วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 46 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

     ไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยาได้มีกองทหารอาสาของญี่ปุ่นเข้ามาร่วมรบกับทหารไทยหลายครั้ง รวมถึงการติดต่อค้าขายกันเรื่อยมา
โดยเฉพาะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้ไทยได้รับดินแดนที่ชาติตะวันตกยึดครองกลับคืนมาและในระยะแรกไทยเข้าร่วมรบโดยเป็นฝ่ายเดียวกับประเทศญี่ปุ่น
และหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาประเทศไทยกับญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจต่อกันเป็นส่วนใหญ่ โดยทางด้านการค้าประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ทำให้ประสบกับการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
โดยมียอดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากสินค้าจากญี่ปุ่นเป็นสินค้าประเภททุน เครื่องจักรกลที่มีราคาแพง ด้านการลงทุน นักลงทุนชาวญี่ปุ่นจะเป็นนักลงทุนชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด
ทำให้ไทยได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ทางด้านอุตสาหกรรม เพิ่มทักษะความรู้ความชำนาญให้กับช่างฝีมือชาวไทยอย่างมาก
นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้ทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาวแก่ประเทศไทยในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นจำนวนมากผ่านทางสถาบันทางการเงินต่าง ๆ
นอกนั้นทางด้านการเมืองการปกครอง ปัจจุบันทั้งสองประเทศก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตั้งแต่พระราชวงศ์ที่มีการเสด็จเยี่ยมเยือนกันตลอดมา และในระดับรัฐบาลก็มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดต่อกันในด้านต่างๆ
   สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0 และนำเข้าร้อยละ 20.5 การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น (พ.ศ. 2550) ที่ได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 49 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด จากต่างประเทศ
การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา อย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ปุ่น ต่อไทยในรูปทวิภาคี ก็คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 - 80 ของการช่วยเหลือ ทั้งหมดที่ประเทศไทยได้รับ จากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศกลุ่ม DAC
   สิ่งที่ฝ่ายไทยให้ความสนใจ นอกจากการส่งเสริมการลงทุน ทางการค้า โดยเฉพาะ การทุ่มเทให้แก่ การส่งเสริมการส่งออก ดังเช่นในปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤต ฝ่ายไทย ให้ความสนใจในเรื่องการส่งออกไปญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos