วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้าที่พลเมืองสาระเพิ่ม 1

ใบความรู้
พลเมืองเรื่องดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
1x42.gif
ความหมายของ พลเมืองดี ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
               พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้
               พลเมือง  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน
               วิถี  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน
               ประชาธิปไตย  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
               ดังนั้นคำว่า พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย

หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่
1)  หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
2)  หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น หรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3)  หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
4) หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
5)  หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัวประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี
6) หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
     หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข ในสังคมได้
แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
               พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1)  ด้านสังคม  ได้แก่
(1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
(3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
(5)    การเคารพระเบียบของสังคม
(6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่
(1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว
(2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
(3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
(4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
(5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
(6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
(1)    การเคารพกฎหมาย
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
(5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา
(6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา
1x42.gif
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา
เสลภูมิพิทยาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos