วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0

“ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0”



  • เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2560 เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 479/2560 เรื่อง “ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0” 
  • การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2560 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2560 เรื่อง “ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0” 
  • ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ การสร้าง การใช้ และการเผยแพร่ผลงานวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผลงานนวัตกรรมต้นแบบของสถานศึกษา ที่เกิดจากการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 
  • จนมีคุณภาพและคุณค่าทางวิชาการที่เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 
  • ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 9 – 10 กันยายน 2560 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ   
  • นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า ขณะนี้บุคคลและหน่วยงานทุกภาคส่วนต่างตระหนักและเห็นความสำคัญของ “ครูและบุคลากรทางการศึกษา” ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณภาพของผู้เรียน ที่จะเป็น “คนคุณภาพ” และเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
  •  “ครูยุคใหม่...สร้างเด็กไทย 4.0” เป็นประเด็นที่นักการศึกษาร่วมกันพิจารณาและสร้างการตระหนักร่วมกันถึงอนาคตทางการศึกษา   
    • ประเด็นแรก: พัฒนาการทางเทคโนโลยีและกระแสสังคมที่เปลี่ยนไป ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอาชีพต่างๆ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเด็กยุคใหม่จะต้องมีความสามารถในการทำงานที่ต้องอาศัยทักษะขั้นสูงในการคิดวิเคราะห์เป็นและคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงทักษะในการเข้าใจผู้อื่น 
    • ประเด็นที่สอง: เราจะเตรียมการอย่างไรเพื่อการรองรับโลกอนาคต ประการแรก จากแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาของชาติ 
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตระหนักและมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 
  • ซึ่งนั่นหมายความว่า ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับระบบการจัดการศึกษาให้ทันกับความต้องการจำเป็นของสังคมที่จะต้องก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 
  • โดยเน้นที่
    • การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation) 
    • สร้างผลงาน และการสร้างทักษะส่วนบุคคล (Soft skills) 
    • ประการที่สอง การปฏิรูประบบการผลิตครู การพัฒนาครู โดยการกำหนดทิศทางการผลิตครูและการพัฒนาครูประจำการ หลักการผลิตครู 
    • โดยการสร้างครูให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ให้ได้ สถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตครูต้องเชื่อมโยงกระบวนการผลิตครูให้มีคุณลักษณะตามความต้องการจำเป็นของบริบทแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน 
    • การสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู สถาบันผลิตครูก็ต้องปรับกลยุทธ์ การผลิตให้สามารถสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู 
    • แต่ความเป็นครูสร้างได้ต้องสร้างโอกาสและประสบการณ์ให้แก่นิสิตนักศึกษาครูลงไปทำงานจริง ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน การเตรียมครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พัฒนาระบบการนิเทศของอาจารย์นิเทศ 
    • นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการจัดตั้ง “สถาบันคุรุพัฒนา” ให้ทำหน้าที่ในการดูแลหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูทั้งระบบ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สพฐ. สอศ. และ กศน.   
    • กระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมการเพื่อการสร้างเด็กไทยสู่อนาคต ด้วยการส่งเสริมและกำหนดเชิงนโยบายที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปที่ต้นน้ำ คือ “ครู” 
    • เพราะครูจะเป็นผู้ที่จะก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่ตัวลูกศิษย์ กระบวนการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนของครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่จะต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบ ร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติการเพื่อสร้างสมรรถนะ ที่จำเป็นและสอดคล้องกับโลกอนาคต   
    • นอกจากนี้ ภายในงานประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2560 ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การอภิปรายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาครูยุคใหม่” และ “ครูแบบไหน สอนอย่างไร สร้างเด็กไทย 4.0” 
    • การเสวนาพิเศษ เรื่อง 
    • “คิดนอกกรอบการศึกษาไทย โฉมใหม่นวัตกรรม” 
    • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ล้อมวงเรียนรู้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการบริหารการศึกษา” 
    • “Show Case PLC จากนโยบาย สู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน” ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ประจำปี 2560 คลินิกวิจัย เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และการบริหารการศึกษา การประกาศผลรางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (ระดับประเทศ) คลินิกให้คำปรึกษาแนะนำด้านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การแสดงนิทรรศการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 นิทรรศการทางวิชาชีพ นิทรรศการผลงานวิจัย และนิทรรศการผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมของผู้ได้รับรางวัลระดับประเทศ ประจำปี 2560   กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี: รายงาน ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ ขอบคุณข้อมูล: คุรุสภา 9/9/2560   ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 9 กันยายน 2560
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/82870

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos