วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 3 การจัดระเบียบสังคม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดระเบียบสังคม
ใบความรู้ที่ 3
การจัดระเบียบสังคม

การจัดระเบียบสังคม หมายถึง กระบวนการที่ควบคุมสมาชิกในสังคมหนึ่งๆ เพื่อให้ทุกคนได้ปฏิบัติในแนวเดียวกัน การจัดระเบียบสังคมนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม ทำให้แต่ละสังคมมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ และบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างองค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม คุณลักษณะขององค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคมสรุปได้ 3 อย่างคือ
  • 1. สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลดำรงชีวิตอยู่ในสังคม หรือเป็นฐานะทางสังคมของบุคคลในชีวิตทางสังคม เป็นตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิก ทุกคนในสังคมย่อมมีสถานภาพตั้งแต่กลุ่มสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว จนกระทั่งกลุ่มสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือประเทศชาติ สถานภาพนั้นมี 2 ประเภท คือ
    •    1.1 สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น เพศ ชาติตระกูล เชื้อชาติ และเงื่อนไขทางเครือญาติ เป็นต้น
    •    1.2 สถานภาพที่ได้รับมาภายหลัง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
      • สถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ เป็นสถานภาพที่เฉพาะตัว เช่น นักกีฬา นักเรียน
      • สถานภาพที่ได้มาด้วยเงื่อนไขทางเครือญาติ เช่น ปู่ ตา พี่ ป้า ฯลฯ เป็นต้น
  • 2.  บทบาททางสังคม หมายถึง สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบที่บุคคลพึงปฏิบัติให้เหมาะสมกับสถานภาพของตน
    • 1. สถานภาพและบทบาทเป็นตัวกำกับซึ่งกันและกัน หากสมาชิกในสังคมใดสามารถแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะกับสถานภาพก็ย่อมมีผลทำให้สังคมเป็นระเบียบเจริญก้าวหน้าและสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างปกติ เช่น มีสถานภาพเป็นตำรวจก็แสดงบทบาทในการพิทักษ์สันติราษฎร์อย่างเข้มแข็งโดยไม่มีการทุจริตก็อาจทำให้สังคมสงบสุข เป็นต้น
    • 2. บทบาทขัดกัน สมาชิกต้องอยู่ร่วมกันในกลุ่มสังคมหลายกลุ่ม จึงทำให้แต่ละบุคคลต้องมีหลายสถานภาพ และหลายบทบาท บางครั้งอาจนำไปสู่ปัญหาบทบาทที่ขัดแย้งกันแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และการกระทำในบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งได้ เช่น สามีเป็นตำรวจที่มีหน้าที่ปราบปรามการทำผิด แต่ภรรยาเป็นนักเล่นการพนัน ในฐานะสามีต้องดูแลภรรยาให้ดีที่สุด แต่ในฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องจับกุมภรรยาผู้กระทำการผิดกฎหมายจึงทำให้เกิดความอึดอัดใจ เป็นปัญหาที่เกิดจากบทบาทขัดกัน และการขัดกันในบทบาทเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้องตัดสินใจตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น
  • 3. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นมาตรฐานความประพฤติที่มนุษย์ในสังคมกำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกของสังคมเพื่อประพฤติปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นหากสมาชิกในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนย่อมมีความผิดถูกลงโทษซึ่งมาตรการในการลงโทษอาจจะรุนแรงมากน้อยต่างกันตามประเภทของบรรทัดฐาน
    • 1. วิถีประชา เป็นมาตรฐานความประพฤติที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความดีความชั่ว แต่เป็นแนวทางที่สมาชิกของสังคมนิยมปฏิบัติกันมาจนเป็นประเพณี เป็นความเคยชินเนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่เด็กจนโต เช่น มารยาทในสังคมต่างๆ รวมถึงวิถีในการดำเนินชีวิตซึ่งผู้ที่ล่วงละเมิด จะได้ รับการลงโทษด้วยการติเตียน เยาะเย้ย ถากถาง นินทาจากคนในสังคม
    • 2. กฎศีลธรรมหรือจารีต  เป็นมาตรฐานความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความดีและความชั่ว ความมีคุณธรรมทางจิตใจ เช่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู สังคมมักเข้มงวดหรือเคร่งครัดกับผู้ละเมิดหรือผู้ไม่ปฏิบัติตามเพราะส่งผลกระทบต่อสมาชิกโดยส่วนรวม มาตรการในการลงโทษรุนแรงกว่าวิถีประชา เช่น การไม่คบหาสมาคมด้วย การนินทา การประจาน หรือการขับไล่ออกจากกลุ่ม ตัวอย่างการกระทำผิดจารีต เช่น การที่ผู้หญิงที่มีสามีแล้วแอบลักลอบมีชู้ เป็นต้น
    • 3. กฎหมาย เป็นมาตรฐานความประพฤติที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการลงโทษอย่างเป็นทางการ มีหน่วยงานควบคุมอย่างชัดเจนและผู้ที่ฝ่าฝืนจะได้รับการลงโทษรุนแรงมากหรือน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความผิด ซึ่งกฎหมายจะมีพื้นฐานมาจากจารีตประเพณีของประเทศนั้นเป็นสำคัญ ทั้งวิถีประชาและกฎศีลธรรม ไม่มีบทลงโทษที่ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกได้ว่าเป็นการลงโทษทางสังคมหรือการลงโทษอย่างไม่เป็นทางการก็ได้ แต่กฎหมายเป็นการลงโทษอย่างเป็นทางการหรือทางนิตินัย


ggr125.gif
วิชาหน้าที่พลเมือง
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos