วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ตอนที่ 7 : เมนู "รูปภาพ"

เพิ่มองค์ประกอบหน้า ตอนที่ 7 : เมนู "รูปภาพ"

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ตอนที่ 7 ของการเพิ่มองค์กอบ "รูปภาพ" นั้น มาเริ่มกันที่ตัวอย่างของรูปภาพก่อนเลยนะครับ ที่ผมใส่ไว้ในบล็อกของผม และตอนท้าบทความ ผมจะสอนเทคนิคส่วนตัว เพราะว่าเวลาเขียนบทความ แล้วต้องเก็บรูปในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ไหว ไม่อย่างนั้นรูปภาพจะเยอะมากๆ ครับ



ตัวอย่างรูปภาพที่อยู่ด้านขวามือ ของ Side Bar ซึ่งส่วนใหญ่ผมจะวางไว้ด้านขวามือครับ




รูปภาพอีกตัวอย่างครับ
คราวนี้มาเริ่มอธิบายกันครับ องค์ประกอบ "รูปภาพ" นั้นผมใช้แทบทุกบล็อก อย่างน้อยต้องมีรูปภาพของตัวผมเอง เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักผม และผมยังถือว่า "การแสดงตัว" ของผม นั้นเท่ากับให้เกียรติผู้อ่าน ไม่ใช่ว่าผู้อ่านกำลังอ่านบทความของใครอยู่ก็ไม่รู้ แล้วจะเชื่อถือได้อย่างไร


เมื่อกดแบนเนอร์ จะเห็นหน้าต่างตามภาพข้างบน ซึ่งก็มีหัวข้อตามปกติ เช่น หัวข้อ, คำอธิบาย ลิงก์ และรูปภาพ ซึ่ง 2 ส่วนแรกคงไม่ต้องอธิบายมาก (ถ้าเพื่อนๆ ลองเล่นดูสักครั้ง 2 ครั้งก็จะทราบ) ผมคงขออธิบาย 2 ส่วนหลังละกันนะครับ
  • ลิงก์ มีไว้สำหรับใส่ URL ที่เมื่อภาพแสดงบนบล็อกแล้วกดที่รูปภาพ ก็จะไปที่หน้าเว็บบล็อก หรือเว็บไซต์นั้นๆ ถ้าไม่ใส่ ก็จะแสดงเป็นภาพปกติ ไม่มีเชื่อมโยงลิงก์ไหนครับ
  • การใส่รูปภาพ มีให้เราสามารถโหลดรูปได้จาก 2 แหล่ง คือ จากไฟล์ในคอมพิวเตอร์ กับ จากเว็บไซต์ (ซึ่งสามารถดูวิธีการนำ address ของรูปภาพมาใส่ ตามลิ้งค์นี้ครับ) ส่งนการติ๊กเครื่องหมายถูกในช่องที่เขียนว่า "ลดขนาดให้พอดี" นั้น จะมีมาแต่เดิมอยู่แล้ว เนื่องจากส่วนใหญ่ ภาพมักจะมีขนาดใหญ่กว่าแถบด้านข้าง (Side Bar) แต่ถ้าภาพเล็กกว่า จะเหมือนตัวอย่างข้างล่างครับ


จะเห็นว่า ภาพข้างลาง มีขนาดตามแนวนอนเล็กกว่า ภาพข้างบน เนื่องจากขนาดรูปภาพเดิม เล็กกว่าข้อกำหนดขนาดของแถบข้าง (Side Bar) ตามที่ผมอธิบายครับ ตรงเรื่องขนาดของภาพนั้น เพื่อนๆ อาจจะต้องศึกษาจากการตัดต่อภาพ ถ้าผมทำบล็อกนี้ ที่สอนการสร้างบล็อกทุกคนเสร็จ อาจจะอธิบายเพิ่มเติมอีกครั้งนะครับ



ต่อไปผมจะยกตัวอย่างกรณี โหลดรูปภาพ จากเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ เมื่อกดปุ่ม "Browse" ก็จะขึ้นหน้าต่าง Choose File ให้เลือกไฟล์ภาพจากที่ที่เราเก็บไว้

เมื่อเลือกไฟล์ฒ ได้แล้ว ผมจะมีเทคนิคส่วนตัวคือ ไปกดเมนูที่เป็นสัญลักษณ์ดูภาพ (ตามลูกศรแนะนำ) และเลือกกดที่ Thumbnails ก็เห็นเป็นภาพเล็กๆ

ซึ่งจะทำให้เราไม่ เลือกรูปภาพ ผิดพลาดได้ เพราะการจำชื่อไฟล์ภาพ อาจผิดพลาด ซึ่งจะทำให้เสียเวลา จากนั้นก็กดเลือกภาพ จากรูปตัวอย่างผมเลือกรูปเสื้อสีฟ้าตามลูกศร จากนั้นกดปุ่ม "Open"

ก็จะเห็นหน้าต่างในลักษณะกำลังโหลดไฟล์รูปภาพ รอสักครู่ ผมไม่ได้แก้ไขส่วน "ลดขนาดให้พอดี" ดังนั้นรูปภาพที่ได้ ก็จะมีขนาดพอดีกับขนาดของ "แถบด้านข้าง" (Side Bar)

เมื่อรอสักครู่ จนเห็นภาพที่เราเลือกแล้ว ให้กดปุ่ม "บันทึก" สีส้ม หน้าต่าง "การตั้งค่ารูปภาพ"จะหายไป

และจะเห็นส่วนองค์ประกอบของรูปภาพขึ้นอยู่อันดับแรกเสมอ (คือไม่ว่าจะเพิ่ม "องค์ประกอบ" อะไรก็ตาม ก็จะอยู่อันดับแรกเสมอครับ) ตามลูกศรข้อ 1. และเมื่อกด "บันทึก" สีส้ม ตามข้อ 2. รอสักครู่ส จะเห็นแถบเหลืองที่แจ้งว่า บันทึกข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเรียบร้อย จากนั้นสามารถกดเมนู "ดูบล็อก" ได้เลย ก็จะเห็นบล็อกที่บันทึกรูปภาพที่บริเวณ "แถบด้านข้าง" (Side Bar)

ดังตัวอย่างนี้ ที่ผมนำมาแสดงให้ดูนะครับ โปรดสังเกตนะครับ ว่าผมสร้างบล็อกที่ชื่อ Preeda Album 1 ไว้ด้วย ผมเอาไว้ใช้งานครับ แล้ววันหลังผมจะมาสอนเทคนิคที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบันอีกทีนะครับ เพราะเดี๋ยวจะยาว และไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ ครับ ตอนหน้าติดตามเรื่ององค์ประกอบ "รายชื่อลิงก์" กันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos