วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหาควมขัดแย้ง

เรื่องที่ 3
1x42.gif
การแก้ปัญหาควมขัดแย้ง
        ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค ดังนั้น เราจึงควรรู้และเข้าใจถึงปัญหา ลักษณะของปัญหา สาเหตุ พฤติกรรม ผลกระทบ การป้องกันและการแก้ไข รวมทั้งเป็นแนวทางการสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้เกิดความสันติสุขในระดับต่างๆ
1.การทะเลาะวิวาท
        การทะเลาะวิวาท เป็นสถานการณ์ความขัดแย้งระดับที่ใช้ความรุนแรงต่อกันด้วยคำพูด การใช้กำลัง และถึงขั้นใช้อาวุธทำร้ายกัน
        อาจเป็นการทะเลาะระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือระหว่างองค์กร สถาบัน ทำให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียด เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกัน ไม่มั่นใจในความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรคเป็นพวก และขาดความสามัคคีปรองดอง
  1. ปัจจัยที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท
  1. ความอิจฉาริษยา ความไม่ชอบหน้า ความเป็นคู่อริ เช่น ไม่ชอบบุคลิกของอีกฝ่าย
  2. ต้องการแสดงความเหนือกว่าผู้อื่น เช่น กรณีรับน้อง รุ่นพี่ใช้วาจาข่มขู่
  3. การดื่มสุรา เสพสิ่งเสพติด ทำให้ขาดสติ
  4. อารมณ์และความคึกคะนองตามวัย เช่น วัยรุ่นยกพวกตีกัน
      2.  แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท
  1. ครอบครัว สถานศึกษา ควรเป็นแบบอย่างในการปลูกฝัง อบรม เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
  2. ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ทะเลาะวิวาทหรือแสดงความขัดแย้งให้เด็กจดจำเป็นแบบอย่าง
  3. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น กีฬา ดนตรี
  4. ใช้หลักธรรมทางศาสนา สร้างทัษนคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
        ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เป็นความไม่ลงรอยกันในทางความคิด ความรู้สึก ความต้องการอุดมการณ์ ทำให้ต่างฝ่ายต่างพยายามเอาชนะต่อกัน พยายามโน้มน้าวความคิดให้เกิดการยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายตน ซ฿่งสาเหตุเช่น ความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงและเรื่องราที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ไม่ตรงกัน วิธีคิด ทัศนคติ ที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของบุคคลไม่ดี นำไปสู่ความขัดแย้งหรือทะเลาะวิวาทกัน
2.1. วิธีแก้ปัญหาความคิดเห็นไม่ตรงกัน
  1. ทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมและมีเป้าหมายตรงกัน
  2. เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี และปรับเปลี่ยนทัศนคติของตัวเองให้เข้ากับกลุ่ม
  3. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
  4. เมื่อมีเหตุการณ์ความเข้าใจผิดต่อกัน ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อปรับความเข้าใจ
3.การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดสันติวิธี
        การใช้หลักสันติวิธีในการแก้ปัญหา มีความสำคัญยิ่งในสังคมประชาธิปไตย เพื่อทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งคลี่คลายลงหรือยุติได้ หรือเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุนแรง นำไปสู่ความแตกแยกและความไม่สงบสุขในสังคม ซึ่งมีวิธีการดังนี้
3.1. การเจรจาไกล่เกลี่ย
        3.1.1. ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นคนกลางเพื่อเจรจาระหว่างคู่กรณี
        3.1.2. ผู้ไกล่เกลี่ยจะให้คู่กรณีผลัดกันเล่าถึงปัญหา
        3.1.3. ร่วมกันหาข้อสรุปของปัญหา โดยใช้เหตุผล
3.2. การเจรจาต่อรอง
        3.2.1. คู่กรณีนัดเจรจาต่อรองกันเอง
3.2.2. ทั้งสองฝ่ายทำการพูดคุยกันเอง เพื่อแสดงออกถึงความต้องการของตน
3.2.3. หาข้อสรุปร่วมกันเพื่อความพอใจของทั้งสองฝ่าย
3.2.4. ทำการตกลงและปฎิบัติตามที่ตกลงกันไว้
3.3. การระงับความขัดแย้ง
3.3.1. สามารถทำได้โดยเริ่มจากการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือต่อรอง
3.3.2. หากไม่สำเร็จ ก้สามารถ ใช้วิธีตามกฎหมาย เช่น ให้ศาลวินิจฉัย
ffo124.gif
                
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos