วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 มารยาทไทย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 1 มารยาทไทย
เรื่องที่ 1

มารยาทไทย
        มารยาทไทย เป็นมรดกที่แสดงถึงความเป็นไทย หากเราละเลยไม่ประพฤติปฎิบัติ อาจทำให้เอกลักษณ์ไทยเลือนหายไป จึงจำเป็นที่คนไทยจะต้องเรียนรู้และปฎิบัติอย่างถูกต้อง
1.มารยาทไทยในการแสดงความเคารพ
        การแสดงความเคารพ เป็นวัฒนธรรมของผู้เจริญ เป็นการแสดงออกถึงสัญญลักษณ์ที่มีความหมาย เช่น การเคารพนับถือ การทักทาย และยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมไทยอีกด้วย
        1.1. การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
                การไหว้แบบไทย เป็นการแสดงความเคารพตามระดับของบุคคล โดยการประนมมือทั้งสอง ยกขึ้นจรดใบหน้า
        การไหว้ 3 ระดับ
ระดับ 1 การไหว้พระสงฆ์ ปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วกัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้แนบหน้าผาก
ระดับ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณ ผู้อาวุโส พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครู-อาจารย์
        วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวน้อยกว่าการไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว (มืออยู่ส่วนกลางใบหน้า)
ระดับ 3 การไหว้บุคลทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือ
        วิธีไหว้ ยืนตรงค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ นิ้วหัวแม่มืออยู่ปลายคาง นิ้วชี้แนบปลายจมูก
        
การไหว้บุคคลเสมอกัน
การไหว้บุคคลเสมอกัน กระทำกับผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และจะต้องปฎิบัติด้วยความสุภาพ
วิธีไหว้ ทั้งผู้ชายผู้หญิงให้ยกมือไหว้พร้อมกัน หรือเวลาใกล้เคียงกัน ค้อมศีรษะเล็กน้อย ไม่ต้องค้อมตัว ค่อยกลับเข้าสู่ท่าเดิมอย่างสงบ
การรับไหว้
        เมื่อผู้น้อยมาแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ผู้ใหญ่ต้องไหว้ตอบ
        วิธีรับไหว้ ประนมมือ กระพุ่มมือเล็กน้อย ให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือประกบเสมอกันแนบระหว่างอก ปลายนิ้งเฉียงขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย
        1.2. การมีส่วร่วมในการอนุรักษ์การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
                1.2.1. ศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงคุณค่าของการไหว้ โอกาสที่จะแสดงความเคารพ ตลอดจนการไหว้ที่ถูกต้องเหมาะสม ตามระดับบุคคลและกาลเทศะ
                1.2.2. นำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน ฝึก และปฎิบัติการไหว้ให้ถูกต้อง
                1.2.3. ร่วมกลุ่ม หรือจัดเป็นชุมรมอนุรักษ์กาารไหว้ขึ้นในสถานศึกษา
                1.2.4. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงความเคารพ ด้วยการไหว้ขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่นรณรงค์ให้ความสำคัญต่อการไหว้ ด้วยการติดป้ายประกาศเชิญชวน ภาพโปสเตอร์แสดงการไหว้ที่ถูกต้อง จัดประกวดการไหว้ เชิญวิทยากรมาบรรยาย และสาธิตการไหว้ที่ถูกต้อง
2.มารยาทในการสนทนา
        การสนทนาเป็นการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึกความคิดเห็นระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรืในสิ่งที่สนใจร่วมกัน
        การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับมารยาทในการสนทนา เพื่อให้การสนทนาเป้นไปในทิศทางที่ดี สร้างมิตรภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน
        2.1. มารยาทในการแนะนำให้รู้จักกัน
                2.1.1.แนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง หากมีอาวุโสเท่าเทียมกัน
                2.1.2.แนะนำผู้อาวุโสน้อยกว่าให้รู้จักผู้อาวุโสมากกว่า
                2.1.3.แนะนำผู้มีตำแหน่งน้อยกว่าให้รู้จักผู้มีตำแหน่งสูงกว่า
                2.1.4.แนะนำผู้มีอายุ ยศ ตำแหน่งเสมอกัน จะแนะนำใครก่อนก็ได้ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงกับผู้ชายต้องแนะนำผู้ชายให้รู้จักผู้หญิง
        เมื่อแนะนำให้รู้จักกัน ผู้อาวุโสน้อยกว่า ต้องแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ส่วนผู้อาวุโสมากกว่า จะต้องรับไหว้ หรือค้อมศีรษะ เพื่อรับการแสดงความเคารพ.
        2.2.มารยาทในการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์
                2.2.1.ควรพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและไม่ช้เวลานานเกินสมควร
                2.2.2.ไม่ควรพูดคุยโทรศัพท์ในเวลาเรียน ขณะขับรถ ขณะรับประทานอาหาร ขณะเข้าห้องน้ำหรืออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
                2.2.3.กรณีที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าโทรศัพท์ไปหผู้ใหญ่ ต้องคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสม ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง
                2.2.4.เมื่อรับโทรศัพท์ ควนเริ่มต่นทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” ครับ/ค่ะ
                2.2.5.ถ้าต้องการจบบทสนทนาทางโทรศัพท์ ควรใช้วิธีการบอกอย่างนุ่มนวล และสุภาพ
        2.3.มารยาทในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                การสนทนาบนเครือข่ายอินเทอรฺเน็ต ด้วยการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพ เพื่อการสนทนาที่ถูกต้อง ควรปฎิบัติดังนี้
                2.3.1.พิมพ์ข้อความด้วยภาษาที่สุภาพ
                2.3.2.ไม่สนทนาหรือส่งภาพ (โพสต์) เรื่องเป็นความลับ เรื่องส่วนตัว เรื่องที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เรื่องที่สร้างความขัดแย้ง
                2.3.3.ไม่สนทนานานเกินไป เพราะอาจรบกวนเวลาส่วนตัวของผู้อื่น
                2.3.4.ส่งข้อความขณะที่คู่สนทนาอยู่ในสถานะออนไลน์
                2.3.5.ก่อนส่งไฟล์ข้อมูลหรือรูปภาพควรแจ้งให้ผู้ติดต่อทราบ
        
2.4.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทในการสนทนา
                การอนุรักษ์และเผยแพร่มารยาทในการสนทนาในระดับของนักเรียน ควรปฎิบัติดังนี้
                2.4.1.ปฎิบัติตนให้เป็นแบบอย่างในการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
                2.4.2.ไม่ใช้คำหยาบ คำที่ไม่สุภาพ คำพูดส่อเสียด ดูหมิ่นเหยียดหยาม
                2.4.3.แสดงกิริยาวาจาท่าทางที่นุ่มนวล สุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ
                2.4.4.ไม่ใช้คำพูด ข้อความที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาไทย ในการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการสนทนาทั่วไป
                2.4.5.ระลึกเสมอว่า การสนทนาของนักเรียนนั้นเป็นการใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การสนทนากัน ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจน ทั้งตัวควบกล้ำ ตัว ร ตัว ร ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย
                สิ่งที่นักเรียนต้องคำนึงถึงในเรื่องมารยาทในการสนทนาคือ สำนวน สำเนียง ภาษา กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับความเป็นไทย
3.มารยาทในการแต่งกาย
        การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญต่อภาพลักษณ์และบุคลิกของบุคคล เครื่องแต่งกายที่ดีจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของบุคคลให้งามสมวัย
        ดังนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีการแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ เพื่อปฎิบัติได้อย่างเหมาะสม
        3.1.การปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของการแต่งกาย การแต่งกายที่ดีเหมาะสมกับกาลเทศะ ควรปฎิบัติ ดังนี้
                3.1.1.การแต่งกายไปโรงเรียน แต่งกายด้วยชุดถูกระเบียบ เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย เสื้อผ้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์
                3.1.2.การแต่งกายไปวัด แต่งกายด้วยชุดที่รัดกุม ไม่ควรสวมชุดที่มีสีฉูดฉาดจนเกินไป ควรใช้เสื้อผ้าที่เรียบง่าย สะอาด
                3.1.3.การแต่งกายไปท่องเที่ยว ควรสวมเสื้อผ้าที่เบาสบาย ชุดที่สวมใส่ควรมีความคล่องตัว สวมชุดให้เหมาะกับกิจกรรม
                3.1.4.การแต่งกายไปงานเลี้ยง แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่จัดงาน ควรใช้เสื้อผ้าที่ดูดีเสริมบุคลิก สวมชชุดที่เหมาะสมกับวัยของตน
        3.2.การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย
                ในปัจจุบัน การแต่งกายแบบสมัยนิยมมีอิทธิพลต่อเยาวชน จนทำให้หลงลืมวัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยไปบ้าง และอาจส่งผลให้มายาทการแต่งกายแบบไทยเลือนหายไป เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์การแต่งกาย ทั้งในเรื่องของเอกลักษณ์ไทย และความมีระเบียบวินัยในการแต่งกาย ควรปฎิบัติดังนี้
                3.2.1.ตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งกายแบบไทย ในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ชาติ
                3.2.2.แต่งกายถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและสังคม
                3.2.3.เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้ถูกต้อง
                3.2.4.สร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อรณรงค์ให้มีความตระหนักถึงการแต่งกายตามระเบียบแบบแผนของโรงเรียนและของสังคม
                3.2.5.จัดกิจกรรมส่งเสริมความมีวินัยในการแต่งกาย การอนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย และการแสดงผลงานการอนุรักษ์การแต่งกายแบบไทย
4.การมีสัมมาคารวะ
        สัมมาคารวะ เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่แสดงออกทางกาย วาจา และใจ ต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม เห็นคุณธรรมความดีของบุคคลอื่น แล้วนำมาเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติตน
        4.1.การปฎิบัติตนของผู้มีสัมมาคารวะ การปฎิบัติตนมีสัมมาคารวะ สามารถแสดงออกได้ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
                4.1.1.ทางกาย เป็นการพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในสถานการณืต่างๆ
                        4.1.1.1.แสดงความเคารพบุคคลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
                        4.1.1.2.มีกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม
                        4.1.1.3.ปฎิบัติต่อบุคคลต่างๆ ด้วยความสุภาพ
                4.1.2.ทางวาจา เป็นการใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน เหมาะสมตามกาลเทศะ
                        4.1.2.1.ใช้คำสุภาพ ไม่ส่อเสียด ดุดัน กระโชกโฮกฮาก
                        4.1.2.2.พูดแต่ความสัตย์จริง ไม่โกหก
                        4.1.2.3.ใช้ภาษาที่เหมาะสมแก่สถานะของแต่ละบุคคล
                4.1.3.ทางใจ เป็นความรู้สึกนึกคิดในจิตใจที่มีต่อบุคคลรอบข้าง
                        4.1.3.1.การคิดถึงด้านดีของบุคคลอื่น
                        4.1.3.2.การรู้สึกเคารพบุคคลที่วัยสูงกว่าตน
                        4.1.3.3.การสำนึกในบุญคุณคน
        4.2.การมีส่วร่วมในการปฎิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ
                นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ไปปฎิบัติจริงในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องมารยาทการแสดงความเคารพ การสนทนา การแต่งกาย ล้วนเป็นองคืประกอบของการมีสัมมาคาระวะ ซึ่งสามารถปฎิบัติได้ทุกที่ ดังนี้
                4.2.1.ที่โรงเรียน
                        4.2.1.1.ปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เช่น แต่งกายถูกต้อง เป็นต้น
                        4.2.1.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพกับเพื่อนๆ ฝึกกล่าวคำว่าขอบคุณ และขอโทษให้ติดเป็นนิสัย
                        4.2.1.3.ไม่คุยเล่นหรือทำงานอื่น ขณะครูกำลังสอน
                4.2.2.ที่บ้าน
                        4.2.2.1.แสดงความเคารพต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
                        4.2.2.2.ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน พูดจาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
                        4.2.2.3.เมื่อเกิดขัดแย้งหรือมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ควรใช้วิธีรับฟังเหตุผลและค่อยๆ อธิบายให้ฟัง


ffo124.gif

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 กันยายน 2561 เวลา 19:39

    หนูไม่มีหนังสือหน้าที่พลเมือง​ แต่พอมาเจอเว็ปนี้​ ก็ได้ติวสอบเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ได้เว็ปี้ดีมากเลยครูให้สอบพอดี

    ตอบลบ

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos