วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 2 ความมีวินัยในหน้าที่

เรื่องที่ 2
1x42.gif
ความมีวินัยในหน้าที่
        การปลูกฝังความมีวินัยในหน้าที่ เพื่อให้นักเรียนมีความตั้งใจและรับผิดชอบในการเรียน การทำงาน ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และมีความรับผิดชอบในการกระทำของตน และเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
1.ตั้งใจปฎิบัติหน้าที่
        การตั้งใจปฎิบัติหน้าที่ เป็นความมุ่งมั่นในการเรียน และการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเพียร พยายาม ความเอาใจใส่ ทุ่มเท ทั้งกำลังกาย กำลังใจ
ใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด งานมีคุณภาพและสร้างความภาคภูมิใจในผลงาน
2.ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
        การยอมรับผลจากการกระทำของตนเอง เป็นการแสดงความรับผิดชอบจากการกระทำของตนเอง โดยไม่โยนความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่น ไม่ว่างานที่ทำไปจะบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบและนำมาปรับปรุงแก้ไขงานนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม
        การปฎิบัติตนยอมรับผลของการกระทำของตนเอง
  1. กล่าวคำขอโทษ แสดงความรับผิดชอบจากการกระทำของตนเอง
  2. ปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดและเป็นข้อคิดในการทำงานครั้งต่อไป
  3. ผู้เป็นหัวหน้าจะแสดงความรับผิดชอบในผลงานที่ผิดพลาด ไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น
        ผลที่ได้รับจากการยอมรับผลของการกระทำของตนเอง ทำให้ผู้อื่นให้อภัยในข้อผิดพลาด และผู้ที่ร่วมงานด้วยมีความไว้วางใจ ไม่หวาดระแวง
ffo124.gif


เรื่องที่ 1 ความมีวินัยในตนเอง

เรื่องที่ 1
1x42.gif 
ความมีวินัยในตนเอง
        วินัยสร้างคนให้เป็นคนดี เป็นคนเก่ง คนดีมีวินัยจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่เรียนรู้
        ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าและฝึกความมีวินัยในตนเอง เพื่อความสุขและความสำเร็จของตนเอง และการเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
1.ความซื่อสัตย์สุจริต
        ความซื่อสัตยืสุจริตเป็นความยึดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติปฎิบัติตรงตามควมเป็นจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งทางกาย วาจา และใจ ไม่เป็นการกระทำที่หวังผลประโยชน์ ไม่คิดคดโกง หลอกลวง มีความดปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้มีความซื่อสัตยืสุจริตจะได้รับความไว้วางใจจากคนทั่วไป
2.ความขยันหมั่นเพียรและอดทน
        ความขัยนหมั่นเพียร เป็นความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน การทำงานด้วยความมุ่งมั่น ด้วยความสุจริตอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป มีความเจริญก้าวหน้าในการเรียนและชีวิตการงาน
        การปฎิบัติตนเป็นคนขยันหมั่นเพียรและอดทน
  1. มีการตั้งเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจนทและมีความกระตือรือร้นและตั้งใจทำอย่างไม่ย้อท้อ
  2. ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อนำมาเป็นแนวปฎิบัติและพัฒนาตนเอง
  3. นำแบบอย่างของผู้ประสบความสำเร็จมาเป็นแบบอย่าง
  4. ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
        ผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรและอดทนในการเรียนและการปฎิบัติหน้าที่ จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นที่ยกย่องชื่นชมของคนรอบข้าง
3.การใฝ่หาความรู้
        การใฝ่หาความรู้ เป็นความตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน การพัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น สามารถถ่ายทอด เผยแพร่ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
        การปฎิบัติตนเป็นคนใฝ่หาความรู้
  1. ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียนและศึกษาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
  2. เป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบข้างและใส่ใจในสิ่งที่ตัวเองยังไม่รู้และค้นหาคำตอบ
  3. เป็นนักอ่าน นักฟังแล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อร้างสรรค์ผลงานตนเอง
  4. นำแบบอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นแบบอย่าง
  5. การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นๆ
        การเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ทำให้มีความรู้รอบด้าน สามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ผลงานเป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จ
1x42.gif

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความมีวินัยในตนเอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
1x42.gif
ความมีวินัยในตนเอง
        พลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง มีความซื่สัตย์ สุจริต อดทน มีความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษาหาความรู้และทำงานด้วยความตั้งใจ
        การปลูกฝังให้พลเมืองไทยมีวินัยในตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่ิไป
ผลการเรียนรู้
        ปฎิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
1x42.gif

เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหาควมขัดแย้ง

เรื่องที่ 3
1x42.gif
การแก้ปัญหาควมขัดแย้ง
        ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค ดังนั้น เราจึงควรรู้และเข้าใจถึงปัญหา ลักษณะของปัญหา สาเหตุ พฤติกรรม ผลกระทบ การป้องกันและการแก้ไข รวมทั้งเป็นแนวทางการสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้เกิดความสันติสุขในระดับต่างๆ
1.การทะเลาะวิวาท
        การทะเลาะวิวาท เป็นสถานการณ์ความขัดแย้งระดับที่ใช้ความรุนแรงต่อกันด้วยคำพูด การใช้กำลัง และถึงขั้นใช้อาวุธทำร้ายกัน
        อาจเป็นการทะเลาะระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือระหว่างองค์กร สถาบัน ทำให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียด เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกัน ไม่มั่นใจในความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรคเป็นพวก และขาดความสามัคคีปรองดอง
  1. ปัจจัยที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท
  1. ความอิจฉาริษยา ความไม่ชอบหน้า ความเป็นคู่อริ เช่น ไม่ชอบบุคลิกของอีกฝ่าย
  2. ต้องการแสดงความเหนือกว่าผู้อื่น เช่น กรณีรับน้อง รุ่นพี่ใช้วาจาข่มขู่
  3. การดื่มสุรา เสพสิ่งเสพติด ทำให้ขาดสติ
  4. อารมณ์และความคึกคะนองตามวัย เช่น วัยรุ่นยกพวกตีกัน
      2.  แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท
  1. ครอบครัว สถานศึกษา ควรเป็นแบบอย่างในการปลูกฝัง อบรม เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
  2. ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ทะเลาะวิวาทหรือแสดงความขัดแย้งให้เด็กจดจำเป็นแบบอย่าง
  3. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น กีฬา ดนตรี
  4. ใช้หลักธรรมทางศาสนา สร้างทัษนคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
        ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เป็นความไม่ลงรอยกันในทางความคิด ความรู้สึก ความต้องการอุดมการณ์ ทำให้ต่างฝ่ายต่างพยายามเอาชนะต่อกัน พยายามโน้มน้าวความคิดให้เกิดการยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายตน ซ฿่งสาเหตุเช่น ความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงและเรื่องราที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ไม่ตรงกัน วิธีคิด ทัศนคติ ที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของบุคคลไม่ดี นำไปสู่ความขัดแย้งหรือทะเลาะวิวาทกัน
2.1. วิธีแก้ปัญหาความคิดเห็นไม่ตรงกัน
  1. ทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมและมีเป้าหมายตรงกัน
  2. เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี และปรับเปลี่ยนทัศนคติของตัวเองให้เข้ากับกลุ่ม
  3. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
  4. เมื่อมีเหตุการณ์ความเข้าใจผิดต่อกัน ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อปรับความเข้าใจ
3.การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดสันติวิธี
        การใช้หลักสันติวิธีในการแก้ปัญหา มีความสำคัญยิ่งในสังคมประชาธิปไตย เพื่อทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งคลี่คลายลงหรือยุติได้ หรือเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุนแรง นำไปสู่ความแตกแยกและความไม่สงบสุขในสังคม ซึ่งมีวิธีการดังนี้
3.1. การเจรจาไกล่เกลี่ย
        3.1.1. ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นคนกลางเพื่อเจรจาระหว่างคู่กรณี
        3.1.2. ผู้ไกล่เกลี่ยจะให้คู่กรณีผลัดกันเล่าถึงปัญหา
        3.1.3. ร่วมกันหาข้อสรุปของปัญหา โดยใช้เหตุผล
3.2. การเจรจาต่อรอง
        3.2.1. คู่กรณีนัดเจรจาต่อรองกันเอง
3.2.2. ทั้งสองฝ่ายทำการพูดคุยกันเอง เพื่อแสดงออกถึงความต้องการของตน
3.2.3. หาข้อสรุปร่วมกันเพื่อความพอใจของทั้งสองฝ่าย
3.2.4. ทำการตกลงและปฎิบัติตามที่ตกลงกันไว้
3.3. การระงับความขัดแย้ง
3.3.1. สามารถทำได้โดยเริ่มจากการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือต่อรอง
3.3.2. หากไม่สำเร็จ ก้สามารถ ใช้วิธีตามกฎหมาย เช่น ให้ศาลวินิจฉัย
ffo124.gif
                
        

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันในพหุวัฒนธรรม

เรื่องที่ 2
1x42.gif
การอยู่ร่วมกันในพหุวัฒนธรรม
        การอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม จะต้องมีการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน
การปฎิบัติตนต่อกันอย่างเหมาะสม มีดังนี้
  1. การเคารพซึ่งกันและกัน
  1. เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนูาย์ ยอมรับความแตกต่างด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ
  2. เคารพในสิทธิของกันและกัน
  3. เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
  1. ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
  1. แสดงกิริยา วาจา สุภาพ
  2. ไม่กล่าวลบหลู่ในสิ่งที่เขาเคารพศรัทธา
  3. ไม่พูดจาล้อเลียน เยาะเย้ยคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา
  1. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีการแบ่งปัน
  1. มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
  2. เปิดโอกาสให้คนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
  3. ให้ความช่วยเหลือ และเข้าร่วมกิจกรรมที่ดี ที่ชาวต่างชาติจัดขึ้น

เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ  เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องที่ 1
ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม และใน พ.ศ.2558 จะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน
        ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนจะต้องศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน เรียนรู้ความหลากหลาย เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1.ความหลากหลายของวิถีชีวิต
        จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นผืนแผ่นดินและหมู่เกาะ ประกอบกับการมีลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากร และการประกอบอาชีพของคนในภูมิภาคให้มีความหลากหลาย
2.ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนพหุสังคม มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
3.ความหลากหลายทางด้านศาสนา
        ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม โดยประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
4.ความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำ อาหาร และพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ยังมมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของมนุษย์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความปรองดองสมานฉันท์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเป็นไทย
ความปรองดองสมานฉันท์

  • ในการอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมหรือระดับประเทศ เราจะต้องปฎิบัติต่อกันด้วยความปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อให้เกิดความสันติสุขร่วมกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธี
ผลการเรียนรู้
  • ยอมรับความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกันมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี

เรื่องที่ 2 การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ

เรื่องที่ 2
1x42.gif
การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ
        การอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมร่วมกัน เพื่อการพัฒนาสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ
        สำหรับนักเรียนก็สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้เช่นกัน เริ่มจากการมีส่วร่วมในกิจกรรมในโรงเรียน เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า
1.การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจต่อกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
        โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้และการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ตัวอย่างกิจกรรมในโรงเรียน เช่น กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน กิจกรรมทางวิชาการ เป็นต้น
        การปฎิบัติตนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ ต่อกิจกรรมของห้องเรียน และโรงเรียน
  1. ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนต่อห้องเรียนและโรงเรียน
  2. สื่อสารด้วยภาษาเชิงบวก สร้างสรรค์ เพื่อความร่วมมือลดการเผชิญหน้า ที่มาจากความขัดแย้ง
  3. แสดงออกต่อกันอย่างกัลยาณมิตร
  4. ยอมรับฟังความคิดเห็น เหตุและผลจากรอบด้าน เพื่อหาแนวทางการทำงาน
  5. ร่วมกันรับผิดชอบผลของการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
การปฎิบัติตนดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆมากขึ้น เกิดความรักสามัคคีในหมู่เพื่อนสมาชิกของห้องเรียนและโรงเรียน
2.การตรวจสอบข้อมูล
        การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วจากหลายช่องทาง เช่นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอนั้นอาจเป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ได้
        ดังนั้นนักเรียนจะต้องมีวิจารณญาณในการเลือกรับ และตรวจสอบข้อมูลจากสื่อต่างๆ เพื่อการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง
        หลักการตรวจสอบข้อมูล
  1. ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล
  2. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน
  3. ตรวจสอบคุณภาพและข้อเท็จจริงของข้อมูล โดยการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากหลายแหล่ง
  4. มีวิจารณญาณในการรับข้อมูล และแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง ข่าวลือ ข้อมูลที่เล่าต่อๆกันมา
        การตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบจะทำให้ได้ข้อเท็จจริง ช่วยลดความผิดพลาดในการตัดสินใจและสร้างความโปร่งใสในการปฎิบัติงาน

เรื่องที่ 1 การประพฤติปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

เรื่องที่ 1
1x42.gif
การประพฤติปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
--------------------------------------------------------------------------
        พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้รู้สิทธิและปฎิบัติหน้าที่ของตน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม หลักการประชาธิปไตย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ชุมชน และสังคม เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
        การเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมของนักเรียน เช่น เข้าร่วมในการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน มีส่วนร่วมในการอนุรักษืสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ สาธารณะสมบัติ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
        ในการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย การตัดสินใจ และการตัดสินปัญหาต่างๆ จะต้องใช้เหตุผลพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่นและความยุติธรรม เพื่อให้เกิดผลที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งตามมาภายหลัง
        ขั้นตอนการปฎิบัติตนที่แสดงถึงการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
  1. ปัญหา/การกำหนดปัญหา
  2. วิเคราะห์สาเหตุ
  3. หาแนวทางการแก้ปัญหา
  4. เลือกวิธีการ
  5. กำหนดแนวปฎิบัติ
  6. ปฎิบัติตามแผนที่กำหนด
  7. ติดตามและประเมินผล
        การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลย่อมทำให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย แต่ถ้าหากไม่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1x42.gif
        เยาวชนไทยในฐานะพลเมืองของชาติ จะต้องตระหนักในบทบาทหน้าที่ของความเป็นพลเมืองดี และประพฤติปฎิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า และเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ
ผลการเรียนรู้
        1.ปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
        2.มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการตัดสินใจ ตรวจสอบข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
เรื่องที่ 1

มารยาทไทย
        มารยาทไทย เป็นมรดกที่แสดงถึงความเป็นไทย หากเราละเลยไม่ประพฤติปฎิบัติ อาจทำให้เอกลักษณ์ไทยเลือนหายไป จึงจำเป็นที่คนไทยจะต้องเรียนรู้และปฎิบัติอย่างถูกต้อง
1.มารยาทไทยในการแสดงความเคารพ
        การแสดงความเคารพ เป็นวัฒนธรรมของผู้เจริญ เป็นการแสดงออกถึงสัญญลักษณ์ที่มีความหมาย เช่น การเคารพนับถือ การทักทาย และยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมไทยอีกด้วย
        1.1. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
                การไหว้แบบไทย เป็นการแสดงความเคารพตามระดับของบุคคล โดยการประนมมือทั้งสอง ยกขึ้นจรดใบหน้า
        การไหว้ 3 ระดับ
ระดับ 1 การไหว้พระสงฆ์ ปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วกัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้แนบหน้าผาก
ระดับ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณ ผู้อาวุโส พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู-อาจารย์
        วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวน้อยกว่าการไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว (มืออยู่ส่วนกลางใบหน้า)
ระดับ 3 การไหว้บุคลทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือ
        วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายคาง นิ้วชี้แนบปลายจมูก
        
การไหว้บุคคลเสมอกัน
การไหว้บุคคลเสมอกัน กระทำกับผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และจะต้องปฎิบัติด้วยความสุภาพ
วิธีไหว้ ทั้งผู้ชายผู้หญิงให้ยกมือไหว้พร้อมกัน หรือเวลาใกล้เคียงกัน ค้อมศีรษะเล็กน้อย ไม่ต้องค้อมตัว ค่อยกลับเข้าสู่ท่าเดิมอย่างสงบ
การรับไหว้
        เมื่อผู้น้อยมาแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ผู้ใหญ่ต้องไหว้ตอบ
        วิธีรับไหว้ ประนมมือ กระพุ่มมือเล็กน้อย ให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือประกบเสมอกันแนบระหว่างอก ปลายนิ้งเฉียงขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย
        1.2. การมีส่วร่วมในการอนุรักษ์การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
                1.2.1. ศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงคุณค่าของการไหว้ โอกาสที่จะแสดงความเคารพ ตลอดจนการไหว้ที่ถูกต้องเหมาะสม ตามระดับบุคคลและกาลเทศะ
                1.2.2. นำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน ฝึก และปฎิบัติการไหว้ให้ถูกต้อง
                1.2.3. ร่วมกลุ่ม หรือจัดเป็นชุมรมอนุรักษ์กาารไหว้ขึ้นในสถานศึกษา
                1.2.4. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงความเคารพ ด้วยการไหว้ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่นรณรงค์ให้ความสำคัญต่อการไหว้ ด้วยการติดป้ายประกาศเชิญชวน ภาพโปสเตอร์แสดงการไหว้ที่ถูกต้อง จัดประกวดการไหว้ เชิญวิทยากรมาบรรยาย และสาธิตการไหว้ที่ถูกต้อง
2.มารยาทในการสนทนา
        การสนทนาเป็นการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึกความคิดเห็นระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรืในสิ่งที่สนใจร่วมกัน
        การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทในการสนทนา เพื่อให้การสนทนาเป้นไปในทิศทางที่ดี สร้างมิตรภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน
        2.1. มารยาทในการแนะนำให้รู้จักกัน
                2.1.1.แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง หากมีอาวุโสเท่าเทียมกัน
                2.1.2.แนะนำผู้อาวุโสน้อยกว่าให้รู้จักผู้อาวุโสมากกว่า
                2.1.3.แนะนำผู้มีตำแหน่งน้อยกว่าให้รู้จักผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
                2.1.4.แนะนำผู้มีอายุ ยศ ตำแหน่งเสมอกัน จะแนะนำใครก่อนก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงกับผู้ชายต้องแนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง
        เมื่อแนะนำให้รู้จักกัน ผู้อาวุโสน้อยกว่า ต้องแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ส่วนผู้อาวุโสมากกว่า จะต้องรับไหว้ หรือค้อมศีรษะ เพื่อรับการแสดงความเคารพ.
        2.2.มารยาทในการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์
                2.2.1.ควรพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและไม่ช้เวลานานเกินสมควร
                2.2.2.ไม่ควรพูดคุยโทรศัพท์ในเวลาเรียน ขณะขับรถ ขณะรับประทานอาหาร ขณะเข้าห้องน้ำหรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
                2.2.3.กรณีที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าโทรศัพท์ไปหผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสม ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง
                2.2.4.เมื่อรับโทรศัพท์ ควนเริ่มต่นทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” ครับ/ค่ะ
                2.2.5.ถ้าต้องการจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีการบอกอย่างนุ่มนวล และสุภาพ
        2.3.มารยาทในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                การสนทนาบนเครือข่ายอินเทอรฺเน็ต ด้วยการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพ เพื่อการสนทนาที่ถูกต้อง ควรปฎิบัติดังนี้
                2.3.1.พิมพ์ข้อความด้วยภาษาที่สุภาพ
                2.3.2.ไม่สนทนาหรือส่งภาพ (โพสต์) เรื่องเป็นความลับ เรื่องส่วนตัว เรื่องที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เรื่องที่สร้างความขัดแย้ง
                2.3.3.ไม่สนทนานานเกินไป เพราะอาจรบกวนเวลาส่วนตัวของผู้อื่น
                2.3.4.ส่งข้อความขณะที่คู่สนทนาอยู่ในสถานะออนไลน์
                2.3.5.ก่อนส่งไฟล์ข้อมูลหรือรูปภาพควรแจ้งให้ผู้ติดต่อทราบ
        
2.4.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา
                การอนุรักษ์และเผยแพร่มารยาทในการสนทนาในระดับของนักเรียน ควรปฎิบัติดังนี้
                2.4.1.ปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
                2.4.2.ไม่ใช้คำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ คำพูดส่อเสียด ดูหมิ่นเหยียดหยาม
                2.4.3.แสดงกิริยาวาจาท่าทางที่นุ่มนวล สุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ
                2.4.4.ไม่ใช้คำพูด ข้อความที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาไทย ในการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการสนทนาทั่วไป
                2.4.5.ระลึกเสมอว่า การสนทนาของนักเรียนนั้นเป็นการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การสนทนากัน ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจน ทั้งตัวควบกล้ำ ตัว ร ตัว ร ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย
                สิ่งที่นักเรียนต้องคำนึงถึงในเรื่องมารยาทในการสนทนาคือ สำนวน สำเนียง ภาษา กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับความเป็นไทย
3.มารยาทในการแต่งกาย
        การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญต่อภาพลักษณ์และบุคลิกของบุคคล เครื่องแต่งกายที่ดีจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคลให้งามสมวัย
        ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีการแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ เพื่อปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม
        3.1.การปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของการแต่งกาย การแต่งกายที่ดีเหมาะสมกับกาลเทศะ ควรปฎิบัติ ดังนี้
                3.1.1.การแต่งกายไปโรงเรียน แต่งกายด้วยชุดถูกระเบียบ เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย เสื้อผ้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์
                3.1.2.การแต่งกายไปวัด แต่งกายด้วยชุดที่รัดกุม ไม่ควรสวมชุดที่มีสีฉูดฉาดจนเกินไป ควรใช้เสื้อผ้าที่เรียบง่าย สะอาด
                3.1.3.การแต่งกายไปท่องเที่ยว ควรสวมเสื้อผ้าที่เบาสบาย ชุดที่สวมใส่ควรมีความคล่องตัว สวมชุดให้เหมาะกับกิจกรรม
                3.1.4.การแต่งกายไปงานเลี้ยง แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่จัดงาน ควรใช้เสื้อผ้าที่ดูดีเสริมบุคลิก สวมชชุดที่เหมาะสมกับวัยของตน
        3.2.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย
                ในปัจจุบัน การแต่งกายแบบสมัยนิยมมีอิทธิพลต่อเยาวชน จนทำให้หลงลืมวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยไปบ้าง และอาจส่งผลให้มายาทการแต่งกายแบบไทยเลือนหายไป เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์การแต่งกาย ทั้งในเรื่องของเอกลักษณ์ไทย และความมีระเบียบวินัยในการแต่งกาย ควรปฎิบัติดังนี้
                3.2.1.ตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งกายแบบไทย ในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ชาติ
                3.2.2.แต่งกายถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและสังคม
                3.2.3.เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้ถูกต้อง
                3.2.4.สร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อรณรงค์ให้มีความตระหนักถึงการแต่งกายตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและของสังคม
                3.2.5.จัดกิจกรรมส่งเสริมความมีวินัยในการแต่งกาย การอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย และการแสดงผลงานการอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย
4.การมีสัมมาคารวะ
        สัมมาคารวะ เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่แสดงออกทางกาย วาจา และใจ ต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม เห็นคุณธรรมความดีของบุคคลอื่น แล้วนำมาเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติตน
        4.1.การปฎิบัติตนของผู้มีสัมมาคารวะ การปฎิบัติตนมีสัมมาคารวะ สามารถแสดงออกได้ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
                4.1.1.ทางกาย เป็นการพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในสถานการณืต่างๆ
                        4.1.1.1.แสดงความเคารพบุคคลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
                        4.1.1.2.มีกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม
                        4.1.1.3.ปฎิบัติต่อบุคคลต่างๆ ด้วยความสุภาพ
                4.1.2.ทางวาจา เป็นการใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน เหมาะสมตามกาลเทศะ
                        4.1.2.1.ใช้คำสุภาพ ไม่ส่อเสียด ดุดัน กระโชกโฮกฮาก
                        4.1.2.2.พูดแต่ความสัตย์จริง ไม่โกหก
                        4.1.2.3.ใช้ภาษาที่เหมาะสมแก่สถานะของแต่ละบุคคล
                4.1.3.ทางใจ เป็นความรู้สึกนึกคิดในจิตใจที่มีต่อบุคคลรอบข้าง
                        4.1.3.1.การคิดถึงด้านดีของบุคคลอื่น
                        4.1.3.2.การรู้สึกเคารพบุคคลที่วัยสูงกว่าตน
                        4.1.3.3.การสำนึกในบุญคุณคน
        4.2.การมีส่วร่วมในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ
                นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ไปปฎิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องมารยาทการแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย ล้วนเป็นองคืประกอบของการมีสัมมาคาระวะ ซึ่งสามารถปฎิบัติได้ทุกที่ ดังนี้
                4.2.1.ที่โรงเรียน
                        4.2.1.1.ปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เช่น แต่งกายถูกต้อง เป็นต้น
                        4.2.1.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับเพื่อนๆ ฝึกกล่าวคำว่าขอบคุณ และขอโทษให้ติดเป็นนิสัย
                        4.2.1.3.ไม่คุยเล่นหรือทำงานอื่น ขณะครูกำลังสอน
                4.2.2.ที่บ้าน
                        4.2.2.1.แสดงความเคารพต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
                        4.2.2.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน พูดจาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
                        4.2.2.3.เมื่อเกิดขัดแย้งหรือมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ควรใช้วิธีรับฟังเหตุผลและค่อยๆ อธิบายให้ฟัง


ffo124.gif

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos