วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ใบความรู้ที่ 36 ผู้กระทำผิดและประเภทของความผิด

ใบความรู้ที่ 36
ผู้กระทำผิดและประเภทของความผิด

ผู้กระทำผิดอาญา
ผู้กระทำผิดอาญาแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง คือ การกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดได้ลงมือกระทำความผิดนั้นด้วยตนเอง
2. ผู้ร่วมกระทำความผิด คือ การกระทำความผิดที่มีผู้อื่นมาร่วมกระทำผิดด้วย
3. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด คือ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการบังคับขู่เข็ญ จ้างวานหรือยุยงส่งเสริมหรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้ใช้ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด แต่ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำหรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียง 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
4. ผู้สนับสนุนการกระทำผิด คือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือหรือเอื้ออำนวยให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด ผู้สนับสนุนต้องได้รับโทษ 2 ใน 3 ของผู้กระทำผิด

ประเภทของความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญาประเภทของความผิดมี 9 ประเภท ดังนี้
1. ความผิดต่อชีวิต คือ  ความผิดที่กระทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2. ความผิดต่อร่างกาย คือ การกระทำผิดซึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย เช่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ คือ ผู้กระทำผิดได้ทำร้ายร่างกายผู้อื่น จนได้รับบาดเจ็บแก่กายหรือจิตใจ
3. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ คือ ความผิดที่กระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งมีด้วยกันหลายประเภท
4. ความผิดฐานเป็นกบฏ เช่น ให้กำลังทุบร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจการปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร
5. ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ เช่น สะสมกำลังคนหรืออาวุธ หรือเตรียมการเป็นกบฏ ยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ หรือก่อการกำเริบยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน ปิดงาน งดจ้าง หรือไม่ยอมค้าขาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน หรือบังคับรัฐบาล หรือข่มขู่ประชาชน
6. ความผิดฐานวางเพลิง  การลอบจุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์ หากเป็นอาคารสถานที่สาธารณะ มีโทษรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต แม้การวางเพลิงทรัพย์สินของตนเองก็มีโทษ ถ้าการกระทำนั้นอาจจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น
7. ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา เช่น ทำธนบัตรปลอมหรือเหรียญกษาปณ์ปลอมนอกจากผู้ปลอมจะมีความผิดแล้ว ผู้ที่นำไปใช้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นของปลอมก็มีความผิดด้วย
8. ความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การข่มขืนกระทำชำเรามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 20 ปี ถ้ามีอาวุธข่มขู่ด้วย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี หรือตลอดชีวิต ถ้าเป็นผู้เยาว์อายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมมีโทษที่หนักขึ้น
9. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก หญิงที่ทำตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และผู้ทำแท้งก็มีความผิดด้วยแม้ฝ่ายหญิงจะยินยอมก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos