วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 42 อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

   การเมืองการปกครองเป็นแบบแผนความสัมพันธ์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในสังคมเดียวกัน การมีอำนาจบังคับสมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นระบบการเมืองการปกครองจึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โดยประชาชนทุกคนในสังคมจะต้องเคารพและปฏิบัติตนตามแนวทางเดียวกันตามที่ระบบการเมืองการปกครองนั้นกำหนด เช่น ประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลก็จะให้สิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตแก่ประชาชนอย่างมาก แต่หากเป็นระบบการเมืองการปกครองในระบอบเผด็จการสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดโดยอำนาจรัฐ เป็นต้น
    ในการศึกษาเรื่องประชาชนกับบทบาททางการเมืองนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทราบถึงเรื่องสิทธิ หน้าที่เสรีภาพและความสำนึกทางการเมือง  ตลอดจนมีความเข้าใจถึงพรรคการเมือง รวมไปถึงกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในสังคมไทยและมีอิทธิพลต่อระบบการเมืองการปกครอง   เช่น  กลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์  สื่อมวลชน  ระบบราชการรวมทั้งการแสดงประชามติ  หรือมติมหาชน หรือการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องต่างๆ  และจากรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2550  ยังมีองค์กรอิสระต่างๆ ที่ช่วยในการตรวจสอบ จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2550  ยังกำหนดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยรัฐธรรมนูญรับรอง การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง รวมทั้ง บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองเรื่องการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธินอกจากนี้ในมาตรา 29 ยังกำหนดว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
   จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550  จะเห็นว่าได้กำหนดเรื่องสิทธิ ของบุคคลไว้อย่างชัดเจนคือหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 26-69 และหมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 70-74 และที่ผ่านมาไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญไทยฉบับใดที่มีการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงนับได้ว่า  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชนชาวไทยเท่าเทียมกับกฎหมายสากลทั่วไป  สิ่งที่ควรรู้ต่อไปคือคำว่าสิทธิหมายถึงอะไรและบุคคลมีสิทธิเรื่องใดบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos