลงาน การเรียนการสอนทุกวิชาต้องเป็นแบบเดียวกัน มีการดำเนินการต่อเนื่อง และทุกคนต้องร่วมมือกันทำ” ศ.กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์กล่าวทิ้งทาย
  • การศึกษา4.0จะเกิดขึ้นจริงต้องเริ่มจากทุกภาคส่วนในระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษา ครู ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะสอดคล้องกับการก้าวสู่ยุค4.0สร้างผลผลิต นวัตกรรม สามารถติดตามการศึกษา4.0เป็นยิ่งกว่าการศึกษาได้ 
 
โดย ชุลีพร อร่ามเนตร
ขอบคุณที่มาจาก http://www.kroobannok.com/81270

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สอนเขียนบล็อก

สารบัญบทความสอนเขียนบล็อก

ตอนที่ 2 : hit stat counter หรือการแสดงสถิติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

ตอนที่ 2 : hit stat counter หรือการแสดงสถิติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความตอนนี้ เป็นการนำโค้ดตกแต่งบล็อกมาให้เพื่อนๆ ได้เอาไปใช้งานกัน กับบทความส่วน Gadget หรือของตกแต่งบล็อก ตอนที่ 1 ที่ผมแนะนำการแสดงสถิติแบบธงชาติ ซึ่งก็มีจุดเด่นอีกแบบหนึ่ง กับของ HitStat นี้ก็เช่นกันครับ มีจุดเด่นเรื่องรายงานการเข้าชม หรือสถิติ นั่นเองได้ดีพอสมควร ทำให้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงเว็บบล็อก ได้เช่นกันครับ

วิธีเข้าใช้งานเพื่อสร้างตัววัดสถิติผมมีแนะนำ 2 วิธี คือ เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.histats.com/แต่ส่วนตัวผมจะใช้วิธีไปที่เว็บบล็อกของตัวผมแล้วกดที่ แบนเนอร์ของ hitatat ดังภาพข้างบนตัวอย่างครับ

ภาพนี้เป็นหน้าตาของเว็บเมื่อผมกดที่แบนเนอร์ ซึ่งไม่ใช่หน้าหลัก ส่วนเพื่อนๆ ท่านใดถ้ากดลิงก์ตาม URL ที่ผมให้ไว้ก็จะไปที่หน้าหลักครับ แต่ว่าค่าเท่ากัน เพราะว่าต้องกดที่เมนู "REGISTER" อยู่ดีครับ
กดเมนู "REGISTER" ตามภาพครับ

เมื่อกดแล้วจะเห็นหน้าเว็บดังนี้ แล้วผมจะอธิบายทีละส่วนต่อไปครับ
เนื่องจากการเริ่มใช้งานก็ต้องสร้างบัญชีให้ตัวเองก่อนในส่วนของ Account Info ก็กรอก อีเมล์ของตัวเองที่ใช้งานใน 2 ช่องแรก mail, mail confirm จากนั้นกรอก password (มาถึงตรงนี้ ผมก็ขอแนะนำเพื่อนๆ ว่า ปัจจุบันเรามีการใช้งานอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก แต่ละเว็บก็ให้สร้างบัญชีทั้งนั้น ดังนั้น เพื่อนๆ ควรมีการจัดการ password อย่างเป็นระบบด้วยนะครับ เพราะผมเองเคยมั่วมาแล้ว ปัจจุบันนี้ ผมไม่มั่ว ไม่ต้องบันทึก จำได้ทุกเว็บไซต์แล้วครับ) ในช่อง password, password confirm ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นว่ามันง่ายมากเลย ไม่มีอะไรยุ่งยาก

ต่อไปเป็นส่วน Site Info
  • ในช่องแรก ต้องนำ URL ของเว็บบล็อกที่เราสร้างมาใส่ไว้เช่นhttp://bloggerbuild.blogspot.com/ เป็นต้น ต้องมี http:// ขึ้นต้นนะครับ
  • ช่อง 2 คือ title หรือชื่อเว็บบล็อก (แต่ส่วนตัวของผม ผมก็อบเอา URL วางเลยครับ เพราะว่าไม่ได้สำคัญอะไร ผมสังเกตดูว่าไม่เห็นมีกลับเอามาใช้งานให้เกิดประโยชน์อะไร แต่ถ้าเพื่อนๆ จะใส่ชื่อให้เรียบร้อยก็ดี นานาจิตตังครับ)
  • ช่อง 3 คือ description แปลว่ารายละเอียดของบล็อก ผมใส่ URL เหมือนเดิม เหตุผลเหมือนข้อ 2 เพื่อนๆ จะกรอกก็ได้ครับ
  • ช่อง 4 page views start value คือ การแสดงจำนวนว่ามีคนคลิ๊กอ่านเนื้อหาของเรากี่หน้าแล้ว มีให้เราใส่ตัวเลขหลอกชาวบ้านว่า เว็บบล็อกเรามีคนเข้ามาดูเยอะมากๆ ใส่เป็นล้านคนก็ได้นะครับ แต่ของผมไม่ใส่เลขอะไรเลย เริ่มต้นที่ศูนย์ครับ (โดยปกติค่าของ page views ต้องสูงกว่า visitors อยู่แล้วครับ)
  • ช่อง 5 visitors start value คือ การแสดงจำนวนว่ามีคนคลิ๊กเข้ามาที่บล็อกกี่คนแล้ว และให้เราเริ่มใส่ตัวเลขเริ่มต้นได้ แต่ผมก็ไม่ใส่อะไรเลข จึงเริ่มที่ศูนย์อีกเช่นกันครับ
ต่อไปเป็นส่วน Time Zone ที่ควรให้ความสำคัญนะครับ ไม่งั้นอาจเกิดอาการหงุดหงิดได้เมื่อเห็นยอดสถิตหลังเที่ยงคืนแล้วไม่เริ่มต้นนับใหม่ในแต่ละวัน
ให้เลือกที่ข้อ 2 Select your time zone จะง่ายที่สุด แต่เพื่อนๆ จะเลือกเวลาจากข้อ 1 หรือ 3 ก็ได้แล้วแต่ถนัดกันครับ ขอให้มี Bangkok ขึ้น เป็นใช้ได้ ตามภาพตัวอย่างครับ

ส่วนต่อมา คือ การเลือกข้อกำหนดของบล็อก ชนิด เลือก blog, Category ผมเลือก Others, Language เลือก english ตามของเดิม และที่ตำแหน่งติ๊กถูกหลัง NOT public stats ผมไม่ไปยุ่งอะไร ครับ
จะเกือบเสร็จแล้วครับในหน้านี้ ที่ตำแน่งข้อ 1 นั้นส่วนใหญ่จะมีติ๊กเครื่องหมายถูกอยู่แล้ว ก็กดที่ตำแหน่ง 2 คือ Continue ได้เลย จะได้ไปสู่ขั้นตอนต่อๆ ไปครับ
  • ในหน้าต่อไป จะมีให้เราเลือกรูปแบบของแบนเนอร์ที่โชว์สถิติครับ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ตามชอบใจ ผมมักเลือกแบบที่มี 4 แถว เพราะใช้งานง่าย คนดูเข้าใจง่าย
  • เมื่อกดปุ่ม Continue จะไปหน้าที่เลือกสี และแบบที่ชอบใจ จากที่เลือกหัวข้อหลักมาแล้ว ผมมักเลือกสีที่เข้ากับสีพื้น หรือสีหลักของบล็อกครับ เช่น สีพื้นสีขาว แต่หัวสี หรือแถบข้างออกโทนน้ำเงิน ผมก็จะเลือกแบนเนอร์แสดงสถิติเป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น
  • เมื่อกดปุ่ม Continue จะไปหน้าที่แสดงโค้ดแบบต่างๆ ซึ่งแบบแรกเป็นโค้ด HTMLซึ่งผมใช้โค้ดนี้ ผมก็ copy ไปวางในองค์ประกอบสำหรับ HTML/ Javascript ตามตัวอย่างในของตกแต่งบล็อกตอนที่ 1 ได้เลยนะครับ (ที่ลิ้งค์นี้http://bloggerbuild.blogspot.com/2008/04/19.html ด้านล่างของบทความครับ)
การใช้งาน hitstat นั้นยังมีส่วนที่เพิ่มเติม และแก้ไขข้อมูล รวมทั้งการดูสถิติด้วยครับ ซึ่งผมจะนำมาแนะนำในโกสต่อๆป แต่ถ้าเพื่อนๆ ลองคลิ๊กไปคลิ๊กมา กดเข้าไปดูของตัวเองที่ได้วางแบนเนอร์แล้ว สักพักก็จะใช้งานเพิ่มเติมได้เองครับ

Gadget (ของตกแต่งบล็อก) ตอนที่ 1

Gadget (ของตกแต่งบล็อก) ตอนที่ 1 : flag counter หรือแสดงธงชาติของผู้เยี่ยมชมบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ นอกจากเราจะสร้างบล็อกและเขียนบทความแล้ว เราควรจะนำโค้ดของตกแต่งบล็อกต่างๆ มาวางในบล็อกของเราทั้งเพื่อความสวยงาม หรือเกิดประโยชน์ทั้งกับตัวเอง และผู้อ่าน หรือผู้เยี่ยมชมบล็อก บทความนี้ผมขอแนะนำการแสดง "สถิติผู้เยี่ยมชมบล็อก" เป็นธงชาติของแต่ละประเทศ ด้วยสีสันของธงชาติ ผมว่าน่าจะทำให้บล็อกของคุณสวยพอสมควรเลยครับ ลองอ่านกันเลยนะครับ

ไปที่เว็บไซต์ http://flagcounter.com/ จะเห็นหน้าเว็บไซต์ตามภาพข้างบน
เว็บนี้ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีไม่กี่หน้า หน้าหลักจะโชว์ตัวอย่างหลักของการแสดงธงชาติ ตามภาพข้างบน มีทั้งหมด 6 ส่วน ดังนี้ครับ
  1. Maximum Flag to Show : เป็นการแสดงจำนวนธงชาติ ปกติโชว์แค่ 12 ธงชาติ เลือกได้สูงสุด 200 และ "all" ธงชาติ
  2. Columns of Flags : เป็นการแสดงแถวของธงชาติพร้อมข้อมูล ปกติจะโชว์ 2 แถว เลือกได้สูงสุดถึง 8 แถว
  3. Lebel on Tops of Counter : มีให้เลือก Viewers, Visitors และ Custom (เมื่อติ๊กเลือก จะขึ้นกรอบช่องว่างให้เติมข้อความ) แต่โดยปกติจะโชว์ Viewers ไว้ก่อน
  4. Show Country Labels : คือการแสดงตัวอักษรย่อประเทศ เมื่ออติ๊กถูกในช่องสี่เหลี่ยม ซึ่งจะช่วยทำให้เราเดาได้ว่าเป็นประเทศอะไร
  5. Show Pageview Count : คือการแสดงจำนวนรวมของการคลิกดูหน้าต่างๆ ในบล็อกของเรา หรือ pageview แต่ต้องติ๊กถูกในช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ
  6. Colors : เป็นการเลือกสี ของพื้นที่ธงชาติ 3 ส่วน คือ Background Color (สีพื้นที่ด้านหลัง ซึ่งปกติจะเป็นสีขาว), Text Color (สีตัวอักษร ซึ่งปกติจะเป็นสีดำ) และ Border Color (สีกรอบ ซึ่งปกติจะเป็นสีเทา) สามารถเลือกสีที่ชอบ หรือต้องการเปลี่ยนที่เมนูด้านหลังที่มีคำว่า "choose"

ภาพตัวอย่างข้างบน ผมได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่าง ดังนี้
  1. แสดง 70 ธงชาติ
  2. แสงดง 3 แถว
  3. ผมไม่เปลี่ยน ให้แสดงหัวข้อ Visitors เหมือนเดิม
  4. ผมติ๊กถูก ให้แสดงอักษรย่อของประเทศ
  5. ผมติ๊กถูก ให้แสดง จำนวนของ pageviews
  6. ผมไม่แก้ไขสีใดๆ จึงเป็น ตวอักษรสีดำ พื้นขาว กรอบสีเทาครับ
ผมได้แสดงความสัมพันธ์ของการเลือกข้อกำหนดกับผลที่แสดง เปรียบเทียบให้ดูตามหัวข้อข้างบนนี้แล้วนะครับ แต่ข้อ 6 ผมไม่ได้เอามาเปรียบเทียบให้ดู เพราะเหมือนเดิมครับ





เมื่อเลือกข้อกำหนดการแสดงธงชาติทุกอย่างครบแล้ว ให้กดที่ปุ่มแสดงโค้ด หรือ "get my flag counter" ตามตัวอย่างในภาพข้างบน

ก็จะเห็นหน้าเว็บไซต์ตามนี้เลยนะครับ
ดูที่หัวข้อ "Code for websites" จะเห็น HTML โค้ด ก็ให้คลิ๊กขวาที่เม้าส์ แล้วเลือก copy เพื่อจะนำโค้ดนี้ไปวางใน หน้าต่าง "ตั้งค่า HTML/ JavaScript" เพื่อแสดงที่แถบด้านข้าง (Side Bar)
ไปที่หน้าเว็บการจัดการ "รูปแบบ" กด "เพิ่มองค์ประกอบหน้า หรือ เพิ่ม Gadget" เมื่อเห็นหน้าต่าง "เพิ่ม Gadget" เลือกแบนเนอร์ องค์ประกอบ "HTML/ จาวาสคริปต์"

เมื่อเห็นหน้าต่าง "ตั้งค่า HTML/ JavaScript" ก็นำโค้ดที่ได้ copy ไว้มาวางในพื้นที่เนื้อหานะครับ ส่วนหัวข้อก็แล้วแต่เพื่อนๆ อยากจะใส่ลงไปไหม สำหรับผม "ไม่ใส่" เพราะว่าโดยสาวนใหญ่ผู้อ่านน่าจะเข้าใจครับ

ผมนำภาพตัวอย่างของ Gadget หรือ ของตกแต่งบล็อก ที่เป็นธงชาติของแต่ละประเทศ ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเรา ที่ผมติดตั้งไว้ที่บล็อก http://alittleofknowledge.blogspot.com/ ไหนๆ ก็ได้มาใช้ gadget ของ http://flagcounter.com/ ก็อยากให้ไปลองอ่านถึงข้อดีของเว็บไซต์นี้ได้ที่ลิงก์นี้เลยนะครับ (กำลังเขียนบทความอยู่นะครับ) แล้วในบทความต่อไป ตามอ่าน Gadget ตัวอื่นที่จะนำมาแนะนำด้วยนะครับ

ส่วนการจัดการ "การเขียนบทความ" หรือ การเขียนบล็อก

ส่วนการจัดการ "การเขียนบทความ" หรือ การเขียนบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ เรามาเริ่มเขียนบทความกันดีกว่าครับ จริงๆ แล้วก็คือพิมพ์บทความนั่นละครับ แต่ใช้คำว่า "เขียน" ก็สื่อไปในทางรูปแบบเก่าที่เวลาเราจะเขียนไดอารี่ หรือประสบการณ์ต่างๆ คงต้องเขียนกันเป็นหลัก ปัจจุบันก็คงพิมพ์เสียส่วนใหญ่ แต่ผมเคยได้ยินคุณบอย โกสิยพงษ์ ไม่มีเวลาพิมพ์ ใช้วิธีเขียนเป็นฉบับ ร่างให้เจ้าหน้าที่ช่วยพิมพ์ให้เหมือนกัน สรุปว่า ก็ความหมายเดียวกันครับ (เพราะไม่ได้สื่อในรูป คำกิริยา)

การเขียนบทความก็คงไม่ยากเย็นอะไร ก็พิมพ์ลงไปนะครับ ในพื้นที่ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วก็มีการใส่รูปภาพเป็นส่วนใหญ่ หรือคลิ๊ปวีดีโอ ดังนั้น ก่อนถึงการเขียนบทความ เราลองมารู้จักกับเมนูต่างๆ ในหน้าการจัดการ "การเขียนบทความ" หรือ "สร้างบทความ" กันครับ


คงต้องเริ่มจาก ผมจะแนะนำการเข้าสู่หน้า "สร้าง หรือ เขียนบทความ" 3 วิธี ง่ายๆ นะครับ คือ
1. กดที่เมนู "บทความใหม่" ที่อยู่ด้านขวามือบนสุด ในหน้าที่เว็บบล็อกที่เราเข้ามาผ่านวิธีการแบบ Log in เข้ามานะครับ


2. เมื่อเวลาเราเขียนบทความเสร็จแล้ว และกดบันทึก ระบบจะพาเราไปที่หน้า "แก้ไขบทความ" ให้เรากดที่เมนู "สร้างบทความใหม่" ตามภาพตัวอย่างข้างบน

3. ที่หน้าการจัดการ "รูปแบบ" ที่เมนูด้านซ้ายบน ให้กดที่เมนู "การส่งบทความ"

ทั้ง 3 วิธี ก็จะมาที่หน้าเว็บการจัดการในการสร้าง หรือเขียนบทความ ดังภาพตัวอย่าง งั้นมาดูเมนูต่างๆ กันครับ

เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจในคำอธิบายง่ายๆ ผมจึงกำหนดเป็นตัวเลขกำกับแต่ละเมนูแทน เริ่มจาก
ชื่อเรื่อง คือ การสร้างชื่อบทความ หรือหัวข้อของบทความที่เราเขียนก็ได้นะครับ
หมายเลข 1 คือ การเลือกแบบของตัวอักษร ถ้าเรากดที่ลูกศรลง ก็จะแสดงแบบอักษร การใช้งานแบบตัวอักษรนี้ ก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือ ลากเม้าส์ครอบคลุมพื้นที่ของตัวหนังสือที่ต้องการเปลี่ยนแบบตัวอักษร แล้วกดเลือกแบบได้เลย หรือ กดเลือกแบบตัวอักษรเลย ก่อนพิมพ์บทความ ครับ
หมายเลข 2 คือ การเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีให้เลือก 5 ขนาด เพื่อนๆ สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ Normal คือขนาดปกติ ผมมักใหญ่ ขนาดใหญ่ (Large) เมื่อเวลาต้องเน้นคำ หรือประโยค เด่นๆ ครับ
หมายเลข 3 ที่เป็นตัว b หนาๆ เป็นการทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็นตัวหนา
หมายเลข 4 ที่เป็นตัว i เอียงๆ จะทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็ษนตัวเอียง
หมายเลข 5 เป็นการเลือกสี ให้กับตัวอักษร ถ้าเราใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดความสวยงามของบทความ น่าอ่าน หรือใช้เน้นคำ ร่วมกับขนาดตัวอักษรบ้างก็ยังได้ ส่วนตัวผมแล้ว ผมยังใช้สีตัวอักษรมาแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของคำ หรือประโยคนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าบทความนั้นผมเขียนถึง สิ่งที่ถูก กับ สิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีถึงสิ่งที่ถูกเป็นสีน้ำเงิน ส่วนสิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีแดง แทนครับ
หมายเลข 6 เป็นเมนูการเชื่อมโยงลิงก์ ให้กับคำ หรือประโยค เช่นเมื่อกล่าวถึง ชื่อ ปรีดา ลิ้มนนทกุล ผมก็เชื่อมโยงลิงก์ หรือ URL http://preedaroom.blogspot.com/ ไปใส่ในช่อง URL ตามภาพตัวอย่างข้างบนนะครับ กด OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเชื่อมโยงลิงก์ (ตามตัวอย่างชื่อผมครับ)
หมายเลข 7 เป็นการจัดลักษณะการวางของตัวหนังสือ ว่า จะให้ ชิดซ้าย, ตรงกลาง, ชิดขวา และ เฉลี่ยเต็มพื้นที่
หมายเลข 8 เป็นการจัดลำดับของข้อความ หรือประโยค เป็นข้อๆ เรียงตามเลข หรือ มีจุดนำหน้า และการยกข้อความทั้งย่อหน้า เพื่อนๆ ต้องลองเล่นข้อ 7 และ 8 เอง เวลาเขีนบทความ ก็จะเกิดความชำนาญในการใช้งานครับ
หมายเลข 9 เป็นการเพิ่มรูปภาพในบทความ โดยสามารถเพิ่มภาพได้ทั้งจากไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง (Browse) หรือจาก URL จากนั้นเลือกรูปแบบ การวางรูปซ้าย-กึ่งกลาง-ขวา (ส่วนไม่มีนั้น ผมก็ไม่เคยใช้ครับ) ส่วนด้านข้างบริเวณ "ขนาดรูปภาพ" มีให้เลือก ขนาดเล็ก-ปานกลาง-ขนาดใหญ่ ส่วนช่องที่ให้ติ๊กหน้าช่อง "ใช้เลย์เอาต์นี้ทุกครั้งหรือไม่" ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานนะครับ


หมายเลข 10 เป็นการเพิ่มวีดีโอในบทความ (ขอสารภาพว่า ยังไม่เคยใช้งานเลยครับ) แต่น่าจะใช้งานเหมือนกันคือ กด Browse เพื่อโหลดไฟล์วีดีโอ ตั้งชื่อ และก็บันทึก (ถ้าทดลองใช้จะกลับมาอัพเดทอีกครั้งครับ)
หมายเลข 11 เป็นการลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ซึ่งผมยังไม่เคยใช้งานครับ
หมายเลข 12 เป็นเมนู Type in Hindi ที่ไม่กล้าใช้งานครับ จึงยังไม่เคยใช้เลย กลัวว่าบทความจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นครับ


มาถึงหมายเลข 13 เป็น เมนู "แสดงตัวอย่าง" ให้เพื่อนๆ เมื่อลองพิมพ์บทความลงไปแล้ว ทดลองกดที่เมนู ระบบก็จะแสดงตัวอย่างบทความให้ดูครับ ดังภาพตัวอย่างข้างล่างครับ

ก่อนหน้านี้ ที่ผมอธิบายเมนูต่างๆ ของการเขียนบทความนั้น ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะเห็นว่าเป็นส่วนการจัดการ "การเขียน" โดยดูได้จากเมนูขวามือ ที่ผมวงไว้ว่า A คราวนี้มาถึงเมนู "แก้ไข Html" ที่ผมวงไว้ว่า B เป็นส่วนที่เราสามารถวางโค้ด Html นะครับ ทั้งโค้ด หรือ Embed เช่น จาก youtube.com หรือ daraoke.com (ผมจะเขียนบทความขยายความในส่วนนี้ รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในบทความใหม่ ต่อๆ ไปนะครับ) พื้นที่นี้สามารถคีย์ตัวอักษรปกติได้ และใช้งานตามเมนูเท่าที่มีให้นะครับ แต่ถ้าจะใช้ฟังก์ชั่นเมนูมากกว่านี้ ต้องข้ามไปใช้ในส่วนการจัดการ "การเขียน" แทนครับ


มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่จะบอกเพื่อนๆ ว่า ถ้าสังเกตดีๆ เวลาเราพิมพ์บทความไปได้สักระยะหนึ่ง (พักใหญ่เหมือนกันครับ) ตรงพื้นที่ ที่ผมวงไว้ว่า "ว่าง" นั้น จะมีข้อความขึ้นแสดงว่า มีการบันทึกแบบร่าง ดังตัวอย่างภาพข้างล่างนะครับ
และก่อนจะจบ ก็ต้องแนะนำส่วนสุดท้ายคือ ช่องการใส่คีย์เวิร์ด ที่เรียกว่า Tag ที่มีความสำคัญมากนะครับ เรียกได้ว่าเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้บทความ หรือบล็อกของเราติดอันดับ Google ได้ง่ายขึ้นครับ จบแล้วครับ สำหรับบทความตอนนี้ ยาวหน่อยนะครับ

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos