วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 23 ความหมายและที่มาของกฏหมาย


ใบความรู้ที่ 23  
ความหมายและที่มาของกฏหมาย

การมีกฎหมายคู่สังคม ทำให้การแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน แล้วแต่มุมของบุคคล ดังนั้นการให้คำจำกัดความของกฎหมายจึงแตกต่างกัน แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย อาจเริ่มต้นมองว่า “กฎหมาย” คือ กฎที่คนในสังคมยอมรับเป็นกติกาเพื่อเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติระหว่างกัน กฎหมายจึงเป็นกฎเพื่อให้คาดหมายพฤติกรรมในอนาคตได้ อาจแยกความหมายตามลักษณะ ดังนี้
  1. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์สำหรับใช้เป็นมาตรฐาน คือ แนวทางในการปฏิบัติตาม ในขณะเดียวกันก็เป็นมาตราชี้วัด และตัดสินความถูกผิด
  2. กฎหมายมีผูกพันเนื่องจากเป็นการยอมรับร่วมกันโดยคนส่วนใหญ่ในสังคม เมื่อสมาชิกในสังคมเห็นว่าแนวปฏิบัติมีความสำคัญจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกัน จะต้องปฏิบัติตามโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิฉะนั้นต้องถูกลงโทษในระดับที่รุนแรง ปัจจุบันการยอมรับกฎหมายทำโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน และประกาศใช้บังคับแก่ประชาชน
  3. กฎหมายเป็นแนวปฏิบัติสำคัญสำหรับความประพฤติของสมาชิกในสังคม ความประพฤติคือ การกระทำเป็นแนวทางการประพฤติด้านควบคุมและด้านคุ้มครองแก่คนในสังคม ซึ่งเป็นการให้สิทธิเสรีภาพโดยผู้อื่นต้องมีหน้าที่เคารพด้วย
  4. ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน อาจถูกบังคับโดยสถาบัน และตามกระบวนการที่สังคมยอมรับ การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นมาตรการที่มีเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ
ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมายมีความเข้าใจแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะอธิบายที่มาของกฎหมายตามความหมาย
1. มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ  ซึ่งในสมัยโบราณหมายถึงพระมหากษัตริย์ แต่ในยุคปัจจุบันการออกกฎหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาผู้มีอำนาจออกกฎหมาย
2. กฎหมายคือคำสั่งหรือคำสั่งสอนของศาสนา  โดยการทำผิดหลักศาสนาถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายด้วย
3. กฎหมายมาจากจารีตประเพณีทีคนในสังคมยอมรับนับถือ แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนแต่เป็นที่รับรู้กันทั่วไป เช่น กฎหมายของประเทศอังกฤษเป็นต้น
4. มาจากคำพิพากษาของศาลในการตัดสินคดีความ  จะเป็นที่มาของกฎหมายอีกอย่างหนึ่งเพราะถ้าเกิดคดีที่มีความคล้ายคลึงกันต้องยึดเอาบรรทัดฐานของการตัดสินครั้งก่อนมาเป็นแบบอย่าง เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos