วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 37 วิธีการดำเนินคดีและโทษของกฏหมายอาญา

ใบความรู้ที่ 37
วิธีการดำเนินคดีและโทษของกฏหมายอาญา

การดำเนินคดีอาญานั้น มีความมุ่งหมายที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าข้อ เท็จจริงที่เกิดขึ้น อันเกิดจากการกระทำความผิดทางอาญานั้น ใครเป็นผู้กระทำความผิด และผู้ที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่
ซึ่งการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้นจะต้องกระทำโดยศาลตามหลักในกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ในกระบวนการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล
ถ้าเป็นคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ กฎหมายให้คดีเรื่องนั้นต้องได้รับการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายจากพนักงานสอบสวน และการสอบสวนของตำรวจนี้
กฎหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวน ที่จะรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ว่า จะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ
เพื่อจะนำมาพิสูจน์ความผิด เพื่อทราบลักษณะของการกระทำความผิด และเพื่อพิสูจน์ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำผิดจริงหรือไม่
ในกรณีที่มีหลักฐานน่าเชื่อว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนจะเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ต่อพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการดำเนินการสั่งฟ้องผู้ต้องหาต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าว กฎหมายจึงให้อำนาจตำรวจในการจับ ควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิด
หรืออำนาจในการค้นสถานที่ เพื่อหาสิ่งของที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน และยึดสิ่งของนั้นไว้ หรือค้นเพื่อจับตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำผิด
หรือปล่อยตัวบุคคลที่ควบคุมไว้ชั่วคราว โดยมีประกันและไม่มีประกัน เมื่อพนักงานอัยการได้สำนวนการสอบสวนจากตำรวจแล้วพนักงานอัยการ มีหน้าที่ตรวจสอบสำนวนการสอบสวน และทำคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
ถ้าพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง ก็จะนำคำฟ้องพร้อมด้วยตัวผู้ต้องหา ไปยื่นฟ้องต่อศาล แล้วนำพยานหลักฐานเข้าสืบ ซึ่งรวมถึงพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ด้วย
หรืออาจเป็นพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยานผู้ชำนาญการเข้ามา เพื่อการนำสืบข้อเท็จจริงในศาลนี้
พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ จะต้องนำหลักฐานมาสืบจนเป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด
ส่วนจำเลยก็มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานต่างๆ มาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการกระทำของตนไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา
    หลังจากที่ได้สืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจะวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่นำสืบต่อศาล
ถ้าเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ศาลจะพิพากษาลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติสำหรับความผิดนั้น
แต่ถ้าเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หรือมีเหตุอื่นที่จะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญา หรือคดีขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว ศาลจะพิพากษายกฟ้องและปล่อยจำเลยไป

วิธีดำเนินคดีทางอาญาสรุปสั้นๆได้ดังนี้
1.  การกระทำผิดแล้วมีการร้องทุกข์และกล่าวโทษหรือการแจ้งความ
2.  การสืบสวน สอบสวน ทำสำนวนคดีโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3.  การพิจารณาตรวจสอบสำนวนการสืบสวนสอบสวนของพนักงานอัยการ ถ้ามีหลักฐานอัยการก็จะสั่งฟ้องคดี และนำขบวนการไปสู่ชั้นศาลต่อไป ถ้าสำนวนไม่มีหลักฐานเพียงพอก็จะไม่สั่งฟ้องถือว่ายุติคดี
4.  เมื่ออัยการสั่งฟ้องต้องไปสู่การพิจารณาในกระบวนศาล ซึ่งมี 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา เมื่อศาลตัดสินคดีถึงที่สุดแล้วต้องไปสู่การบังคับคดี
5.  การบังคับคดี คดีอาญาผู้บังคับคดีคือกรมราชทัณฑ์ตามคำสั่งของศาล
โทษทางอาญา
จากเบาไปหนัก แบ่งออกเป็น 5 ชั้นคือ
1. การริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน เงินที่ได้มาโดยวิธีไม่สุจริต
2. การปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
3. การกักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ           4. การจำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
5. ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos