วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 43 นโยบายการต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

   หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ในโลกได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ซึ่งความแตกต่างทางอดุมการณ์ทางการเมือง คือฝ่ายเสรีนิยมซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยโซเวียต ซึ่งไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจีนเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับไทยมากนัก
   ชาติมหาอำนาจของโลก คือ สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตที่ทำสงครามเย็นกันมาตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดต่อกัน โดยสหภาพโซเวียตได้ประกาศนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงการที่จะใช้นโยบายปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะประเทศจีนไม่ได้ผล ประธานาธิปดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้เปิดสัมพันธไมตรีกับจีนขึ้นในปีค.ศ.1969 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศที่มีความขัดแย้งในด้านอุดมการณ์ทางการเมืองได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันทำให้ไทยที่เคยดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์มาโดยตลอดต้องเปลี่ยนนโยบายของตนโดยหันมาสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนเป็นครั้งแรกในรัฐบาลของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518 โดยลงนามกับนายกรัฐมนตรี โจ เอิน ไหล ของจีน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศครั้งสำคัญของไทย ซึ่งส่งผลให้ประเทศมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมาและเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน

ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
1. เป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่เกิดการปฏิวัติในประเทศจีนในปี พ.ศ.2492
2. ประเทศไทยลดภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ลง เพราะภัยจากคอมมิวนิสต์ถือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของไทยมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แต่เมื่อไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับจีน จึงทำให้ภัยคุกคามดังกล่าวลดลง
3. ส่งเสริมให้เศรษฐกิจของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เพราะสามารถที่จะค้าขายกับจีนได้มากขึ้น ถือเป็นการเปิดตลาดของสินค้าไทยครั้งสำคัญ ทำให้มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นมาจนถึงxปัจจุบัน
4. เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีการลดการเผชิญหน้าต่อกันของประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos