วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 22 การเปลี่ยนแปลงและปัญหาในสังคมไทย


ใบความรู้ที่ 22  
การเปลี่ยนแปลงและปัญหาในสังคมไทย

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสำคัญของสมาชิกในสังคมไทย ซึ่งมี 3 ด้าน คือ ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ของสังคมไทยมีดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครอง มีการปกครองในแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัยตอนต้น โดยพระมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดกับประชาชน และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองมาเป็นการปกครองแบบธรรมราชา
ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งความสำคัญของพระมหากษัตริย์กับประชาชนห่างเหินกันมากขึ้น และมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือเทวราชา ที่ยกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ
เป็นรูปแบบการปกครองที่ใช้จนถึงต้นสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการประกาศยกเลิก โดยมีการปกครองแบบมณฑล แทนการจัดหัวเมือง ยกเลิกจตุสดมภ์ และตั้งกระทรวงต่าง ๆ เข้ามาทำหน้าที่แทน
รวมถึงการตั้งสภาเพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมาถึงยุคสมัยของรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 24  มิถุนายน  พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยน แปลง ทางด้านการเมืองการปกครองที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองจากแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย


2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  คนไทยจากอดีตถึงปัจจุบันยึดอาชีพในการทำการเกษตรตลอดมา ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จะเป็นเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ ซึ่งการผลิตสินค้าด้านต่าง ๆ  จะใช้เพื่อบริโภคภายในครอบครัว หรือชุมชนของตัวเองเป็นสำคัญ การค้าขายยังไม่แพร่หลาย เป็นการค้าขายกับจีนเป็นสำคัญ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไทยได้ทำสัญญาเบาว์ริ่งกับประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญจากเศรษฐกิจเพื่อยังชีพมาเป็นเศรษฐกิจเพื่อการค้า สมัยของรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์  ในปี พ.ศ.2504 ได้มีการประกาศให้ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกและใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
3. การเปลี่ยนปลงทางด้านสังคมวัฒนธรรมของไทย สังคมวัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิผลมาจากพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน เป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียและจีนเป็นส่วนใหญ่ สมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการแบ่งแยกชนชั้นของคนในสังคม โดยใช้ศักดินาเป็นเครื่องมือแบ่งคนในสังคมออกเป็น 4ชนชั้น คือ ชนชั้นเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส และใช้มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์ได้ทรงประกาศเลิกไพร่และทาส ทำให้ไม่มีชนชั้นในสังคมอีกต่อไป คนไทยจึงมีสิทธิเท่าเทียมกันจนถึงปัจจุบันและสังคมไทยได้รับเอาวัฒนธรรมของชาติตะวันตกมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น การแต่งกาย ความนิยมในด้านวัตถุต่างๆ เป็นต้น

วิชาหน้าที่พลเมือง

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos