วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย

เรื่องที่ 3 ขนธรรมเนียมประเพณีไทย
1x42.gif
ชาติไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงาม สร้างสรรค์ขึ้นโดยบรรพบุรุษไทยและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนนาน จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่เชื่อมความรู้สึกของชาวไทยทุกคนให้ตระหนักว่า “เราคือคนไทยด้วยกัน”  การมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป้็นของตนเอง นับเป็นสิ่งน่าภาคภมิใจ ควรแก่การศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สืบสาน ตลอดจนพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย โดยไม่ทิ้งรากเหง้้าเดิม เพราะนอกจากจะสามารถดำรงไว้ซึ่งเอกลักษ์อันดีงามของชาติแล้ว ยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลังได้ปฎิบัติตามอย่างถูกต้อง

  1. ประเภทของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ขนบธรรรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดขึ้น และยึดถือเป็นแบบแผนปฎิบัติสืบเนื่องกันมา จนเป็นอัตลักษณ์ของคนกลุ่มนั้น จำแนกได้ดังนี้
    1. จารีตประเพณี เป็นข้อปฎิบัติให้คนในสังคมทำตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถือเป็นคนผิดบาป เช่น
      1. ลูกต้องเลี้ยงดู พ่อแม่ เมื่อท่านเจ็บไข้หรือยามแก่ชรา
      2. ห้ามญาติพี่น้องแต่งงานหรืออยู่กินเป็นสามีภรรยากัน
    2. ขนบประเพณี เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้อย่างชัดเจน หรือเป็นที่รู้กันว่าควรประพฤติปฎิบัติอย่างไร เช่น
      1. การประกอบงานบุญพิธีอุปสมบท แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
      2. การประกอบพิธีไหว้ครู ทำขวัญข้าว บวงสรวงเทพเทวาอารักษ์ เป็นต้น
    3. ธรรมเนียมประเพณี  เป็นข้อปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีข้อบังคับว่าต้องปฎิบัติ แต่ถ้าไม่ปฎิบัติอาจถูกตำหนิ หรือถูกติฉินนินทาได้ เช่น
      1. การยกมือไหว้ผู้ใหญ่
      2. การสวมชุดดำไปร่วมงานศพ เป็นต้น
  2. การปฎิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย  ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และถือปฎิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน ขนบประเพณีบางอย่างถือปฎิบัติกันเฉพาะถิ่น เรียกว่า ขนบธรรมเนียมปีะเพณีท้องถิ่น เช่น ประเพณีปอยส่างลองในภาคเหนือ ประเพณีผีตาโขนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีโยนบัวในภาคกลาง ประเพณีชักพระในภาคใต้ เป็นต้น จากความหลาหหลายของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย จึงนำขนบธรรมเนียมประเพณีที่พบเห็นโดยทั่วไปในทุกภูมิภาค และเกี่วข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างใกล้ชิด มาแสดงเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นแนวทางการปฎิบติตนที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้
    1. การต้อนรับแขก เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ คำกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นความสำคัญของการต้อนรับผู้มาเยือน ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติดังนี้
      1. จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับแขก อาจเป็นห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น หรือเฉลียงก็ตามตามความเหมาะสม แต่มีหลักสำคัญคือ ต้องจัดสถานที่ต้อนรับที่ดีที่สุดเท่าที่จะพึงจัดได้
      2. ออกไปต้อนรับแขก เจ้าบ้านต้องต้อนรับแขกด้วยใบหน้ายิ้มแย้มยินดี และกล่าวคำเชื้อเชิญให้แขกเข้ามานั่งพักผ่อนในสถานที่จัดเตรียมไว้
      3. นำเครื่องดื่มมาต้อนรับแขก นำน้ำดื่มหรือเครื่องดื่ม ที่เตรียมไว้มาต้อนรับ เพื่อให้แขกดับกระหาย หรือบรรเทาความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง
      4. ระหว่างสนทนากับแขก ไม่ควรเหลือบดูนาฬิกา หรือแสดงอาการลุกลี้ลุกลน เพราะจะทำให้แขกเข้าใจว่า เจ้าบ้านมีกิจธุระรีบด่วน หากมีกิจธุระจำเป็นให้กล่าวคำขอโทษ และชี้แจงเหตุและผลให้แขกทราบ
      5. เมื่อแขกขอลากลับ เจ้าบ้านต้องตามออกไปส่งในระยะพอสมควร อาจกล่าวเชื้อเชิญให้แขกมาเยี่ยมเยียนในโอกาสหน้า หรือกล่าวให้แขกเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
    2. ประเพณีบวชนาค การปฎิบัติที่เหมาะสมในการไปร่วมงานพิธีอุปสมบท ควรปฎิบัติดังนี้
      1. การแต่งกายไปร่วมงงาน  ควรสวมชุดสุภาพเหมาะสม เช่น เช่นสวมใส่ชุดผ้าไทย หรือชุดที่สุภาพเรียบร้อย เลือกสีเสื้อผ้าที่สดใสเหมาะกับงานบุญ สวมใส่สบาย
      2. ทักทายเจ้าภาพ ควรทักทายหรือพูดกับเจ้าภาพ หรือนาค อาจกล่าวแสดงความชื่นชมยินดี ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรชวนคุยนาน เพราะเจ้าภาพต้องต้อนรับแขกท่านอื่นด้วย
      3. ระหว่างการประกอบพิธีอุปสมบท เป็นขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีพระสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมพิธีควรสำรวมกาย วาจา และใจ ไม่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสม
      4. เสร็จพิธี แขกควรลาเจ้าภาพกลับ และแสดงความมีน้ำใจด้วยการแสดงความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ หากมีการจัดการอื่นๆในโอกาสต่อไป
    3. แนวทางการอนุรักษ์์ สืบสาน และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การอนุรักษ์สืบสาน และถ่ายทอดธรรมเนียมประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป สามารถปฎิบัติได้ ดังนี้
      1. ศึกษาค้นคว้าเกี่วกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยให้ทราบความหมาย คุณค่า ความสำคัญและแนวทางปฎิบัติตน ซึ่งความรู้ที่ได้ จะเป็นพื้ฐานนำไปสู่การปฎิบัติที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นปฎิบัติตามได้อย่างเหมาะสม
      2. สร้างทัศนคติและสำนึกในหน้าที่ ด้วยการสร้างความตระหนักว่า ทุกคนในชาติ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป
      3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชนตระหนักในความสำคัญ  โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย

1x42.gif

2 ความคิดเห็น:

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos