วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

เรื่องที่ 2
การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรื่องที่ 2 การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน

  • การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา


  1. คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้


    1. ประโยชน์ต่อตนเอง
      1. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ
      2. มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา
      3. ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง
    2. ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
      1. สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ
      2. เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
      3. ความสุขของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความอยู่ดีกินดี รู้สึกปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานและรายได้ที่มั่นคง


  1. แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน การเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบุคคลรอบข้าง จะก่อให้เกิดความสุขในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกทุกคน โดยยึดแนวทางการปฎิบัติ ดังนี้


    1. เคารพซึ่งกันและกัน
      1. แสดงกิริยาที่นอบน้อมต่อกัน
      2. พูดดีต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
      3. ยอมรับในความแตกต่างทั้งความเชื่อ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ผิวพรรณ เป็นต้น
      4. รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
    2. เมตตาต่อกัน
      1. เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดถึงจิตใจของผู้อื่น
      2. แสดงความห่วงใยต่อบุคคลรอบข้าง ไม่ซ้ำเติมให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์ยากมากขึ้น
      3. ฝึกใจให้รักในการให้ มากกว่าการรับ
      4. เสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม


    1. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
      1. บริจาคทรัพย์สิน หรือสิ่งของช่วยเหลือผู้อื่นที่ยากลำบากหรือประสบภัยต่างๆ
      2. ช่วยเหลือผู้อื่นทำงาน หรือช่วยงานตามความสามารถของตนด้วยความทุ่มเทและเต็มใจ
      3. ให้ความร่วมมือในการปฎิบัติตามข้อกำหนด หรือระเบียบของสังคม


    1. มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
      1. แสดงความจริงใจต่อกันทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและรับหลัง
      2. รักษาสัจจะวาจา ต้องทำให้ได้ตามที่รับปากไว้
      3. ไม่ทุจริต หรือเอาเปรียบผู้อื่นด้วยกลอุบายต่างๆ
      4. ไว้วางใจกัน ไม่ระแวงผู้อื่นจนเกิดความเป็นความบาดหมาง
      5. ฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเองให้กลายเป็นนิสัย


    1. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นกัน
      1. ไม่ดูถูกการกระทำ คำพูด หรือความคิดของผู้อื่น
      2. ไม่แสดงกิริยาหรือวาจาดูถูกศรัทธาความเชื่อ วัฒนธรรม เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ของผู้อื่น
      3. เคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการปฎิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม



24r.gif

5 ความคิดเห็น:

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos