วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 การประพฤติปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

เรื่องที่ 1
1x42.gif
การประพฤติปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
--------------------------------------------------------------------------
        พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้รู้สิทธิและปฎิบัติหน้าที่ของตน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม หลักการประชาธิปไตย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ชุมชน และสังคม เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
        การเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมของนักเรียน เช่น เข้าร่วมในการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน มีส่วนร่วมในการอนุรักษืสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ สาธารณะสมบัติ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
        ในการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย การตัดสินใจ และการตัดสินปัญหาต่างๆ จะต้องใช้เหตุผลพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่นและความยุติธรรม เพื่อให้เกิดผลที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งตามมาภายหลัง
        ขั้นตอนการปฎิบัติตนที่แสดงถึงการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
  1. ปัญหา/การกำหนดปัญหา
  2. วิเคราะห์สาเหตุ
  3. หาแนวทางการแก้ปัญหา
  4. เลือกวิธีการ
  5. กำหนดแนวปฎิบัติ
  6. ปฎิบัติตามแผนที่กำหนด
  7. ติดตามและประเมินผล
        การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลย่อมทำให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย แต่ถ้าหากไม่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos