วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 34 กฏหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ใบความรู้ที่ 34
กฏหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
   การที่บุคคลหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น นอกจากจะเกิดความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่งแล้วบางกรณียังอาจจะก่อให้เกิดความรับผิดในทางอาญาด้วยก็ได้ การกระทำที่จะต้องรับผิดในทางอาญานั้น เป็นเรื่องของการกระทำที่มีความผิดและมีโทษในทางอาญา
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิด (ลักษณะความผิด) และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น (ลักษณะโทษ)
หลักเกณฑ์สำคัญของความผิดทางกฎหมายอาญา มีดังนี้
1. ไม่มีความผิดในทางอาญาถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้กล่าวคือ การกระทำใด ๆ จะเป็นความผิดทางอาญาต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นความผิด
2. ไม่มีโทษทางกฎหมายไม่บัญญัติไว้ให้ต้องรับโทษ กล่าวคือ บุคคลจะรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อมีกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่กระทำนั้น บัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เช่น โทษปรับ โทษจำคุก เป็นต้น
3.ไม่มีผลย้อนหลังให้รับโทษทางอาญา กล่าวคือ กฎหมายอาญาจะไม่มีผลย้อนหลังไปลงโทษบุคคลให้ต้องรับโทษ ถ้าในขณะที่กระทำนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่อาจย้อนหลังในทางที่เป็นคุณได้ ให้รับโทษน้อยลง
4. ต้องตีความโดยเคร่งครัด กล่าวคือ บทบัญญัติในกฎหมายอาญาจะตีความให้เป็นการขยายไปลงโทษหรือเพิ่มโทษในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนไม่ได้

กฎหมายอาญา คือ กฎหมายทุกอย่างที่บัญญัติถึงลักษณะความผิดและลักษณะโทษทางอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ต้องมีการกระทำ
การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก การละเมอ หรือการถูกสะกดจิตแล้วกระทำความผิดในระหว่างนั้น ย่อมไม่ใช่การกระทำ จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
2. ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดขึ้น จะมีขั้นตอนของการกระทำเป็น 3 ระยะ
  1.  การคิดที่จะกระทำ
2.  ตกลงใจหรือตัดสินใจที่จะกระทำ
  3.  ได้มีการกระทำตามที่ตกลงใจนั้น
3. การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เมื่อมี “การกระทำ” แล้วต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos