วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ  เรื่องที่ 1 ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องที่ 1
ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม และใน พ.ศ.2558 จะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน
        ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนจะต้องศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน เรียนรู้ความหลากหลาย เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1.ความหลากหลายของวิถีชีวิต
        จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นผืนแผ่นดินและหมู่เกาะ ประกอบกับการมีลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากร และการประกอบอาชีพของคนในภูมิภาคให้มีความหลากหลาย
2.ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนพหุสังคม มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
3.ความหลากหลายทางด้านศาสนา
        ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม โดยประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
4.ความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำ อาหาร และพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ยังมมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos