วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่พลเมืองสาระเพิ่ม 5

ใบความรู้
เรื่อง  โครงสร้างทางสังคม
1x42.gif

ความหมายของโครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคม  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์อย่างเป็นระเบียบของกลุ่มคนที่มารวมกันเป็นกลุ่มสังคม โดยการมีมาตรฐานความประพฤติที่เป็นอันจะทำให้สังคมเกิดความคงทน มั่นคง

องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม

องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย  การจัดระเบียบทางสังคมและสถาบันทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
ร.ต.อ. ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์  ได้กล่าวถึงความหมายของการจัดระเบียบทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคมในที่นี้เป็นแนวคิดที่ผมจะให้นิยามย่อ ๆ หมายถึง การพัฒนากฎระเบียบ  การบังคับใช้กฎระเบียบ  การประเมินผลกฎระเบียบทางสังคม ที่นำไปสู่ความศิวิไลซ์…” ศิวิไลซ์  แปลว่า  สังคมที่เข้มแข็ง  ที่มั่นคง  ยุติธรรม  ประชาชนมีความสุข
สถาบันทางสังคม

1)  ความหมายของสถาบันทางสังคม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2525  ได้ให้ความหมายของ สถาบันไว้ว่าเป็นสิ่งที่ซึ่งคนส่วนรวม  คือ  สังคมจัดตั้งให้ดีขึ้น  เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน  เช่น  สถาบันครอบครัว  สถาบันศาสนา  สถาบันการศึกษา  สถาบันการเมือง

2)  องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม

สถาบันทางสังคมมีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ
(1)    องค์การทางสังคม  เป็นตัวแทนในการทำหน้าที่ของสถาบัน  มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
สถานภาพ บทบาท
(2)    หน้าที่ หมายถึง  การกระทำหรือกิจกรรม  ซึ่งเป็นภาระผูกพันที่บุคคลจะต้องปฏิบัติ
     เพื่อสนองความต้องการที่จำเป็นของสังคม
(3)    แบบแผนการปฏิบัติ หมายถึง  แบบแผนแนวคิด  และการกระทำที่เป็นบรรทัดฐานของสมาชิกในสังคม
1x42.gif
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา
เสลภูมิพิทยาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos