วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 25 ลักษณะและประเภทของกฏหมาย


ใบความรู้ที่ 25  
ลักษณะและประเภทของกฏหมาย

ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายโดยทั่วไปจะมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ คือ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับให้ประชาชนพลเมืองกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ  การที่เราทราบว่าใครมีอำนาจสูงสุดในประเทศต้องดูจากระบอบการปกครองของประเทศนั้นว่ามีการปกครองในระบอบใด หรือปกครองโดยใคร คำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากผู้มีอำนาจย่อมเป็นกฎหมาย
3. กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป  โดยทั่วไปกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับนั้นต้องมีการประกาศให้ทุกคนทราบเสียก่อน สำหรับกฎหมายไทยจะประกาศทางหนังสือของราชการที่เรียกว่าราชกิจจานุเบกษา  กฎหมายเมื่อถูกใช้บังคับแล้วย่อมมีผลบังคับได้โดยทั่วไป คือใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนไม่บังคับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ทั้งนี้เมื่อกฎหมายได้ประกาศใช้แล้ว จะต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถ้าหากไม่มีสภาพบังคับแล้วก็ไม่ใช่กฎหมาย



ประเภทของกฎหมายจำแนกตามขอบเขตของการใช้ มี 2 ประเภท คือ
1. กฎหมายระหว่างประเทศ คือ กฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ แผนกคดีเมือง แผนกคดีบุคคล และแผนกคดีอาญา
2. กฎหมายภายในประเทศ คือ กฎหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้นเป็นกฎหมายที่เกิดจากอธิปไตยของรัฐนั้น จำแนกได้ 2 ประเภท
  กฎหมายเอกชน  บัญญัติเกี่ยวกับความสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคล แบ่งออกได้ดังนี้
   1. กฎหมายแพ่ง  บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
2. กฎหมายพาณิชย์  กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลที่ทำธุรกิจการค้า
  3. กฎหมายพิจารณาความแพ่ง  เป็นกฎหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีความแพ่ง ซึ่งผู้พิพากษาจะต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์ตัดสิน
   กฎหมายมหาชน  เป็นกฎหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นคู่กรณีกับเอกชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้บังคับใช้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
   1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศจะกำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตยและอื่น ๆไว้ ซึ่งกฎหมายอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
   2. กฎหมายการปกครอง  เป็นกฎหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญ
   3. กฎหมายอาญา  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางอาญา เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
   4. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียด วิธีพิจารณาความคดีอาญาในศาล
   5. กฎหมายเกี่ยวกับภาษี เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดทางภาษี




ประเภทของกฎหมายจำแนกตามองค์กรที่จัดทำกฎหมาย
1. กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรพิเศษ  ได้แก่  รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จัดร่างโดยองค์กรพิเศษที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
2. กฎหมายที่จัดทำโดยนิติบัญญัติ  ได้แก่ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามตำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภาและมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายในพระราชกิจจานุเบกษา
3. กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายบริหาร
       1.  พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีและมีผลบังคับใช้เมื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาออกในสถานการณ์ฉุกเฉิน
       2. พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตรยิ์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายรายละเอียดตามที่พระราชบัญญัติหรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
      3.  กฎกระทรวง  คือ กฎหมายซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้
       4.  กฎหมายที่จัดทำโดยองค์การส่วนท้องถิ่น  กฎหมายประเภทนี้เป็นกฎหมายที่มีฐานะต่ำกว่ากฎหมายพระราชบัญญัติ และผลบังคับใช้เฉพาะในองค์กรส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ มิได้ใช้บังคับทั่วประเทศ

ประเภทของกฎหมายที่จัดตามบทบาทของกฎหมาย
1. กฎหมายสารบัญญัติ  เป็นกฎหมายซึ่งกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลตามกฎหมาย โดยบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษทางอาญาหรือแพ่งแล้วแต่กรณี กฎหมายสารบัญญัติเป็นกฎหมายที่กำหนดแต่เนื้อหาของกฎหมายล้วนๆ
2. กฎหมายวิธีบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ใช้ประกอบกับกฎหมายสารบัญญัติ หรือกำหนดวิธีบังคับให้เป็นไปตามสิทธิ หน้าที่หรือกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายสารบัญญัติ โดยต้องอาศัยขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos