วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 45 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา

  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา มีมาตั้งแต่ตสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนหนึ่งของชาติตะวันตก ที่ทำสัญญาทางการค้ากับประเทศไทย หลังสัญญาเบาว์ริ่ง และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พ.ศ.2488 เป็นต้นมา 
ได้เกิดภาวะสงครามเย็น ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย หรือเสรีที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียต 
เกิดสงครามตัวแทนและความตึงเครียดขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการณ์สงครามเวียตนาม สงครามเกาหลี เป็นต้น ไทยได้ดำเนินนโยบายตามหลังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐสนับสนุนให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศ ที่แพ้ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจึงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาตลอดมา 
โดยมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางด้านต่าง ๆ ต่อกัน ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในปี 2493 เพื่อร่วมมือในการต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1. ด้านการเมืองการปกครองและการทหาร ไทยกับสหรัฐอเมริกามีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อกันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์เหมือนสหรัฐ ยินยอมให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม เป็นสมาชิกขององค์การ สปอ. เพื่อต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย เป็นต้น
2. ทางด้านเศรษฐกิจ  ภายหลังปี 2493 สหรัฐอเมริกาได้มีสัญญาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของไทยจำนวนมากและภายหลังสหรัฐอเมริกาก็ได้เป็นตลาดนำเข้าสินค้าของประเทศไทยที่สำคัญที่สุดในโลกมีมูลค่าในการค้าขายต่อกันแต่ละปีจำนวนมากโดยไทยจะเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบเรื่องดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาตลอดมา โดยสหรัฐอเมริกาได้มอบสิทธิพิเศษทางการค้าให้กับไทย ในสินค้าหลายชนิดจึงมีการเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำทำให้สินค้าไทยได้เปรียบสินค้าจากประเทศอื่นอย่างมาก
3. ทางด้านสังคมวัฒนธรรม คนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมทางด้านต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่สำคัญ คือ วัฒนธรรมทางด้านวัตถุ การบริโภค อุปโภคสินค้าอย่างฟุ่มเฟือยเป็นต้น
    ปัจจุบันประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกายังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและได้พัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ มีการขยายความร่วมมืออื่นต่อกันทางด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทำให้ได้รับประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos