วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย

เรื่องที่ 2 คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานสังคมไทย
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


พลเมืองดี เป็นผู้ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ การพัฒนาตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม จึงเป้็นสิ่งสำคัญที่พลเมืองไทยควรยึดถือปฎิบัติ โดยเฉพาะความกตัญญู ควมามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีวินัย และความเสียสละ ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่เยาวชนไทยพึงมีเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากแสดงให้เห็นถึงค่านิยมอันดีงามของคนไทยแล้ว ยังส่งเสริมให้ประเทศชาติมีความเป็นระเบียบเรียนร้อย และร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
  1. ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูเป็นธรรมที่คอยค้ำจุนสังคมไทยให้มั่นคงมาช้านาน ซึ่งนอกจากผู้ที่ยึดมั่นในความกตัญญู จะได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่น่าคบหาแล้ว มักยังได้รับการยกย่องสรรเสริญ และสนับสนุนจากบุคคลรอบข้างในทุกๆ ด้าน ทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การปฎิบัติตนเป็นผู้มีความกตัญญูกตเววที สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. การแสดงความกตัญญูต่อพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ
      1. ปฎิบัติตนเป็นคนดี ทำตามคำแนะนำสั่งสอนของท่าน และไม่ทำให้ท่านเดือดเนื้อร้อนใจ
      2. ช่วยเหลือท่านในการทำงาน ด้วยการแบ่งเบาภาระในการทำงานบ้าน และประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
      3. ดูแลท่านทั้งยามที่ท่านป่วยไข้ และยามที่แก่ชรา ไม่ควรทอดทิ้งให้ท่านต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว
    2. การแสดงความกตัญญูต่อชาติ
      1. ปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
      2. รักษาไว้ซึ่งความเป็นไทย โดยการรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา เทอดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และปกป้องสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามของชาติไม่ให้สูญหาย
      3. ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดพลังงาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหายหรือหมดไป
  2. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  สังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งมิตรไมตรี เพราะคนไทยใจบุญ พร้อมให้การช่วยเหลือผู็ทุกข์ยากเสมอ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป้็นคนไทยด้วยกัน หรือเป็นต่างชาติต่างศาสนาก็ตาม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย ที่พลเมืองทุกคนควรรักษาไว้ด้วยการยึดถือปฎิบัติตามแนวทางดังนี้
    1. ปฎิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา เช่น พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ของพระพุทธศาสนา การจ่ายซะกาดของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    2. รู้จักแบ่งปัน  โดยการให้ทรัพย์สินสิ่งของ รวมถึงวิชาความรู้แก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่นบริจาคสิ่งของให้แก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ บริจาคเงินช่วยเหลืองานกาชาด นำอาหารไปเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือบริจาคให้แก่บ้านพักคนชรา เป็นต้น
    3. ลดการยึดมั่นถือมั่น ทั้งควาามยึดมั่นในความเชื่อ ความคิด หรือการกระทำที่ตนเห็นว่าดีแล้ว เพราะถือเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรเปิดรับและให้โอกาสผู้อื่นแสดงความคิดเห็น หรือกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างอิสระ ซึ่งถือเปฌนการแสดงน้ำใจไมตรีรูปแบบหนึ่ง
  3. ความเสียสละ ความเสียสละเป็นธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นเครื่องยึดโยงคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีนำใจไมตรีต่อกัน และเป็นเครื่องมือที่สร้างนิสัยของคนในสังคมให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากว่าประโยชน์ส่วนตน ลดความโลภในจิตใจ อันจะนำไปสู่ความพอเพียง ซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริงและยั่งยืน การเสียสละแต่ละครั้ง มิได้หมายถึงความสุญเสียของผู้ให้ แต่นำมาซึ่งความสุขของผู้ให้ ผู้รับ และสังคม การให้สิ่งของเป็นประโยชน์ด้วยใจที่บริสุทธิ์ จึงปรากฎผลในทางที่ดีเสมอ พลเมืองไทยทุกคน จึงควรปฎิบัติตน เป็นผู้ให้มากกว่าคอยรับแต่เพียงอย่างเดียว เพราะการให้หรือการเสียสละนั้น จะทำให้ชาติบ้านเมืองของเราพัฒนาอย่างมั่นคง การเป็นผู้มีความเสียสละ สามารถปฎิบัติตนตามแนวทาง ดังนี้
    1. ลดความเห็นแก่ตัว ด้วยการเดินทางสายกลาง รู้จักการนำเอาใจเขามาใส่ใจเรา และไม่กระทำสิ่งที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่นการแซงคิว การทุจริตคอรัปชั้น เป็นต้น
    2. มีจิตสาธารณะ โดยปฎิบัติตนเป็นผู้เสียสละทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เช่น การเอื้อเฟื้อที่นั่งบนรถโดยสารให้แก่เด็กและคนชรา การบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาด การสมัครเป็นประธานนักเรียน เป็นต้น
    3. รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้อย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่ทำลาย และสร้างใหม่ ทดแทน เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
  4. การแนะนำผู้อื่นให้เป็นผู้มีความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้
    1. ปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความกตัญยู ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความเสียสละ ตามแนวทางที่กล่าวไว้ เพื่อให้ผู้อื่นปฎิบัติตาม
    2. เข้าร่วมและส่งเสริมให้ผู้อื่นเข้าร่วมกิจกรรม ที่แสดงออกถึงความกตัญญู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ เช่นบริจาคโลหิต บริจาคสิ่งของให้ผู้ประสบภัย ปลูกป่า เป็นต้น
  5. คนดีที่ควรยกย่อง ในฐานะผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    1. เกษตรกร กระดูกสันหลังของชาติ
      1. อดทนกับความยากลำบาก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เพื่อผลิตอาหารให้กับคนในชาติ
      2. เป็นบุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจของชาติ
    2. ครู แม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ของชาติ
      1. สละแรงกายแรงใจ เพื่อให้ความรู้แก่คนไทย เพื่อนำไปพัฒนาชีวิตและพัฒนาสังคม
      2. เป็นที่ปรึกษาและเป็ที่พึ่งของนักเรียนในด้านต่างๆ
    3. แพทย์ ผู้ช่วยเหลือชีวิต
      1. เสียสละเวลาและประโยชน์ส่วนตน เพื่อดูแลรักษาคนไข้ให้หายจากอาการเจ็บป่วย
    4. ทหาร รั้วของชาติ
      1. ยอมสละแรงกายแรงใจและชีพของตน เพื่อปกป้องประเทศชาติ
      2. ให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยต่างๆ
  6. แนวทางการรสนับสนุน
    1. ช่วยกันพัฒนาเกษตรกรไทยให้ยั่งยืน
    2. เชื่อฟังคำสั่งสอน ให้ความเคารพ ยกย่องเชิดชู ตอบแทนพระคุณ
    3. ปฎิบัติตามคำแนะนำที่ดีของแพทย์
    4. ให้กำลังใจแพทย์ที่ตั้งใจทำหน้าที่ และมีจรรยาบรรที่ดีในการรักษา
    5. ยกย่องเชิดชู ให้เกียรติ ให้กำลังใจ
    6. สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการทำงานของทหาร


1x42.gif

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นอะไรที่ให้ความรู้เรานำไปใช้ในชีวิตประจำได้จริงค่ะ มันดีมากค่ะ เนื้อหาเยอะดีค่ะ ชอบค่ะ😀😀

    ตอบลบ

ยุคการศึกษา 4.0

......การศึกษาทักษะการเรียนรู้ การสร้างการใช้นวัตกรรมเครืข่ายสังคมอนไลน์ สำหรับผู้เรียนสำหรับการจัดการความรู้ ที่สามารถแบ่งปันความคิด ความเป็นเลิศทางวิชาการ รูปภาพและอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนวัตกรรมนี้ ทำให้การทำงานสะวกรวดเร็ว สวยงาม เหมาะสำหรับนัเรียนและครูผู้สอน ใช้เป็นเว็บการจัการความรู้และใช้เป็นเครื่องมือ ารเรียนรู้สังคมอนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพระสิทธิผล ในยุคการศึกษา 4.0 (การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21)

เว็บบล๊อคประกอบการเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง ระบบการเรียน การจัดการความรู้ KM (Knowlead Maneagement) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน Worl Class Standrad ประกอบด้วย 4 ทักษะพื้นฐาน คือ

  • (1) ทักษะภาษาดิจิทัล
  • (2) ทักษะคิดประดิษฐ์สร้าง
  • (3) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิภาพ
  • (4) ทักษะสื่อสารมีประสิทธิผล

พัฒนาสู่ทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ขั้นต้น 6 ประการ

  • (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills
  • (2) ทักษะการคิด Thinking Skills
  • (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills
  • (4) ทักษะชีวิต Life Skills
  • (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills
  • (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skill


........การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ครูใช้วิธีการสอนแบบเดิม แบบเล็กเชอร์ไม่ได้ผล กระบวนการต้องจัดให้ลงมือทำ และเรียนรู้แบบย้อนทาง ต้องให้แอกตีฟ และเรียนตามความสนใจให้มากขึ้น

........เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ ”ตัวความรู้” อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาล เกินกว่าที่จะสอนให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ .

........นักเรียนในยุคใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเอง (จากก้อนเมฆ) เป้าหมายของการเรียนรู้อยู่ที่“ทักษะการเรียนรู้” และ "วิธีการจัดการกับความรู้ "

.......หากผู้เรียนมีทักษะพื้นฐาน และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ตามที่กำหนด ก็จะทำให้เกิดระบบและกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผล ตรงเจตนารมณ์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ "ผู้เรียนเป็นคนดี ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ผู้เรียนมีความสุข"

.........เว็บนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ วิชา หน้าที่พลเมือง (สาระเพิ่ม) ชั้น ม.1


................................

ผู้จัทำ


ครูชาญวิทย์ ปรีชาาณิชพัฒนา

(ครูผู้สอน)

Blogger Educational

Blogger Educational
Glitter Photos