วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 20 ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยที่เหมาะสม

ใบความรู้ที่ 20  
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมไทย
และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยที่เหมาะสม

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมไทย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับจิตใจเป็นสำคัญ โดยมุ่งจุดหมายสำคัญ เพื่อขัดเกลาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้เป็นคนดีประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีแต่วัฒนธรรมสากลให้ความสำคัญกับการสะสมทางด้านวัตถุหรือความร่ำรวยเป็นสำคัญโดยไม่สนใจว่าจะสามารถหาทรัพย์มาได้โดยวิธีใดหากบุคคลใดมีทรัพย์สินมากก็จะได้รับการยอมรับจากคนในสังคม
2. วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดำรงชีวิตอยู่โดยการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นลักษณะของครอบครัวรวมแต่วัฒนธรรมสากลจะเป็นวัฒนธรรมของผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมและบริการที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจึงไม่มีการพึ่งพาอาศัยกันมากนัก เป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่
3. วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสสังคม เนื่องจากท่านเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากมายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถจึงได้รับการยกย่องและยอมรับจากทุกคนในสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้ที่มีความรู้โดยวัดจากใบปริญญาบัตรหรือใบประกาศต่าง ๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสมากนัก
4. วัฒนธรรมไทยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีลักษณะนิสัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไปแต่วัฒนธรรมสากลส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

5. วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของไทยประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จึงมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมากที่สุดเป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของคนไทยที่ไม่เหมือนใครที่คนไทยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานานแต่วัฒนธรรมสากลบางอย่างจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทยเนื่องจากรับมาจากต่างประเทศและไม่ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย

วิชาหน้าที่พลเมือง

ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos